นพดล พลเสน
นพดล พลเสน | |
---|---|
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2563-ปัจจุบัน) ชาติไทยพัฒนา (?-2563) ชาติไทย (2544-2550) |
นพดล พลเสน เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี 3 สมัย ในปี 2544, 2548 และ 2550 ปัจจุบันเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
ประวัติ[แก้]
นพดล พลเสน เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) จากโรงเรียนธนกิจพณิชยการ ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการ จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยนายนพดล เคยถูกประแสง มงคลศิริ ร้องให้เพิกถอนประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคของโรงเรียนธนกิจพณิชยการ เมื่อปี 2548[1]
การทำงาน[แก้]
นพดล พลเสน เริ่มทำงานการเมืองกับพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 และได้รับตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 สั่งยุบพรรคชาติไทย ในความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค[2] นายนพดลในฐานะรองเลขาธิการพรรคชาติไทย จึงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
ปี 2562 เขากลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วราวุธ ศิลปอาชา)[3] สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[4] และต่อมาเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และในปี 2566 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเขายังเป็นกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐอีกด้วย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ การเพิกถอนประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ↑ “วราวธ” นำทีมเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน
- ↑ อดีตหน.คมช.ซบ 'ชาติไทยพัฒนา' ตระกูล 'สะสมทรัพย์' เปิดตัวร่วมด้วย
- ↑ เปิดชื่อ "บิ๊กป้อม" ตั้ง 23 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พปชร.ชุดใหม่
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอุทัยธานี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.