ดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดินน้ำท่วมขัง, ดินไฮดริก หรือ ดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ[1] (อังกฤษ: hydric soil หรือ saturated soil) เป็นดินที่มีน้ำอิ่มตัวอย่างถาวรหรือตามฤดูกาล ทำให้เกิดสภาวะไร้อากาศ (แอนาโรบิก) พบได้ทั่วไปในพื้นที่ชุ่มน้ำ

ภาพรวม[แก้]

ดินส่วนใหญ่เป็นดินที่มีอากาศถ่ายเท (ดินแอโรบิก) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อรากพืชในการหายใจ (รากพืชดูดออกซิเจนและคาร์โบไฮเดรตในขณะที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) และต้องมีอากาศที่เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งออกซิเจนในดินเพื่อรองรับชีวิตในดินส่วนใหญ่ โดยปกติอากาศจะเคลื่อนที่ผ่านรูพรุนที่เชื่อมต่อถึงกันโดยแรงต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศ การชะล้างของน้ำฝน และการแพร่กระจายอย่างง่าย

นอกจากรากพืชแล้ว จุลินทรีย์ในดินส่วนใหญ่ต้องการออกซิเจนเพื่อความอยู่รอด และรวมทั้งสัตว์ในดิน เช่น มด ไส้เดือน และตุ่น แต่ดินมักจะอิ่มตัวด้วยน้ำเนื่องจากฝนตกและน้ำท่วม ทำให้ไม่มีช่องว่างให้อากาศผ่านเข้าไป เนื้อดินมีน้ำอยู่เต็ม[2]และการแพร่กระจายของก๊าซในดินจะช้าลง (ประมาณ 10,000 เท่า) เมื่อระดับออกซิเจนจำกัดการแข่งขันที่รุนแรงในการแย่งอากาศที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมแบบไม่ใช้ออกซิเจน (ไร้อากาศ) นี้ยังคงดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูการเติบโต ปฏิกิริยาทางชีวภาพและเคมีที่แตกออกไปจะเริ่มมีอิทธิพลแทนสภาวะเดิม (เมื่อดินมีอากาศถ่ายเท) ในดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำเป็นเวลานานและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นเวลาหลายปี คุณสมบัติของดินที่มีลักษณะเฉพาะมักจะพัฒนาขึ้นซึ่งสามารถแยกออกได้โดยง่าย ดินที่มีคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้เรียกว่าดินไฮดริก และแม้อาจพบดินนี้ในพื้นที่ทางภูมิประเทศที่ไม่มากนัก แต่ก็รักษาหน้าที่ของดินที่สำคัญ (soil functions) ในสิ่งแวดล้อมไว้ได้[3]

พืชที่พบในดินไฮดริกมักมีเนื้อเยื่อแอเรงคิมา (aerenchyma) ซึ่งเป็นช่องว่างภายในของลำต้นและเหง้า ซึ่งช่วยให้ออกซิเจนในบรรยากาศถูกส่งไปยังบริเวณระบบราก (เขตราก)[4] ดังนั้นพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งจึงถูกปกคลุมด้วยพืชที่มีแอเรนไคมา[5] ได้แก่ ธูปฤาษี กก และบัว

อ้างอิง[แก้]

  1. มงคล ไชยภักดี, วัลยา ชนิตตาวงศ์. 2550. สถานการณ์และการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ.
  2. "ความชื้นหรือน้ำ". 118.174.134.188.[ลิงก์เสีย]
  3. Schuyt, K. and Brander, L. 2004. Living Waters: Conserving the Source of Life – The Economic Values of theWorld’sWetlands. Amsterdam, the Netherlands: European Union, and Gland, Switzerland: World Wildlife Fund.
  4. Justin, S. H. F. W. and Armstrong, W. 1987. The anatomical characteristics of roots and plant response to soil flooding. New Phytologist 106: 465–95.
  5. Keddy, P.A. 2010. Wetland Ecology: Principles and Conservation (2nd edition). Cambridge University Press, Cambridge, UK.