เต่านา
เต่านา | |
---|---|
ชนิด M. subtrijuga หรือเต่านาอีสาน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Testudines |
วงศ์: | Bataguridae |
วงศ์ย่อย: | Geoemydinae |
สกุล: | Malayemys Lindholm, 1931[1] |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[2] [3] | |
|
สำหรับบุคคลดูที่ หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล
เต่านา หรือ เต่าสามสัน (อังกฤษ: Snail-eating turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิดจำพวกเต่าที่อยู่ในสกุล Malayemys ในวงศ์ Bataguridae
เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก มีลักษณะเด่น คือ กระดองส่วนบนมีสันนูน 3 เส้น เห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และมีขอบเรียบ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และมีลายเส้นสีเหลืองหรือสีขาว กระดองส่วนบนมีสีน้ำตาลและขอบสีครีมหรือสีเหลือง กระดองส่วนล่างมีสีเหลือง และแต้มสีดำบนแผ่นเกล็ด ขณะที่สีผิวทั่วไปเป็นสีน้ำตาลเทาหรือดำ บริเวณส่วนหน้าและจมูกมีลายเส้นขีดสีขาว
เป็นเต่าที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำของภูมิภาคอินโดจีนและแหลมมลายู พบเห็นได้ทั่วไปทั้งนาข้าว, สวนสาธารณะ หรือท้องร่องสวนผลไม้ พื้นที่การเกษตรทั่วไป เป็นเต่าที่กินหอยเป็นอาหารหลักทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา โดยใช้ริมฝีปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก แล้วใช้เล็บจิกเนื้อหอยออกมากิน และยังกินสัตว์น้ำอย่างอื่นได้ด้วย [4]
เดิมทีเต่านาถูกจำแนกไว้เพียงชนิดเดียว แต่ต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยนักวิชาการชาวตะวันตก เมื่อปี ค.ศ. 2004 พบว่าแท้จริงแล้วมี 2 ชนิด โดยมีลักษณะแตกต่างกันทางกายวิภาคบางประการ และถิ่นที่แพร่กระจายพันธุ์ คือ
- Malayemys macrocephala พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคอีสานของประเทศไทย ไปจนถึงตอนเหนือของมาเลเซีย
- Malayemys subtrijuga พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคอีสานของไทย และลุ่มแม่น้ำโขง[5]
ต่อมาในปี ค.ศ. 2016 ได้มีการจำแนกออกไปอีก เป็น Malayemys khoratensis ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดเดียวกับ Malayemys isan ซึ่งไม่ได้ปรากฏอยู่ในรหัสสากลการระบุพันธุ์สัตววิทยา (ICZN Code)[1][3][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Rhodin 2010, pp. 000.111
- ↑ Fritz, Uwe; Havaš, Peter (2007-10-31). [1]
- ↑ 3.0 3.1 Fritz 2007, pp. 226–227
- ↑ [ลิงก์เสีย] เต่านา จากกรมประมง
- ↑ "การจำแนกชนิดเต่านา" (PDF). dnp.
- ↑ Ihlow, F., Vamberger, M., Flecks, M., Hartmann, T., Cota, M., Makchai, S., Meewattana, P., Dawson, J. E., Long Kheng, L., Rödder, D. & Fritz, U. 2016. Integrative Taxonomy of Southeast Asian Snail-Eating Turtles (Geoemydidae: Malayemys) Reveals a New Species and Mitochondrial Introgression. PLoS ONE 11(4):e0153108. doi:10.1371/journal.pone.0153108.
- ↑ Montri Sumontha, Timothy R. Brophy, Kirati Kunya, Suthep Wiboonatthapol and Olivier S. G. Pauwels (2016). "A new snail-eating turtle of the genus Malayemys Lindholm, 1931 (Geoemydidae) from Thailand and Laos" (PDF). Taprobanica. The Asian Journal of Biodiversity. 8 (1): 1–9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-11. สืบค้นเมื่อ 2016-08-08.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
บรรณานุกรม
[แก้]- Rhodin, Anders G.J.; van Dijk, Peter Paul; Inverson, John B.; Shaffer, H. Bradley (2010-12-14). "Turtles of the World 2010 Update: Annotated Checklist of Taxonomy, Synonymy, Distribution and Conservation Status" (pdf). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-15. สืบค้นเมื่อ 2010-12-15.
- Fritz, Uwe; Havaš, Peter (2007-10-31). "Checklist of Chelonians of the World" (pdf). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 2010-12-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Malayemys ที่วิกิสปีชีส์