รอยัลสไปรท์ส
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
รอยัลสไปรท์ส | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ![]() |
แนวเพลง | ป็อป ร็อก ดิสโก ลูกทุ่ง คันทรี |
ช่วงปี | พ.ศ. 2518 - 2530, 2548 |
ค่ายเพลง | บัวหลวง เสียงสยาม Original Sound อโซน่า นิธิทัศน์โปรโมชั่น Corron |
สมาชิก | อำนาจ ศรีมา (กีตาร์) เสริมเวช ช่วงยรรยง (คีย์บอร์ด) สุนทร สุจริตฉันท์ (ร้องนำ) นิยม สะอาดพันธ์ (เบส) พิเชฏฐ์ ศุขแพทย์ (เครื่องเป่า) เดชา จินดาพล (เครื่องเป่า) ศิโรฒน์ จุลินทร (กลอง) ศักดา พัทธสีมา (กีตาร์, ร้อง) |
อดีตสมาชิก | อดิศักดิ์ ประคุณหังสิต (ร้องนำ) ไพรเวศ วงศ์ธนบัตร (เครื่องเป่า) - (เสียชีวิต) |
รอยัลสไปรท์ส (อังกฤษ: Royal Sprites) กลุ่มดนตรีสตริงคอมโบสัญชาติไทย มีชื่อเสียงในช่วง พ.ศ. 2521 - 2530 โดยนำทำนองเพลงฮิตจากต่างประเทศมาใส่เนื้อเพลงภาษาไทย มีหัวหน้าวงคือ อำนาจ ศรีมา มือกีตาร์ [1] มีนักร้องนำคือ สุนทร สุจริตฉันท์ รอยัลสไปรท์สมีผลงานทั้งในแนวป็อป ร็อก ดิสโก คันทรี่ และลูกทุ่ง[2]
ประวัติ[แก้]
รอยัลสไปรท์ส ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2513 โดยอำนาจ ศรีมา หลังจากวงฟลาวเวอร์สได้ยุบวงไป โดยได้รวบรวมเพื่อนๆ ที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนเพาะช่าง โดยมีนักร้องนำคือ อดิศักดิ์ ประคุณหังสิต ชื่อวงครั้งแรกชื่อ "The Royal Academy Of Magic Sprites" ต่อมาได้ตัดให้สั้นลงเหลือ "The Royal Sprites" [3] เริ่มจากการเป็นวงดนตรีเล่นตามไนท์คลับ และเข้าร่วมการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2513 แต่ได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์ พ่ายแพ้ให้กับวงดิ อิมพอสซิเบิลส์ [3] ในระยะแรกเล่นดนตรีในแนวป็อบ และร็อก ต่อมาเมื่ออดิศักดิ์ ประคุณหังสิต ลาออกจากวงเพื่อไปทำงานประจำ จึงได้สุนทร สุจริตฉันท์ ซึ่งเป็นนักร้องดนตรีสากลจากวง M7 มาเป็นนักร้องนำแทน
รอยัลสไปร์ทส มีผลงานอัลบั้มครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 เล่นดนตรีแนวดิสโกตามสมัยนิยม มีเพลงดังคือเพลง เจงกีสข่าน นำเพลงฮิตของวง Dschinghis Khan จากเยอรมนีมาใส่คำร้องภาษาไทยโดย ประสิทธิ์ ชำนาญไพร , เพลง "จีบจู๋จี๋" จากทำนองเพลง Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini ของ Brian Hyland, เพลง "น่าอาย" จากทำนองเพลง Two Faces Have I ของ Lou Christie, เพลง "อาลีบาบา"
รอยัลสไปรท์สมีผลงานมากมายหลายอัลบั้ม "มาหาพี่" , "รักสิบล้อต้องรอสิบโมง" , "สวยในซอย" ผลงานที่มียอดขายสูงสุด คือชุด "หยุดโลก" ในปี พ.ศ. 2526 มียอดขายเทปหลายแสนม้วน จนทำให้ทั้งวงได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ เพลงรักก้องโลก ของไพจิตร ศุภวารี นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์ จารุณี สุขสวัสดิ์ สมบัติ เมทะนี วินัย พันธุรักษ์ ภัทรา ทิวานนท์ และ สุรชัย สมบัติเจริญ
ชื่อเสียง[แก้]
ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงรอยัลสไปร์ทส อีกหนึ่งชุดคือผลงานอัลบั้ม “รักสิบล้อต้องรอสิบโมง” ในปี 2523 โดยมีไพรเวศ ซึ่งปกติทำหน้าที่เล่นดนตรีเครื่องเป่า อาทิ แซ็กโซโฟน ได้ผันตัวเองมาเป็นนักร้องเพราะมีสำเนียงออกทางลูกทุ่ง ทำหน้าที่ร้องเพลงเด่นของอัลบั้ม ในชื่อเพลง “รักสิบล้อ รอสิบโมง” ผลงานการประพันธ์ของจำนงค์ เป็นสุข หรือ “สรวง สันติ” ปรากฏเพลงดังระเบิด จนเป็นที่ชื่นชอบ กลายเป็นเพลงโปรดของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงขนาดนำไปพูดในสภาผู้แทนราษฎรให้ ส.ส.ที่พูดอภิปรายใจเย็นๆ รักสิบล้อต้องรอสิบโมง จึงสร้างความฮือฮา จากนั้นไพรเวศและวงรอยัลสไปร์ทสจะได้รับเชิญไปร้องเพลงในงานวันเกิดของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เป็นประจำ นอกจากเพลง “รักสิบล้อต้องรอสิบโมง” แล้วไพรเวศยังได้ร้องเพลงชื่อ “นกกะปูด” ในอัลบั้มชุด “คนเก่งของฉัน” ในปี 2548 อีกด้วย[4] สมาชิกในวงยุคคลาสสิกบางส่วนอาทิ สุนทร สุจริตฉันท์ ไพรเวศ วงศ์ธนบัตร และ ศิโรฒน์ จุลินทรได้แยกย้ายกันไปทำงานส่วนตัวเหลือเพียง อำนาจ ศรีมา เสริมเวช ช่วงยรรยง นิยม สะอาดพันธ์ พิเชฏฐ์ ศุขแพทย์ และเดชา จินดาพลที่ยังคงทำงานเพลงอยู่โดยได้เปลี่ยนชื่อวงเป็น "เดอะ สไปร์ทส" พร้อมกับรับสมาชิกใหม่เข้ามาร่วมวงหนึ่งในนั้นคือนักร้องและมือกีตาร์หนุ่มจาก จังหวัดสุพรรณบุรี คือ ศักดา พัทธสีมา โดยสมาชิกของวงยุคนี้ได้ออกสตูดิโออัลบั้มเพียงชุดเดียวคืออัลบั้ม "อยู่เพื่อรัก" เมื่อราว พ.ศ. 2530 ก่อนจะสลายวงไปและสมาชิกยุคคลาสสิกได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 มีผลงานล่าสุดชื่อชุด "คนเก่งของฉัน"
ผลงานอัลบั้ม[แก้]
ค่าย ORIGINAL SOUND[แก้]
- เจงกีสข่าน (พ.ศ. 2522)
- มาหาพี่ (พ.ศ. 2522)
- ถ้าจะบ้า (พ.ศ. 2523)
- รักสิบล้อรอสิบโมง (พ.ศ. 2523)
ค่าย AZONA[แก้]
- เรื่องจิ๊บจ๊อย (พ.ศ. 2525)
- หนึ่งไม่มีสอง (พ.ศ. 2525)
- สวยในซอย (พ.ศ. 2525)
ค่าย นิธิทัศน์[แก้]
- จีบจู๋จี๋ (พ.ศ. 2525)
- หยุดโลก (พ.ศ. 2526)
- สู่อวกาศ (พ.ศ. 2527)
- รอยัลสไปรท์ส'28 ซูเปอร์เมดเล่ย์ฯ (พ.ศ. 2528)
- มายาแฟนตาซี (พ.ศ. 2529)
ค่าย Corron[แก้]
- คนเก่งของฉัน (พ.ศ. 2548)
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต ตำนานเพลง 3 ทศวรรษอโซน่า (15 มิถุนายน พ.ศ. 2551)
- คอนเสิร์ต 40 ปี the legend of the guitar (20-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)
ภาพยนตร์[แก้]
- เพลงรักก้องโลก (พ.ศ. 2526) รับบท วงรอยัลสไปรท์ส
ผลงานอื่น ๆ[แก้]
- SANTANA DISCO (ค่าย บัวหลวง)
- หลานอาโก (ผลงานเพลงแปลง / ค่าย บัวหลวง)
- อาลีบาบา
- รำเต้ย (ค่าย เสียงสยาม)
- ยิ้มแป้น (ออกในเครือของ นิธิทัศน์)
- ผ้าขาวม้า (ออกในเครือของ นิธิทัศน์)
- เพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงรักก้องโลก (ค่าย นิธิทัศน์)
- 25 ปี รอยัลสไปรท์ส ชุดที่ 1 เจงกีสข่าน (นำเพลงเก่าในอดีตมาบันทึกเสียงใหม่)
- 25 ปี รอยัลสไปรท์ส ชุดที่ 2 รักสิบล้อต้องรอสิบโมง (นำเพลงเก่าในอดีตมาบันทึกเสียงใหม่)
- อยู่เพื่อรัก 2530