ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย" (ละติน: ubi societas, ibi ius) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมายที่ย่อมาจากความเต็มว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi ius. Ergo ubi homo, ibi ius) เป็นภาษิตที่กล่าวถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกฎหมายกับสังคม เพราะกฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคม ไม่อาจมีสังคมไหนจะธำรงอยู่ได้โดยไม่รู้สึกต้องการกฎเกณฑ์สำหรับจัดระเบียบพฤติการณ์ในสังคม

ความจับใจของภาษิตอยู่ตรงที่การบ่งบอกว่า มนุษยจำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิต เพราะมนุษย์คือสัตว์สังคม ดังที่อริสโตเติลกล่าวว่าเพราะมนุษย์จำต้องใช้ชีวิตร่วมและมีปฏิกิริยาตอบโต้กับมนุษย์ผู้อื่น สังคมในยุคโรมันนับเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นรูปธรรมของภาษิตนี้ เพราะอย่างน้อยก็เป็นสังคมที่เจริญ มีการประมวลกฎหมายและจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต่อมาก็ได้รับการปรับปรุงโดยพระเจ้าจัสติเนียนจนกลายเป็นรากฐานของระบบกฎหมายส่วนใหญ่ในโลกนี้

อ้างอิง[แก้]