คูจูกูริ
คูจูกูริ 九十九里町 | |
---|---|
ศาลาว่าการเมืองคูจูกูริ | |
ที่ตั้งของคูจูกูริในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง) | |
พิกัด: 35°32′N 140°26′E / 35.533°N 140.433°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ชิบะ |
อำเภอ | ซัมบุ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 23.72 ตร.กม. (9.16 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 ธันวาคม 2020) | |
• ทั้งหมด | 15,343 คน |
• ความหนาแน่น | 650 คน/ตร.กม. (1,700 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | สนดำญี่ปุ่น |
• สัตว์ปีก | นกหัวโตขาดำ |
โทรศัพท์ | 0475-70-3100 |
ที่อยู่ | 4099 Katagai, Kujūkuri-machi, Sanbu-gun, Chiba-ken 283-0195 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
คูจูกูริ (ญี่ปุ่น: 九十九里町; โรมาจิ: Kujūkuri-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2020 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 15,343 คน 7,092 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 650 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] และมีพื้นที่ทั้งหมด 23.72 ตารางกิโลเมตร (9.16 ตารางไมล์) ชื่อของเมืองมาจากชื่อของหาดคูจูกูริ ซึ่งเป็นชายหาดที่มีความยาวเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น คำว่า "คูจูกูริ" แปลตรง ๆ หมายถึง "เก้าสิบเก้าริ" โดย "คูจูกุ" หมายถึง "เก้าสิบเก้า" และ "ริ" เป็นหน่วยวัดแบบเก่าซึ่งมีความยาวประมาณ 600 เมตร
ภูมิศาสตร์
[แก้]คูจูกูริตั้งอยู่บนคาบสมุทรโบโซทางฝั่งทิศตะวันออกตอนกลาง อยู่ริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ห่างจากนครชิบะ เมืองเอกของจังหวัด ประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางโตเกียว 60 ถึง 70 กิโลเมตร
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]จังหวัดชิบะ
ภูมิอากาศ
[แก้]คูจูกูริมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในคูจูกูริคือ 15.2 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1609 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 26.0 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 5.4 °C[2]
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของคูจูกูริค่อนข้างคงที่มาตลอด 40 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1950 | 21,672 | — |
1960 | 19,191 | −11.4% |
1970 | 17,639 | −8.1% |
1980 | 18,037 | +2.3% |
1990 | 19,300 | +7.0% |
2000 | 20,266 | +5.0% |
2010 | 18,009 | −11.1% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในช่วงยุคเอโดะ พื้นที่นี้มีชื่อเสียงในเรื่องผลผลิตมันเทศ ในยุคเมจิ หมู่บ้านคาตาไกและโทโยอูมิได้รับการจัดตั้งขึ้นภายในอำเภอซัมบุ จังหวัดชิบะ โดยเป็นการจัดตั้งใหม่ในระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1889 หมู่บ้านคาตาไกได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 10 เมษายน 1926 และเช่นเดียวกับหมู่บ้านโทโยอูมิในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1940 ต่อมาเมืองทั้งสองได้รวมเข้ากับส่วนหนึ่งของหมู่บ้านนารุฮามะเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1955 เพื่อก่อตั้งเมืองคูจูกูริ
การปกครอง
[แก้]คูจูกูริมีการปกครองรูปแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 14 คน เมืองคูจูกูริ รวมทั้งนครซัมมุ และเทศบาลอื่นในอำเภอซัมบุ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดชิบะจำนวน 2 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 11 ของจังหวัดชิบะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]แม้ว่าสิ่งที่ยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลักของคูจูกูริ คือ การประมงพาณิชย์ และการแปรรูปอาหาร (โดยเฉพาะการแปรรูปปลาซาร์ดีน) แต่เมืองนี้ก็จะรู้จักกันดีในฐานะเมืองตากอากาศริมชายหาด อันเนื่องมาจากสถานที่ติดทะเลและสภาพอากาศไม่รุนแรง และดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่าล้านคนในแต่ละปี อีกทั้งคูจูกูริและเมืองโดยรอบก็ยังเป็นสถานที่โต้คลื่นยอดนิยมอีกด้วย มีโครงการที่เป็นความพยายามในการสร้างภาพลักษณ์ของเมือง เช่น การก่อสร้างถนนเก็บค่าผ่านทางสายโทงาเนะคูจูกูริ เพื่อพัฒนาการเข้าถึงของเมือง และการเปิดพิพิธภัณฑ์ปลาซาร์ดีนคูจูกูริ เพื่อให้เป็นจุดสนใจทางวัฒนธรรม
การศึกษา
[แก้]คูจูกูริมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 3 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 2 แห่ง และมีโรงเรียนมัธยมปลายสังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดชิบะ 1 แห่ง
การขนส่ง
[แก้]แม้จะได้รับความนิยมในฐานะเมืองตากอากาศริมชายหาด แต่คูจูกูริก็ไม่มีรถไฟให้บริการและไม่มีทางหลวงสายหลักผ่าน
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- หาดคูจูกูริ
- พิพิธภัณฑ์ปลาซาร์ดีนคูจูกูริ
เมืองพี่น้อง
[แก้]- เมืองคามิอิจิ จังหวัดโทยามะ ตั้งแต่กรกฎาคม 1965
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- อิโน ทาดาตากะ - นักทำแผนที่ในยุคเอโดะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kujūkuri town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
- ↑ Kujūkuri climate data
- ↑ Kujūkuri population statistics
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)