ตะพาบหับ
ตะพาบหับ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนถึงปัจจุบัน, 15.97–0Ma | |
---|---|
รูปวาดตะพาบหับอินเดีย (L. punctata) ทั้งกระดองหลัง และใต้ท้องเมื่อหับปิดสนิท | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | เต่า |
อันดับย่อย: | อันดับย่อยเต่า |
วงศ์: | วงศ์ตะพาบ |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยตะพาบหับ |
สกุล: | ตะพาบหับ M. A. Smith, 1931[1][2] |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ตะพาบหับ (อังกฤษ: Flap-shelled turtles) เป็นชื่อสกุลของตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissemys
ลักษณะ
[แก้]กระดองมีรูปร่างกลมและโค้งนูนสูงกว่าตะพาบน้ำสกุลอื่น ๆ ลักษณะพิเศษของตะพาบสกุลนี้คือ ด้านท้อง มีแผ่นหนังปิดขาทั้ง 4 ขา ซึ่งสามารถพับปิดได้สนิทเหมือนเต่าในสกุล Cuora ซึ่งแตกต่างไปจากตะพาบสกุลอื่น กระดองมีสีเทาหรือสีชมพู ใต้ท้องสีขาวและอาจมีจุดสีแดงอ่อน ๆ หรือสีชมพู เมื่อยังเล็กอยู่กระดองจะมีจุดสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว กระดองสีเข้ม ใต้ท้องสีแดงเข้ม มีทั้งสิ้น 3 ชนิด คือ[1]
- Lissemys ceylonensis (Gray, 1856) – ตะพาบหับศรีลังกา
- Lissemys punctata (Bonnaterre, 1789) – ตะพาบหับอินเดีย
- Lissemys scutata (W. Peters, 1868) – ตะพาบหับพม่า
โดยที่ทั้ง 3 ชนิดนี้ เดิมเคยถูกจัดว่าเป็นชนิดเดียวกัน และถูกแบ่งออกเป็นชนิดย่อยซึ่งกันและกัน
ทั้ง 3 ชนิดนี้ ถือว่าเป็นตะพาบชนิดที่ไม่ดุ สามารถเลี้ยงรวมกับปลาได้เมื่อยังเล็ก ๆ และเลี้ยงรวมกันได้ จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยเฉพาะในชนิด L. punctata
แหล่งอาศัย
[แก้]พบกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดีย, พม่าและไทย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็ก ที่มีขนาดโตเต็มที่อาจจะใหญ่เกินกว่าฝ่ามือมนุษย์ได้เล็กน้อย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Rhodin et al. 2011, pp. 000.204–000.205
- ↑ 2.0 2.1 Fritz & Havaš 2007, p. 314
บรรณานุกรม
[แก้]- Rhodin, Anders G.J.; van Dijk, Peter Paul; Iverson, John B.; Shaffer, H. Bradley; Roger, Bour (2011-12-31). "Turtles of the world, 2011 update: Annotated checklist of taxonomy, synonymy, distribution and conservation status" (PDF). Chelonian Research Monographs. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-22.
- Fritz, Uwe; Havaš, Peter (2007-10-31). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 2010-12-29.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Smith, M. A. (1931). The Fauna of British India, Including Ceylon and Burma: Reptilia and Amphibia Volume I Loricata, Testudines. London: Secretary of State for India in Council. (Taylor and Francis, printers). xxviii + 185 pp. + Plates I-II. (Lissemys, new genus, p. 154).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lissemys ที่วิกิสปีชีส์