ที่ลุ่มน้ำขัง
ที่ลุ่มน้ำขัง (อังกฤษ: swamp) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีไม้เนื้อแข็งขึ้นปกคลุม[1] ที่ลุ่มน้ำขังหลายแห่งเกิดอยู่ตามลำน้ำสายใหญ่และขึ้นอยู่กับระดับน้ำที่ขึ้นลงตามธรรมชาติอย่างยิ่ง[2] ในขณะที่ที่ลุ่มน้ำขังแห่งอื่น ๆ เกิดขึ้นริมฝั่งทะเลสาบขนาดใหญ่[3] ที่ลุ่มน้ำขังบางแห่งมีแผ่นดินแห้งที่ยกระดับขึ้นมาซึ่งถูกปกคลุมด้วยพืชน้ำหรือพรรณไม้ที่ทนน้ำท่วมเป็นครั้งคราวได้[4] ที่ลุ่มน้ำขังแบ่งออกเป็นประเภทหลักสองประเภท ได้แก่ ที่ลุ่มน้ำขัง "แท้" หรือบึงป่า และที่ลุ่มน้ำขัง "เปลี่ยนผ่าน" หรือบึงไม้พุ่ม น้ำในที่ลุ่มน้ำขังอาจเป็นน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำทะเลก็ได้ ที่ลุ่มน้ำขังที่ใหญ่ที่สุดในโลกบางแห่งพบอยู่ตามแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำมิสซิสซิปปี แม่น้ำคองโก เป็นต้น[5]
ในเขตหนาวทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา คำ swamp ถือเป็นคำภาษาปากซึ่งใช้เรียกพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีคำเรียกที่ถูกต้องกว่าว่า bog หรือ muskeg
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Keddy, P.A. 2010. Wetland Ecology: Principles and Conservation (2nd edition). Cambridge University Press, Cambridge, UK. 497 p.
- ↑ Hughes, F.M.R. (ed.). 2003. The Flooded Forest: Guidance for policy makers and river managers in Europe on the restoration of floodplain forests. FLOBAR2, Department of Geography, University of Cambridge, Cambridge, UK. 96 p.
- ↑ Wilcox, D.A, Thompson, T.A., Booth, R.K. and Nicholas, J.R. 2007. Lake-level variability and water availability in the Great Lakes. USGS Circular 1311. 25 p.
- ↑ Swamp Archived 2007-06-10 at the Wayback Machine. (from glossary web page of the United States Geological Survey)
- ↑ Keddy, P.A., L.H. Fraser, A.I. Solomeshch, W.J. Junk, D.R. Campbell, M.T.K. Arroyo and C.J.R. Alho. 2009. Wet and wonderful: the world's largest wetlands are conservation priorities. BioScience 59: 39–51.