ข้ามไปเนื้อหา

ธงชาติโคลอมเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติโคลอมเบีย
สเปน: "Tricolor Nacional"
การใช้ธงชาติ ensign
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863
ลักษณะธงสามสีสามแถบแนวนอนสีเหลือง-น้ำเงิน-แดง อัตราส่วนของแถบแนวนอนเป็น 2:1:1

ธงชาติโคลอมเบียได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบแนวนอนสีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีน้ำเงินและแถบสีแดง

สัญลักษณ์และการออกแบบ

[แก้]
แบบการสร้างธงชาติ.

สัดส่วนของแถบสีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง ในธงชาติโคลอมเบีย เรียงลำดับจากบนลงล่าง คิดเป็นอัตราส่วน 2:1:1 เช่นเดียวกับธงชาติเอกวาดอร์ ลักษณะดังกล่าวนี้ได้หยิบยืมมาจากธงชาติกรันโคลอมเบีย ซึ่งต่างจากธงสามสีโดยทั่วไปที่ไม่ว่าจะเรียงตามแนวตั้งหรือแนวนอนก็ตามมักมีขนาดแถบที่เท่ากัน ทั้งนี้ ธงชาติเวเนซุเอลาซึ่งมีที่มาจากธงชาติกรันโคลอมเบียเช่นเดียวกันกลับใช้แถบธงสามสีในลักษณะที่เท่ากันทุกแถบตามธรรมเนียมเดียวกับธงสามสีของชาติอื่นๆ

สำหรับสีธงชาติโดยมาตรฐานนั้นไม่ได้มีการกำหนดไว้ แต่แนะนำให้ใช้การเทียบสีตามตารางถัดไป

ระบบสี สีเหลือง สีน้ำเงิน สีแดง
แพนโทน 116 287 186
RGB 252-209-22 0-56-147 206-17-38
CMYK C0-M17.1-Y91.3-K0 C100-M61.9-Y0-K42.4 C0-M91.7-Y81.6-K19.2
เลขฐาน 16 #FFCD00 #003893 #C8102E

ตามที่มีการให้นิยามไว้ในปัจจุบัน แต่ละสีล้วนมีความหมายดังต่อไปนี้

  •    สีเหลือง: ทองคำที่พบในแผ่นดินโคลอมเบีย
  •    สีน้ำเงิน: หมายถึง ท้องทะเลตามชายฝั่งโคลอมเบีย
  •    สีแดง: หมายถึง เลือดที่หลั่งไหลในสมรภูมิแห่งการเรียกร้องเอกราชของเหล่าวีรชน

นอกจากนี้ยังมีการให้นิยามสีธงไว้อีกหลายแบบ เช่น นิยามหนึ่งกล่าวว่า สีเหลืองคือดวงตะวันและแผ่นดินของประชาชน สีน้ำเงินคือสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวโคลอมเบีย สีแดงคือโลหิตของผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาติ เป็นต้น

สำหรับขนาดของธงนั้นมิได้มีการกำหนดขนาดที่แน่นอนไว้ แต่โดยธรรมเนียมปฏิบัตืนิยมใช้สัดส่วนธงกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน

ประวัติ

[แก้]
ธงชาติโคลอมเบีย
ธงนาวีโคลอมเบียบนเรือ ARC Gloria

ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ฟรันซิสโก เด มิรันดา (Francisco de Miranda) เป็นผู้ให้กำเนิดธงสีเหลือง-น้ำเงิน-ของประเทศสหภาพมหาโคลอมเบีย ซึ่งต่อมาประเทศเอกวาดอร์ โคลอมเบีย และเวเนซุเอลา ต่างได้นำเอามาดัดแปลงเป็นแบบธงชาติของตนเองสืบมาจนถึงปัจจุบัน

มีหลักฐานบ่งบอกถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบธงของมิรันดาอย่างน้อยที่สุด 2 แห่ง ในจดหมายที่เขามีไปยังเคาท์ ซีโมน โรมาโนวิช โวรอนซอฟฟ์ (Count Simon Romanovich Woronzoff) ในปี ค.ศ. 1792 มิรันดาได้กล่าวไว้ว่าสีทั้งสามสีในธงมาจากทฤษฎีของสีแม่บท ซึ่งเขาได้รับแนวคิดนี้มาจากโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ นักเขียนและนักปราชญ์ชาวเยอรมัน โดยเขาได้บอกเล่าถึงการสนทนาของตนเองกับเกอเธอระหว่างงานเลี้ยงที่เมืองไวมาร์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี) ในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1785 ด้วยความจับใจถึงการบรรยายของมิรันดาถึงเรื่องราวความกล้าของเขาในสงครามการปฏิวัติอเมริกา และการเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาและยุโรป เกอเธอจึงเอ่ยกับมิรันดาว่า "โชคชะตาของท่านคือการสร้างสถานที่ซึ่งแม่สีทั้งหลายจะไม่ถูกบิดเบือนในแผ่นดินของท่านเอง" ("Your destiny is to create in your land a place where primary colours are not distorted.”) จากนั้นเกอเธอจึงได้อธิบายเพิ่มเติมแก่มิรันดา ดังความที่เขาได้เล่าไว้ในจดหมายดังนี้

หลังจากที่มิรันดาได้ออกแบบธงตามแนวคิดที่ได้รับจากการสนทนาครั้งนั้น เขาก็ระลึกขึ้นได้ด้วยความยินดีว่าเคยได้ไปชมภาพวาดปูนเปียก (fresco) ของลาซซาโร ทาวาโรเน ที่ปาลาซโซ เบลิมบัว ในเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ซึ่งรูปดังกล่าวนั้นเป็นรูปของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คลี่ธงสีพื้นๆ ผืนหนึ่งที่เมืองเวรากัว (Veragua) ในระหว่างการเดินทางครั้งที่สี่ของตนเอง[1]

แรงบันดาลใจอีกอย่างหนึ่งในการออกแบบธงของมิรันดาอาจพบได้ในจดหมายเหตุการทหารประจำวันของเขา ซึ่งระบุไว้ว่าธงสีเหลือง-น้ำเงิน-แดง มีที่มาจากธงสีเดีนวกันของกองกำลังเบือเกอร์วอช ("Bürgerwache") ของเมืองฮัมบวร์ค ซึ่งเขาได้พบเห็นในระหว่างการเดินทางในประเทศเยอรมนี[2][3]

ในปี ค.ศ. 1801 ในแผนการสร้างกองทัพเพื่อปลดปล่อยดินแดนอเมริกาจากสเปน ซึ่งมิรันดาได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีของฝ่ายสหราชอาณาจักรให้ช่วยทำการรบแต่ไม่สำเร็จ เขาได้ขอร้องให้มีการจัดหาสิ่งของเป็น "ธงสิบผืน ซึ่งจะต้องมีสีแดง เหลือง และน้ำเงิน สำหรับพื้นที่สามแห่ง"[4] ทว่าอย่างไรก็ตาม ธงชาติกรันโคลอมเบียผืนแรกก็ยังไม่ปรากฏขึ้น จนกระทั่งได้มีการชักขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1806 ที่เมืองจัคเมล ประเทศเฮติ ระหว่างการเดินทางสู่เวเนซุเอลาอันปราศจากโชคของมิรันดา

พัฒนาการ

[แก้]
ธงผืนที่ 1 ค.ศ. 1819–1820 ธงผืนที่ 2 ค.ศ. 1820–1821 ธงผืนที่ 3 ค.ศ. 1821–1830 ธงผืนที่ 4 แบบนำเสนอ (ไม่เป็นทางการ) ค.ศ. 1822
ธงชาติ ธงพลเรือน ธงเรือราษฎร์ ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงกองทัพ และ ธงนาวี
ค.ศ. 1834 - 1861 ค.ศ. 1834 - 1861 สหรัฐนิวกรานาดา ค.ศ. 1861 ค.ศ. 1834 - 1861
ธงพลเรือน ธงเรือราษฎร์ ธงพลเรือน ธงเรือราษฎร์ ธงนาวี ธงนาวี
ค.ศ. 1863 - 1890 ตั้งแต่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 ค.ศ. 1863 - 1890 ตั้งแต่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1934

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Serpa Erazo, Jorge, [summary of Ricardo Silva Romero's] "La Bandera del Mundo." เก็บถาวร 2007-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Pañol de la Historia. Part 1, Section 1 (July 30, 2004). ISSN 1900-3447. Retrieved on 2008-12-02
  2. Dousdebés, Pedro Julio, "Las insignias de Colombia," Boletín de historia y antigüedades, August 1937, 462, cited in Nelson González Ortega, "Formación de la iconografía nacional en Colombia: una lectura semiótico-social," Revista de Estudios Colombianos, No. 16 (1996), 20.
  3. Miranda, Francisco (1983), Colombeia: Segunda sección: El viajero ilustrado, 1787-1788, vol. 4, Caracas: Ediciones de la Presidencia de la República, p. 415, ISBN 84-499-6610-8, April 19:[…] around 5:30 in the evening I had the pleasure of seeing the Burger Guard pass by with flag waving and drums beating, which it does every day at a similar time […] The [officers of the] infantry wore red with a yellow emblem, and the artillery blue with red emblem. {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. Miranda, Francisco (1978), Colombeia: Primera parte: Miranda, súbdito español, 1750-1780, vol. 1, Caracas: Ediciones de la Presidencia de la República, p. 80, ISBN 9788449951633 {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]