ตะพาบลีธ
ตะพาบลีธ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | เต่า Testudines |
อันดับย่อย: | อันดับย่อยเต่า Cryptodira |
วงศ์: | วงศ์ตะพาบ Trionychidae |
สกุล: | สกุลตะพาบนกยูง Nilssonia (Gray, 1872)[1] |
สปีชีส์: | Nilssonia leithii |
ชื่อทวินาม | |
Nilssonia leithii (Gray, 1872)[1] | |
ชื่อพ้อง[3] | |
|
ตะพาบลีธ, ตะพาบไลธ์ หรือ ตะพาบนาคปุระ (อังกฤษ: Leith's softshell turtle, Nagpur softshell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nilssonia leithii) เป็นสปีชีส์ของตะพาบในวงศ์ของตะพาบ ตะพาบชนิดนี้พบได้ในแม่น้ำแถบคาบสมุทรอินเดีย รวมถึงแม่น้ำตุงคภัฒรา (Thungabhadra), แม่น้ำฆัตประภา (Ghataprabha), แม่น้ำภวานี (Bhavani), แม่น้ำโคทาวรี, แม่น้ำกาเวรี และแม่น้ำโมยาร์ (Moyar)[4]
ที่ตั้งของต้นแบบ: เมืองปูเณ ประเทศอินเดีย[5]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อเฉพาะ leithii นี้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Andrew H. Leith ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุขมุมไบ[6]
ลักษณะทางกายภาพ
[แก้]ตะพาบลีธมีลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างตะพาบคงคา (N. gangetica) และตะพาบนกยูงอินเดีย (N. hurum) สิ่งที่มีความคล้ายอย่างแรกคือ ความกว้างของบริเวณด้านบนหัวระหว่างดวงตา แนวประสานระหว่างขากรรไกรล่างที่ค่อนข้างสั้น และมีรอยบริเวณหัว และมีจมูกที่ยาวและค่อนข้างแหลมกว่า ไม่มีสันกระดูกขากรรไกรที่แข็งแรงบริเวณพื้นผิวด้านในของกระดูกขากรรไกรล่าง และมีลักษณะของวงแหวนสี่วงหรือมากกว่าบริเวณกระดองหลังในวัยอ่อน ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าในตะพาบนกยูงอินเดีย (N. hurum)[7]
ตัวเต็มวัยอาจมีกระดองยาว 64 เซนติเมตร หรือ 25 นิ้ว[8]
อาหาร
[แก้]ตะพาบลีธจะล่าเหยื่อเป็นลูกน้ำ (ตัวอ่อนของยุง) ปู หอยน้ำจืด และปลา[4] บางครั้งตะพาบชนิดนี้ยังกินพืชน้ำขนาดเล็กด้วย[8]
การสืบพันธุ์
[แก้]ตะพาบตัวเมียที่โตเต็มวัยชนิดนี้ จะวางไข่ในเดือนมิถุนายน ไข่มีลักษณะเป็นทรงกลม และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละฟองประมาณ 30 ถึง 31 มิลลิเมตร (1.2 นิ้ว)[8]
ภัยคุกคาม
[แก้]สายพันธุ์นี้ถูกใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นทั่วคาบสมุทรอินเดีย[9] ภัยคุกคามสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ใกล้แม่น้ำ มลพิษทางน้ำ การทำเหมืองทราย การกสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ การลักลอบล่าสัตว์ การแสวงหาผลกำไรจากไข่ของตะพาบชนิดนี้ไม่ว่าจะการนำไปขาย ฯลฯ[10][4]
ที่อยู่ทางภูมิศาสตร์
[แก้]ตะพาบลีธเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นของคาบสมุทรอินเดีย[11] ซึ่งอยู่ในรัฐอานธรประเทศ รัฐกรณาฏกะ รัฐเกราลา รัฐมัธยประเทศ รัฐมหาราษฏระ รัฐทมิฬนาฑู[1] และรัฐโอฑิศา[1]
เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Praschag, P.; Das, I.; Choudhury, B.C.; Singh, S. (2021). "Nilssonia leithii". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T2174A2778380. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T2174A2778380.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "iucn status 19 November 2021" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ Fritz 2007, pp. 310–311
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Das, I., Sirsi, S., Vasudevan, K., and Murthy ,B.
- ↑ Gray,J.
- ↑ Beolens, Bo; Watkins, Michael; Grayson, Michael (2011).
- ↑ Boulenger GA (1890).
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Das I (2002).
- ↑ Biju Kumar, A. 2004.
- ↑ Dharwadkar, Sneha (23 February 2023). "Sneha Dharwadkar (2020) Freshwater Turtles and Tortoises Foundation". India Biodiversity Portal. สืบค้นเมื่อ 2023-02-23.
- ↑ Jafer Palot, Zoological Survey of India, Western Ghat Regional Centre; in Venkataraman, K., Chattopadhyay, A. and Subramanian, K.A. (editors).
ดูเพิ่มเติม
[แก้]- Gray JE (1872). "Notes on the Mud-Tortoises of India (Trionyx, Geoffroy)". Ann. Mag. Nat. Hist., Fourth Series 10: 326–340. (Trionyx leithii, new species, 334–335).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Fritz, Uwe; Havaš, Peter (2007). "Checklist of Chelonians of the World". Vertebrate Zoology. 57 (2): 149–368. doi:10.3897/vz.57.e30895.