ตำบลท่าโพ
ตำบลท่าโพ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Tha Pho |
พิกัด: 15°21′52.0″N 99°59′12.5″E / 15.364444°N 99.986806°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุทัยธานี |
อำเภอ | หนองขาหย่าง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 14.53 ตร.กม. (5.61 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,261 คน |
• ความหนาแน่น | 155.60 คน/ตร.กม. (403.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 61130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 610506 |
ท่าโพ เป็นตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลท่าโพมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองพังค่า ตำบลหนองแก และตำบลดอนขวาง (อำเภอเมืองอุทัยธานี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลน้ำซึม (อำเภอเมืองอุทัยธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหมกแถว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองขาหย่าง
ประวัติ
[แก้]ท่าโพเป็นตำบลในอำเภอหนองพลวง จังหวัดอุทัยธานี ตั้งเป็นตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2443[2] มีหมู่บ้านมากถึง 7 หมู่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ. 2485 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทรวงมหาดไทยจึงยุบตำบลห้วยรอบเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ได้โอน 3 หมู่บ้านของตำบลหมกแถวมาขึ้นกับตำบลท่าโพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2490 ได้แยกหมู่ 5 บ้านหมกแถว หมู่ 6 บ้านหนองเขาขัน และหมู่ 7 บ้านทุ่งใหญ่ ไปตั้งเป็น ตำบลหมกแถว[3] ทำให้ตำบลท่าโพเหลือพื้นที่ 4 หมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
บ้านท่าโพเป็นหมู่บ้านคนไทยที่เก่าแก่ราว พ.ศ. 2304 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมเป็นพื้นที่ป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุมและมีหนองน้ำให้สัตว์อาศัยอยู่กินโดยเฉพาะวัวแดง จึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า หนองวัวแดง ปัจจุบันนี้คือหนองประแดง ต่อมาได้มีผู้คนเข้ามาอาศัยเรียกบ้านนี้ว่า "ท่าโค" (ท่าวัวแดงลงกินน้ำ) ภายหลังได้เรียกเป็น บ้านท่าโพ หรืออีกนัยหนึ่ง เนื่องจากบริเวณกลางหมู่บ้านมีต้นโพใหญ่มีสายพันธุ์ของพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา "โพธิ์พันธุ์ศรี" และบริเวณนี้เดิมเป็นด่านชุมทางข้ามระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่ จึงได้ชื่อบ้านนี้ว่า "บ้านท่าโพธิ์พันธุ์ศรี" ต่อมาเรียกกร่อนว่า บ้านท่าโพ จนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]พื้นที่ตำบลท่าโพประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,261 คน แบ่งเป็นชาย 1,035 คน หญิง 1,226 คน (เดือนธันวาคม 2566)[4] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดอันดับ 4 จาก 9 ตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[5] | พ.ศ. 2565[6] | พ.ศ. 2564[7] | พ.ศ. 2563[8] | พ.ศ. 2562[9] | พ.ศ. 2561[10] | พ.ศ. 2560[11] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าโพ (ม.3) | 757 | 754 | 746 | 754 | 767 | 758 | 775 |
ท่าโพ (ม.4) | 532 | 528 | 531 | 540 | 546 | 557 | 565 |
พันสี (ม.1) | 501 | 505 | 509 | 520 | 522 | 523 | 517 |
พันสี (ม.2) | 471 | 463 | 455 | 449 | 442 | 436 | 433 |
รวม | 2,261 | 2,250 | 2,241 | 2,263 | 2,277 | 2,274 | 2,290 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ปัจจุบันตำบลท่าโพทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลท่าโพ ในปี พ.ศ. 2517[12] ต่อมาปี พ.ศ. 2541 สภาตำบลท่าโพมี 4 หมู่บ้าน พื้นที่ 14.53 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,174 คน และ 583 ครัวเรือน[13] ปี พ.ศ. 2542 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลท่าโพอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (เขตตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542