ซูซูกิ คัลตัส เครสเซนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูซูกิ คัลตัส เครสเซนท์
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตซูซูกิ
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2545
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
แฮทช์แบค 3 ประตู
สเตชันวากอน 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรลล่า
ฮอนด้า ซีวิค
มิตซูบิชิ แลนเซอร์
มาสด้า 323/3
นิสสัน ซันนี่/ทีด้า/ซิลฟี
เชฟโรเลต ครูซ
ฟอร์ด เอสคอร์ท/เลเซอร์/โฟกัส
แดวู นิวบีรา/ลาเซ็ตติ
ฮุนได เอลันตร้า
เกีย ซีเฟีย/เซราโต/ฟอร์เต
เปอโยต์ 301/304/305/306/307/308/309
ซีตรอง C4/DS4
บีเอ็มดับเบิลยู 1 ซีรีส์
โอเปิล แอสตร้า
โปรตอน เพอร์โซนา/เพรเว่
ซูบารุ อิมเพรสซ่า
โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ/เจ็ตตา
อีซูซุ เจมินิ
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี

ซูซูกิ คัลตัส เครสเซนท์ (อังกฤษ: Suzuki Cultus Crescent) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ซูซูกิ เอสทีม (อังกฤษ: Suzuki Esteem) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นแรกของซูซูกิ เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2538 ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และสิ้นสุดการผลิตในปี พ.ศ. 2545 โดยมีซูซูกิ เอริโอเข้ามาทดแทน แต่ในประเทศอินเดียนั้นมีการผลิตจนถึงปี พ.ศ. 2550 และมีการประกอบคัลตัส เครสเซนท์ในประเทศโคลอมเบีย ,อินเดีย ,อินโดนีเซีย ,ญี่ปุ่นและปากีสถาน

มีเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.3 ,1.5 ,1.6 และ 1.8 ลิตรและเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.9 ลิตร มีเกียร์ 2 แบบให้เลือกซื้อคือเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และมีตัวถังแฮทช์แบค 3 ประตู ซีดาน 4 ประตู และสเตชันวากอน 5 ประตู และมีระยะฐานล้อ 2,480 มม. มีความกว้าง 1,695 มม. มีความยาวของตัวรถหากเป็นรุ่นแฮทช์แบค 3 ประตู 3,870 มม. และรุ่นซีดานและสเตชันวากอน 4,375 มม.

คัลตัส เครสเซนท์เวอร์ชันไทยเปิดตัวเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538 ในชื่อเอสทีม มีตัวถังแบบเดียวคือซีดาน 4 ประตู โดยในขณะนั้นมีราคาเทียบเท่าคู่แข่งในยุคนั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากสาเหตุหลายประการ โดยเฉพาะชื่อชั้นของซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทยในยุคนั้นยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะทำให้เอสทีมประสบความสำเร็จ อีกทั้งในสมัยนั้น Suzuki ยังไม่มีโรงงานเป็นของตัวเอง ยังต้องสั่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ราคาก็เลยแพงกว่าชาวบ้าน แล้วต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไป