ข้ามไปเนื้อหา

ซูเปอร์ฮิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซูเปอร์ฮิต เป็นโปรเจ็กท์พิเศษของนิธิทัศน์ โปรโมชั่น โดยเป็นการนำศิลปินนักร้องในสังกัดมาขับร้องเพลงลูกทุ่งที่เคยได้รับความนิยมมาก่อน ด้วยรูปแบบดนตรีที่ทันสมัยและสนุกสนานยิ่งขึ้นกว่าเดิม เข้าถึงผู้ฟังทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เครื่องดนตรีบันทึกเสียง เช่น ดรัมแมชชีน กีตาร์ คีย์บอร์ด และเครื่องเป่าบางชิ้น [1]

ซูเปอร์ฮิตครั้งแรก

[แก้]

นิธิทัศน์ออกวางตลาดอัลบั้ม "ซูเปอร์ฮิต" ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2533 โดยศิลปินรายแรกคือ ดอน สอนระเบียบ ตามด้วย พรพิมล ธรรมสาร, ยุรนันท์ ภมรมนตรี และ สเตทเอ็กซ์เพรส โดยใช้ชื่อศิลปินตามด้วยคำว่าซูเปอร์ฮิตเป็นชื่ออัลบั้ม จากนั้นเป็นผลงานในชื่อชุด "เพลงคู่ซูเปอร์ฮิต", "ซูเปอร์ฮิต สเปเชี่ยล", "เมดเล่ย์ซูเปอร์ฮิต" โดยศิลปินนักร้องอีกหลายคน รวมทั้งได้นำนักร้องเพลงลูกทุ่งต้นฉบับมาขับร้องกับดนตรีใหม่ในชื่อชุด "อภิมหาลูกทุ่งซูเปอร์ฮิต" ส่วนชื่อ "เพลงหวานซูเปอร์คลาสสิก" เริ่มมีขึ้นในอัลบั้มของ โอภาส ทศพร ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

ความสำเร็จ

[แก้]

แม้จะมีชื่ออัลบั้มที่ต่างกัน แต่ก็ถือว่าผลงานเพลงเก่าทำใหม่ล้วนอยู่ในสกุลซูเปอร์ฮิตแทบทั้งสิ้น[2] และด้วยการใช้เวลาโปรโมทเพลงกว่าสิบชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ทำให้ซูเปอร์ฮิตกลายเป็นชื่อเรียกติดปากคนฟังไปโดยปริยายเมื่อนึกถึงค่ายเพลง โดยมีอัลบั้มซูเปอร์ฮิตตามมาอีกนับร้อยชุด ขณะที่ผลงานเพลงสร้างสรรค์ของศิลปินซึ่งเป็นที่ยอมรับในแง่คุณภาพ เช่น ติ๊ก ชีโร่, ไฮดร้า ฯลฯ กลับค่อย ๆ ลดลง จนเกิดการล่มสลายของค่ายไปในที่สุด [3] แต่อย่างไรก็ตาม โปรเจ็กท์ "ซูเปอร์ฮิต" ทำให้วงการเพลงลูกทุ่งกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ด้วยการบุกเบิกการนำเพลงเก่ามาทำดนตรีในสมัยใหม่

รายชื่อศิลปินในสกุลซูเปอร์ฮิต

[แก้]

นักร้องในสังกัด

[แก้]

นักร้องเพลงต้นฉบับ

[แก้]

ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คิดถึงค่ายเพลง "นิธิทัศน์"[ลิงก์เสีย]
  2. นิตยสารสีสัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม 2534 : หน้า 47
  3. "เพราะอะไร? ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง"นิธิทัศน์"ถึงได้"เจ๊ง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.