ชิน แท-ยง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิน แท-ยง
ชินในฐานะผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซียเมื่อปี 2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ชิน แท-ยง
วันเกิด (1970-10-11) 11 ตุลาคม ค.ศ. 1970 (53 ปี)
สถานที่เกิด ย็องด็อก จังหวัดคย็องซังเหนือ เกาหลีใต้
ส่วนสูง 1.74 m (5 ft 9 in)
ตำแหน่ง กองกลางตัวรุก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
อินโดนีเซีย (ผู้จัดการทีม)
สโมสรวิทยาลัย
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1988–1991 มหาวิทยาลัยย็องนัม
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1992–2004 ซ็องนัมอิลฮวาชุนมา 296 (76)
2005 ควีนส์แลนด์รอร์ 1 (0)
รวม 297 (76)
ทีมชาติ
1987 เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 17 ปี 4 (2)
1988 เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 20 ปี 1 (1)
1991–1992 เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 23 ปี 6 (1)
1992–1997 เกาหลีใต้ 23 (3)
จัดการทีม
2005–2008 ควีนส์แลนด์รอร์ (ผู้ช่วย)
2009–2012 ซ็องนัมอิลฮวาชุนมา
2014 เกาหลีใต้ (รักษาการ)
2014–2017 เกาหลีใต้ (ผู้ช่วย)
2015–2016 เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 23 ปี
2016–2017 เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 20 ปี
2017–2018 เกาหลีใต้
2019– อินโดนีเซีย
2019– อินโดนีเซีย อายุไม่เกิน 19 ปี
2019– อินโดนีเซีย อายุไม่เกิน 23 ปี
เกียรติประวัติ
ฟุตบอลชาย
ตัวแทนของ ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (ในฐานะผู้จัดการ)
ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี
รองชนะเลิศ 2016
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก
ชนะเลิศ 2017
ตัวแทนของ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (ในฐานะผู้จัดการ)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
รองชนะเลิศ 2020
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ชิน แท-ยง
ฮันกึล
신태용
ฮันจา
申台龍
อาร์อาร์Sin Tae-yong
เอ็มอาร์Sin T'ae-yong

ชิน แท-ยง (เกาหลี: 신태용, ฮันจา: 申台龍; เกิด 11 ตุลาคม ค.ศ. 1970) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้ ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมของฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย

อาชีพนักฟุตบอล[แก้]

เขาได้รับฉายา "จิ้งจอกสนาม" จากการผ่านและเลี้ยงลูกบอลอย่างฉลาดและมีชั้นเชิง[1] ในฐานะผู้เล่น เขาเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรุกและสามารถเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรับได้

หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยย็องนัม เขาได้ลงเล่นให้แก่อิลฮวาชุนมาทั้งหมด 12 ฤดูกาล เขาได้รับรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของเคลีกในปี 1992 ซึ่งเป็นปีที่เขาเริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพ[1] เขาเป็นผู้เล่นตัวหลักของอิลฮวาชุนมาในชุดชนะเลิศเคลีกสามสมัยติดตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ถึง 1995[1] ซึ่งในปี 1995 นี้เอง เขาได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของเคลีกและมีส่วนช่วยให้ทีมชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียในปลายปีเดียวกัน[1] หลังจากนั้น อิลฮวาชุนมามีช่วงที่ตกต่ำลงไปบ้าง แต่ชินก็สามารถพาทีมกลับมาชนะเลิศลีกได้สามสมัยติดอีกครั้งระหว่าง ค.ศ. 2001 ถึง 2003 และเขาเองก็ได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของเคลีกเป็นครั้งที่สองในปี 2001[1] เขาทำประตูให้แก่สโมสรทั้งสิ้น 99 ประตูและทำ 68 แอสซิสต์จากการลงเล่นในเคลีกและโคเรียนลีกคัพรวม 401 นัด[1] เขาได้รับรับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเคลีกและมีชื่อติดทีมยอดเยี่ยมเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งเคลีกเมื่อปี 2013[2]

ชินย้ายไปควีนส์แลนด์รอร์ในเอลีกเมื่อ ค.ศ. 2005 และประกาศเลิกเล่นฟุตบอลเนื่องจากปัญหาข้อเท้า[1] เขารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการทีมของควีนส์แลนด์รอร์ โดยเขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของ Miron Bleiberg[3]

เขาลงเล่นให้แก่ทีมชาติเกาหลีใต้ 23 นัด โดยได้ลงเล่นในเอเชียนคัพ 1996[4]

เกียรติประวัติ[แก้]

ผู้เล่น[แก้]

มหาวิทยาลัยย็องนัม

  • โคเรียนเพรสซิเดนท์คัพ: 1991

ซ็องนัมอิลฮวาชุนมา

รางวัลส่วนตัว

  • ผู้เล่นดาวรุ่งแห่งปีของเคลีก: 1992[5]
  • ทีมยอดเยี่ยมในเคลีก 1: 1992, 1993, 1994, 1995, 1996, 2000, 2001, 2002, 2003[5][6][7][8][9][10][11][12][13]
  • ผู้เล่นทรงคุณค่าของเคลีก: 1995, 2001[8][11]
  • ผู้ทำประตูสูงสุดในเคลีก: 1996[14]
  • ทีมยอดเยี่ยมเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งเคลีก: 2013[2]

ผู้จัดการทีม[แก้]

ซ็องนัมอิลฮวาชุนมา

เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 23 ปี

เกาหลีใต้

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย U23

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 [K리그 레전드SSUL] '그라운드의 여우' 신태용편 [(K League Legend) 'Fox of the Ground' Shin Tae-yong]. YouTube.com (ภาษาเกาหลี). K League. 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
  2. 2.0 2.1 한국 축구 레전드 베스트11 발표 (ภาษาเกาหลี). YTN. 31 May 2013.
  3. "Korean Announces Retirement". Football Federation Australia. 20 September 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2006.
  4. 신태용 SHIN Taeyong (ภาษาเกาหลี). KFA. สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
  5. 5.0 5.1 洪명보 MVP 프로축구 우수선수 선정. Naver.com (ภาษาเกาหลี). Dong-A Ilbo. 1992-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-01-13.
  6. 李상윤 '93프로축구 MVP (ภาษาเกาหลี). Kyunghyang. 11 November 1993.
  7. 「적토마」고정운 MVP영예 (ภาษาเกาหลี). Kyunghyang. 20 November 1994.
  8. 8.0 8.1 신태용 올 축구 황금발 (ภาษาเกาหลี). The Hankyoreh. 24 November 1995.
  9. 프로축구 MVP 김현석 뽑혀. Naver.com (ภาษาเกาหลี). The Hankyoreh. 30 November 1996.
  10. [프로축구] 최용수, 첫 MVP 등극 (ภาษาเกาหลี). Kukmin Ilbo. 1 December 2000.
  11. 11.0 11.1 프로축구 시상식, 19일 타워호텔서 개최 (ภาษาเกาหลี). Yonhap. 18 December 2001.
  12. 2002년 K-리그 시상식 21일 개최. Naver.com (ภาษาเกาหลี). Yonhap News Agency. 20 December 2002.
  13. MVP 김도훈·신인왕 정조국. Naver.com (ภาษาเกาหลี). YTN. 13 December 2003. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  14. 프로축구 올 정규리그 각종기록 해트트릭 7번"요란한 골잔치". Naver.com (ภาษาเกาหลี). Dong-A Ilbo. 1996-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
  15. "Timnas Indonesia U-23 Dapat Perunggu di SEA Games 2021, PSSI pun Bangga" (ภาษาอินโดนีเซีย). Okezone. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]