นางาเรยามะ
นางาเรยามะ 流山市 | |
---|---|
![]()
| |
![]() ที่ตั้งของนางาเรยามะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดชิบะ | |
![]() | |
พิกัด: 35°51′22.7″N 139°54′10.3″E / 35.856306°N 139.902861°E | |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ![]() |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลนคร |
• นายกเทศมนตรี | โยชิฮารุ อิซากิ (井崎 義治; ตั้งแต่พฤษภาคม ค.ศ. 2003) (อิสระ) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 35.32 ตร.กม. (13.64 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025)[1] | |
• ทั้งหมด | 213,281 คน |
• ความหนาแน่น | 6,039 คน/ตร.กม. (15,640 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | สึเงะ (Buxus microphylla) |
• ดอกไม้ | กุหลาบพันปี |
• นก | เหยี่ยวนกเขาท้องขาว (Astur gentilis) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 12220-3 |
โทรศัพท์ | 04-7158-1111 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 1-1-1 เฮวาได นครนางาเรยามะ จังหวัดชิบะ 270-0192 |
เว็บไซต์ | www |
นางาเรยามะ (ญี่ปุ่น: 流山市; โรมาจิ: Nagareyama-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 35.32 ตารางกิโลเมตร (13.64 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 ประมาณ 213,281 คน มีความหนาแน่นของประชากร 6,039 คนต่อตารางกิโลเมตร[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]นครนางาเรยามะตั้งอยู่ในมุมทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ มีแม่น้ำเอโดะอยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากนครชิบะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดชิบะ ไปประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางกรุงโตเกียว 20–30 กิโลเมตร พื้นที่ของเมืองมีลักษณะยาวจากเหนือจรดใต้ และพื้นที่ตอนกลางและตอนเหนือของเมืองเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงชิโมซะ โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรม มีแม่น้ำเอโดะไหลจากเหนือจรดใต้ตามแนวอาณาเขตด้านตะวันตกของเมือง ซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดไซตามะ นอกจากนี้ ยังมีคลองโทเนะที่ไหลผ่านส่วนเหนือของเมืองอีกด้วย
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]นครนางาเรยามะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (เคิพเพิน Cfa) ลักษณะเด่นคือมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในนางาเรยามะอยู่ที่ 14.8 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,370 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.6 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 4.0 °C[2]
สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของนางาเรยามะเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ประชากรโดยรวมของญี่ปุ่นถึงจุดสูงสุดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเติบโตอย่างต่อเนื่องของจำนวนประชากรในนางาเรยามะนั้นเกิดจากนโยบายของเมืองมาตั้งแต่ ค.ศ. 2003 ที่ลงทุนอย่างหนักในด้านศูนย์ดูแลเด็ก รวมถึงบริการขนส่งสาธารณะที่สถานีรถไฟนางาเรยามะ-เซ็นทรัลพาร์ก ซึ่งผู้ปกครองสามารถส่งลูก ๆ ของตนระหว่างเดินทางไปทำงานได้ จากนั้นจึงให้เด็ก ๆ นั่งรถบัสไปศูนย์ดูแลเด็ก มีการจัดให้ผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นช่วยดูแลเด็ก ๆ ผู้ปกครองหลายคนกล่าวว่าบริการขนส่งสาธารณะนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้พวกเขาย้ายมาที่นางาเรยามะ มีงานกิจกรรมในท้องถิ่นและพื้นที่ชุมชนมากมายที่เด็ก ๆ และผู้สูงอายุจะได้พบปะกัน นอกจากนี้ยังมีค่ายฤดูร้อนที่เด็ก ๆ สามารถเข้าร่วมได้ในขณะที่ผู้ปกครองทำงานในช่วงวันหยุด แนวทางที่เป็นมิตรกับครอบครัวดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการดึงดูดผู้ปกครองวัยหนุ่มสาวที่ทำงานในโตเกียวให้มาที่นางาเรยามะมากขึ้น[4]
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1920 | 11,115 | — |
1930 | 11,947 | +7.5% |
1940 | 13,178 | +10.3% |
1950 | 18,337 | +39.1% |
1960 | 25,672 | +40.0% |
1970 | 56,485 | +120.0% |
1980 | 106,635 | +88.8% |
1990 | 140,059 | +31.3% |
2000 | 150,527 | +7.5% |
2010 | 163,984 | +8.9% |
2020 | 199,849 | +21.9% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในยุคเอโดะ นางาเรยามะเคยเป็นท่าเรือริมแม่น้ำเอโดงาวะและมีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตมิริง ซึ่งเป็นสาเกที่มีรสหวานสำหรับปรุงอาหาร หลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งเมืองนางาเรยามะขึ้นภายในอำเภออิมบะ จังหวัดชิบะ เมืองนางาเรยามะได้รวมเข้ากับเมืองเอโดงาวะที่อยู่ใกล้เคียงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1952 และเมืองนางาเรยามะได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1967
การเมืองการปกครอง
[แก้]
นครนางาเรยามะมีการบริหารในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 28 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครนางาเรยามะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดชิบะจำนวน 2 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครนางาเรยามะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 7 จังหวัดชิบะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างในรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]นครนางาเรยามะเป็นศูนย์กลางการค้าของพื้นที่โดยรอบและเป็นเมืองที่ผู้คนใช้สัญจรไปมาระหว่างชิบะและโตเกียว อัตราการเดินทางไปยังใจกลางโตเกียวอยู่ที่ 33.5% และไปยังนครคาชิวะอยู่ที่ 12.5%
การศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัย
[แก้]- วิทยาลัยเอโดงาวะ
- มหาวิทยาลัยเอโดงาวะ
- มหาวิทยาลัยโทโยงากูเอ็ง
โรงเรียน
[แก้]นครนางาเรยามะมีโรงเรียนประถมศึกษา 17 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 9 แห่งที่ดำเนินการโดยเทศบาลนครนางาเรยามะ และมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 แห่งที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดชิบะ มีโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน 1 แห่ง นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 1 แห่งในนครนางาเรยามะ
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]รีวเต็ตสึ: สายนางาเรยามะ
- สถานี: ฮิเรงาซากิ – เฮวาได – นางาเรยามะ
รถไฟโทบุ: สายโทบุเออร์บันพาร์ก
- สถานี: เอโดงาวาได – ฮัตสึอิชิ – นางาเรยามะ-โอตากาโนโมริ
บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East): สายมูซาชิโนะ
- สถานี: มินามินางาเรยามะ
บริษัทรถไฟระหว่างเมืองมหานคร (Metropolitan Intercity Railway Company): สึกูบะเอ็กซเพรส
ทางหลวง
[แก้]เมืองพี่น้องและเมืองแฝด
[แก้]นครนางาเรยามะเป็นเมืองแฝดกับ
นครโซมะ จังหวัดฟูกูชิมะ ตั้งแต่ ค.ศ. 1977
เมืองชินาโนะ จังหวัดนางาโนะ ตั้งแต่ ค.ศ. 1997
เมืองโนโตะ จังหวัดอิชิกาวะ ตั้งแต่ ค.ศ. 2012
นครคิตากามิ จังหวัดอิวาเตะ ตั้งแต่ ค.ศ. 2020
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ฮิเดกาซุ โอตานิ - นักฟุตบอลอาชีพ
- ยูกิโกะ ซูมิโยชิ - นักวาดมังงะ
ในเรื่องแต่ง
[แก้]เมืองนางาเรกาวะในอนิเมะเรื่องโลโคดอล (Locodol) อิงมาจากเมืองนางาเรยามะ โดยหลังจากที่อนิเมะออกฉาย ตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องได้กลายมาเป็นทูตการท่องเที่ยวประจำเมืองนี้อย่างเป็นทางการ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "千葉県毎月常住人口調査" [การสำรวจประชากรอาศัยถาวรรายเดือนในจังหวัดชิบะ]. เว็บไซต์จังหวัดชิบะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2025.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศนางาเรยามะ
- ↑ สถิติประชากรนางาเรยามะ
- ↑ Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: "Japan Baby Boom: City's policies turn around population decline". TRT World. 2019-09-14. สืบค้นเมื่อ 2019-12-28.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)