ถนนสีบุญเรือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนสีบุญเรือง
ถนนศรีบุญเรือง
แผนที่
Siboon Rueang Road.jpg
ถนนช่วงเทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว13.000 กิโลเมตร (8.078 ไมล์)
ทางหลวงท้องถิ่น ทต.บางกะจะ
ความยาว2.860 กิโลเมตร (1.777 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.ท่าแฉลบ ใน อ.เมืองจันทบุรี
ปลายทางทิศเหนือถ.สีบุญเรือง ใน อ.เมืองจันทบุรี
ทางหลวงท้องถิ่น อบต.สีพยา-บ่อพุ
ความยาว1.414 กิโลเมตร (0.879 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ปลายทางทิศเหนือถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ทางหลวงท้องถิ่น ทต.เขาวัว-พลอยแหวน
ความยาว2.520 กิโลเมตร (1.566 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ทางแยก
ที่สำคัญ
ถ.เทศบาลสาย 1 ใน อ.ท่าใหม่
ปลายทางทิศเหนือจบ.ถ. 19-015 ใน อ.ท่าใหม่
ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ. 19-015
ความยาว2.982 กิโลเมตร (1.853 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ถ.สีบุญเรือง ใน อ.ท่าใหม่
ทางแยก
ที่สำคัญ
ถ.พระยาตรัง ใน อ.ท่าใหม่
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถ.สัมปทาน ใน อ.ท่าใหม่
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัดจันทบุรี
ระบบทางหลวง

ถนนสีบุญเรือง[a] หรือ อดีตทางหลวงแผ่นดินสาย 3147 สายหัวหิน – ตลาดท่าใหม่ เป็นทางหลวงท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลตำบลบางกะจะและเทศบาลเมืองท่าใหม่ ในอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ประวัติ[แก้]

ถนนสีบุญเรือง แต่เดิมเป็นทางหลวงสัมปทานสายหัวหิน - ตลาดท่าใหม่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ให้สัมปทานแก่หลวงชนาณัมคณิศรในการก่อสร้างและดูแลเส้นทางดังกล่าว ต่อมาหลวงชนาณัมคณิศรได้โอนกิจการให้กับนายซองอ๊วน สีบุญเรือง ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในสัมปทานดังกล่าวอยู่เดิมแล้ว เนื่องจากสุขภาพทรุดโทรมไม่สามารถดูแลกิจการดังกล่าวต่อไปได้ ทำให้นายซองอ๊วนเป็นผู้เดียวที่เข้ามาดูแลสัมปทานดังกล่าว

โบราณสถานค่ายเนินวง ตั้งอยู่บริเวณสายทางของถนนสีบุญเรือง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 นายซองอ๊วน ได้รับสัมปทานจากกรมทางหลวงให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเส้นทางและถือสิทธิในการให้บริการรถโดยสารและรถบรรทุกสินค้า ผ่านเส้นทาง สายทางแยกจากบ้านหัวหิน ผ่านเมืองใหม่ บางกะจะ สีพระยา ไร่โอ๋ บ่อพุ ห้วยแร้ง พลอยแหวน ซำฆ้อ โป่งรัก เนินพลอยแหวน วัดหนองโพรง จนถึงตลาดท่าใหม่ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ระยะทาง 13 กิโลเมตร[1] อายุสัมปทาน 20 ปี เงินทุนตั้งบริษัทจำนวน 100,000 บาท ในขณะนั้น นับตั้งแต่วันทำสัญญา ลักษณะถนนเป็นรูปแบบถมด้วยดินและโรยผิวทางด้วยกรวดตามรูปแบบของกรมทางหลวง ซึ่งประชาชนสามารถใช้พาหนะบนเส้นทางในการสัญจรได้ตามปกติ แต่จะไม่สามารถเดินรถโดยสารที่เก็บค่าโดยสารบนเส้นทางนี้ได้[2] โดยได้มีการกำหนดสายทางและพื้นที่ในการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมตามแนวเส้นทางสัมปทานจากเส้นกึ่งกลางข้างละ 500 เมตร ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2480[1]

หลังจากระยะเวลาผ่านไประยะหนึ่ง นายซองอ๊วยได้เสียชีวิตลง ทำให้นายซองกุ่ยได้รับสิทธิในสัมปทานเดินรถดังกล่าวต่อ จึงได้ดำเนินกิจการตามระยะเวลาจนสิ้นสุดสัมปทาน และมอบสัมปทานของเส้นทางดังกล่าวให้กับจังหวัดจันทบุรี[3] จังหวัดจันทบุรีจึงได้เสนอไปยังนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ให้ตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า สีบุญเรือง เพื่อเป็นเกียรติให้กับนายซองกุ่ย ผู้ถือสัมปทานในทางหลวงและดูแลเส้นทางดังกล่าวมาเป็นอย่างดีโดยตลอดระยะเวลาของสัมปทานคือ 20 ปี[4] และทางราชการได้ก่อสร้างถนนเชื่อมต่อมาจากถนนสุขุมวิทเข้ามาเชื่อมต่อกับถนนสีบุญเรือง จึงทำให้เจตจำนงค์ของนายซองกุ่ยอีกข้อหนึ่งประสบความสำเร็จเช่นกันที่ตั้งใจมอบถนนให้เป็นสาธารณประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ[3]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2509 ถนนสีบุญเรือง ได้ถูกกำหนดหมายเลขในระบบทางหลวงจังหวัดให้เป็น ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3147[5] ชื่อสายทางสายหัวหิน - ท่าใหม่ พร้อมกันกับถนนท่าแฉลบที่เป็นจุดเริ่มต้นของสายทางบ้านหัวหิน ที่ได้รับการกำหนดหมายเลขให้เป็น ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3146 และปรับเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3147 ในปี พ.ศ. 2535 ตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติทางหลวง[6]

ถ่ายโอนให้ท้องถิ่น[แก้]

ในระหว่างนี้ได้มีการถ่ายโอนถนนสีบุญเรือง ในช่วงเทศบาลเมืองท่าใหม่ออกจากทางหลวงแผ่นดิน และเรียกว่าถนนสัมปทาน[7] ได้รับการกำหนดรหัสสายทางว่า ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ 19-031 ระยะทางประมาณ 0.800 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2549[8] กรมทางหลวงได้มีการถ่ายโอนถนนสีบุญเรือง ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านกรมทางหลวงชนบทตลอดสายทาง[8] ตั้งแต่บ้านหัวหินจนถึงตลาดท่าใหม่ ระยะทางรวมประมาณ 9.776 กิโลเมตร ประกอบไปด้วย

  • ทางหลวงท้องถิ่น เทศบาลตำบลบางกะจะ ระยะทาง 2.860 กิโลเมตร[8]
  • ทางหลวงท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา-บ่อพุ ระยะทาง 1.414 กิโลเมตร[8]
  • ทางหลวงท้องถิ่น เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน ระยะทาง 2.520 กิโลเมตร[8]
  • ทางหลวงท้องถิ่น จบ.ถ 19-015 ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองท่าใหม่ ระยะทาง 2.982 กิโลเมตร[8]

รายละเอียดเส้นทาง[แก้]

ถนนสีบุญเรือง ประกอบไปด้วยถนนขนาด 2 ช่องจราจรสวนทางกัน[8] ระยะทางตามในสัมปทานครั้งแรกประมาณ 13.000 กิโลเมตร[3] แต่จากการสำรวจปัจจุบันมีระยะทางประมาณ 9.776 กิโลเมตร[8] ในส่วนของถนนสีบุญเรืองปัจจุบัน และระยะทางประมาณ 10.576 กิโลเมตร[8] หากรวมช่วงเดิมที่เปลี่ยนเป็นถนนสัมปทาน เป็นพื้นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์คอนกรีต[8] เชื่อมต่อระหว่างบ้านหัวหินในพื้นที่ของเทศบาลตำบลบางกะจะ[9] องค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา-บ่อพุ[10] เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน[11] และสิ้นสุดปลายทางที่ตลาดท่าใหม่ในเทศบาลเมืองท่าใหม่ เป็นอีกเส้นทางในการเดินทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปสู่อำเภอท่าใหม่ เดิมคือทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3147 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3147 ของกรมทางหลวงตามลำดับ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตลอดสายทาง

ช่วงหนึ่งของถนนสีบุญเรือง ตัดผ่านทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินบริเวณสนามบินจันทบุรี (สนามบินท่าใหม่, สนามบินเนินพลอยแหวน) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือ สำหรับการปฏิบัติการของกองทัพเรือและปฏิบัติการทางการเกษตรของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร[12][13]

ถึงแม้ปัจจุบัน ถนนสีบุญเรืองจะถูกถ่ายโอนให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว แต่ยังคงมีการติดป้ายของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3147 อยู่บนสายทาง และยังถูกประชาชนในท้องถิ่นที่ใช้งานเส้นทางเรียกด้วยชื่อเดิมอยู่[14] รวมถึงบนผังเมืองรวมของเทศบาลเมืองท่าใหม่[15] และบางครั้งถนนสีบุญเรือง มีการเรียกชื่อถนนว่าศรีบุญเรือง[11][10][a]

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ถนนสีบุญเรือง ทิศทาง: หัวหิน – ท่าใหม่
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนสีบุญเรือง (ทางหลวงท้องถิ่น ทต.บางกะจะ)
จันทบุรี 0+000 แยกบางกะจะ ถ.ท่าแฉลบ บ.ท่าแฉลบ ถ.ท่าแฉลบ เข้าเมืองจันทบุรี
ถ.บางกะจะ ไป รร.บางกะจะ ไม่มี
ถ.สาธารณะ ไป วัดพุทธคยาราม (วัดพลูยาง) ไม่มี
ถนนสีบุญเรือง (ทางหลวงท้องถิ่น อบต.สีพยา-บ่อพุ)
จันทบุรี 2+860 เชื่อมต่อจาก: ถ.สีบุญเรือง
ไม่มี ซ.เทศบาล 6 (บ้านเส) ไป ต.บางกะจะ
ไม่มี ถ.รัตนวิถี ไป วัดสระแก้ว
ไม่มี ถ.สาธารณะ ไป วัดเขาพลอยแหวน
ถนนสีบุญเรือง (ทางหลวงท้องถิ่น ทต.เขาวัว-พลอยแหวน)
จันทบุรี 4+274 เชื่อมต่อจาก: ถ.สีบุญเรือง
ถ.เทิดพระเกียรติ์ ไป เจดีย์เขาพลอยแหวน ถ.อนุคีรี ไป อ.เมืองจันทบุรี
ถ.เทศบาลสาย 1 ไป วัดไผ่ล้อม ไม่มี
ถนนสีบุญเรือง (ทม.ท่าใหม่)
จันทบุรี 6+794 เชื่อมต่อจาก: ถ.สีบุญเรือง
ไม่มี ถ.พระยาตรัง เข้าเมืองจันทบุรี
ไม่มี ถ.พิศาลธรรมคุณ ไป ถ.สุขุมวิท
ถ.หัวอู่ไผ่ล้อม - สนามบิน ไป วัดไผ่ล้อม ไม่มี
ซ.บุญญวาสวิหาร ไป วัดบุญญวาสวิหาร ไม่มี
ซ.บุญญวาสวิหาร ไป วัดบุญญวาสวิหาร จาก ถ.ศรีนวดิตถ์
ถนนสัมปทาน (ทม.ท่าใหม่)
จันทบุรี 9+776 เชื่อมต่อจาก: ถ.สีบุญเรือง
ไม่มี ถ.แก้ววิเชียร ไป สภ.ท่าใหม่
ถ.ราชกิจ ไป หาดเจ้าหลาว ถ.ราชกิจ ไป ที่ว่าการอำเภอท่าใหม่
ซ.สัมปทาน 1 ไป วัดกลางทุ่งท่าระแนะ ไม่มี
10+576 ไม่มี บรรจบ ถ.สรรพกิจ
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เขตการควบคุม[แก้]

ช่วงที่ รหัสสายทาง ชื่อ หลัก กม. ระยะทาง (กม.) อปท. อำเภอ จังหวัด
1 - ถนนสีบุญเรือง 0+000 - 2+860 7.500 เทศบาลตำบลบางกะจะ เมืองจันทบุรี จันทบุรี
2 - ถนนสีบุญเรือง 2+860 - 4+274 7.500 องค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา-บ่อพุ ท่าใหม่ จันทบุรี
3 - ถนนสีบุญเรือง 4+274 - 6+794 7.500 เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน ท่าใหม่ จันทบุรี
4 จบ.ถ 19-015 ถนนสีบุญเรือง 6+794 - 9+776 7.500 เทศบาลเมืองท่าใหม่ ท่าใหม่ จันทบุรี
5 จบ.ถ 19-031 ถนนสัมปทาน 9+776 - 10+576 ประมาณ 0.800 เทศบาลเมืองท่าใหม่ ท่าใหม่ จันทบุรี
รวม 4 อปท. รวมระยะทาง 10.576 กม.

สถานที่สำคัญ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 บางเอกสารสะกดเป็นคำว่า ศรีบุญเรือง แต่ยึดตามราชกิจจานุเบกษาการตั้งชื่อถนนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางแยกจากหัวหินถึงตลาดท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช 2479. เล่ม 54 ก, 18 พฤษภาคม 2480. หน้า 549-551
  2. "จดหมายเหตุว่าด้วยเรื่อง "นายซองอ๊วน:นายซองกุ่ย:ถนนสีบุญเรือง" - กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร". www.finearts.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 "จดหมายเหตุว่าด้วยเรื่อง "นายซองอ๊วน:นายซองกุ่ย:ถนนสีบุญเรือง" - กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร". www.finearts.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดิน. เล่ม 72 ตอนที่ 27 ง, 12 เมษายน 2498. หน้า 808
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2509. เล่ม 83 ตอนที่ 57 ง, 5 กรกฎาคม 2509. หน้า 2174
  6. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535. เล่ม 109 ตอนที่ 52 ก, 18 เมษายน 2535. หน้า 23
  7. หน้า 130. แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2566 - 2570. เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (chanthaburi.go.th)
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 ระบบฐานข้อมูลถนนถ่ายโอน. เก็บถาวร 2023-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม
  9. "ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน-เทศบาลตำบลบางกะจะ ( ทต. บางกะจะ ) อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี". bangkaja.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
  10. 10.0 10.1 "อบต.สีพยา-บ่อพุ (siphaya-bophu.go.th)". siphaya-bophu.go.th.
  11. 11.0 11.1 "ประกาศ ผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว วัดเขาพลอยแหวน โดยการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างถนนศรีบุญเรือง หมู่ที่ 3,4,6,7 ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 63 ต้น โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) – เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน" (ภาษาอังกฤษ).
  12. แม่หมีอุมา (2021-03-20). "สนามบินท่าใหม่ เมื่อไหร่จะเปิดให้วิ่ง เสียดายที่วิ่ง ที่ดีที่สุดในจันทบุรีจริง ๆ เชียว". แก๊งสายชิลล์ พากิน พาเที่ยว ทะเล ภูเขา วัด สอนว่ายน้ำ.
  13. "องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ..." thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
  14. "ลักษณะที่ตั้ง-เทศบาลตำบลบางกะจะ ( ทต. บางกะจะ ) อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี". bangkaja.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
  15. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2558. เล่ม 132 ตอนที่ 61 ก, 10 กรกฎาคม 2558. หน้า 29-37

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]