ฉบับร่าง:พีชคณิตเชิงเรขาคณิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระวังสับสนกับเรขาคณิตเชิงพีชคณิต

ในทางคณิตศาสตร์ พีชคณิตเชิงเรขาคณิต (อังกฤษ: geometric algebra: GA) (และรู้จักในชื่อพีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ด) เป็นส่วนขยายของพีชคณิตมูลฐานเพื่อใช้กับวัตถุทางเรขาคณิต เช่น เวกเตอร์ พีชคณิตเชิงเรขาคณิตสร้างขึ้นจากการตำเนินการมูลฐานสองตัวคือการบวกและผลคูณเชิงเรขาคณิต การคูณเวกเตอร์ให้ผลลัพธ์ในมิติที่สูงขึ้นเรียกมัลติเวกเตอร์ เมื่อเทียบกับรูปนัยนิยมอื่นที่กระทำกับวัตถุทางเรขาคณิต น่าสังเกตว่าพีชคณิตเชิงเรขาคณิตมีการหารเวกเตอร์ (แต่โดยทั้วไปไม่ทุกสมาชิกที่ทำได้) และการบวกของวัตถุต่างมิติ

แฮร์มัน กรัสมันได้อธีบายผลคูณเชิงเรขาคณิตนี้ไว้สั้น ๆ โดยมากเขาสนใจพัฒนาพีชคณิตภายนอกซึ่งคล้าย ๆ กัน ในปีค.ศ.1878 วิลเลียม คิงดอน คลิฟฟอร์ดได้ขยายผลงานของกรัสมันได้สร้างสิ่งที่ตอนนี้โดยทั่วไปเรียกกันว่าพีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ดเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา (แต่คลิฟฟอร์ดเองเลือกที่จะเรียกว่าพีชคณิตเชิงเรขาคณิต) คลิฟฟอร์ดได้นิยามพีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ดกับผลของมันไว้ว่าเป็นการรวมกันของพีชคณิตแบบกรัสมันและพีชคณิตควอเทอร์เนียน การเพิ่มคู่ของผลคูณภายนอกกรัสมันยอมให้การใช้พีชคณิตแบบกรัสมัน-เคย์ลี และแบบคงรูปของอันหลังรวมกับพีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ดแบบคงรูปผลให้เกิดพีชคณิตเชิงเรขาคณิตแบบคงรูป (อังกฤษ: conformal geometric algebra: CGA) ให้โครงร่างสำหรับเรขาคณิตแบบฉบับ ในทางปฏิบัติ การตำเนินการเหล่านี้และอนุพันธ์ยอมให้เกิดการสมนัยกันของสมาชิก ปริภูมิย่อยและการตำเนินการของพีชคณิตที่มีความหมายทางเรขาคณิต เป็นเวลาหลายทศวรรษที่พีชคณิตเชิงเรขาคณิตค่อนข้างถูกละเลย ถูกบดบังไปมากโดยแคลคูลัสเวกเตอร์แล้วพัฒาขึ้นใหม่เพื่ออธิบายแม่เหล็กไฟฟ้า คำว่า"พีชคณิตเชิงเรขาคณิต"เป็นที่นิยมอีกครั้งในช่วงทศวรรษ1960 โดยเฮสเทเนส ผู้บอกความสำคัญต่อฟิสิกส์สัมพัทธภาพ

สเกลาร์และเวกเตอร์มีความหมายเหมือนปกติ และประกอบเป็นปริภูมิย่อยที่เด่นชัดในพีชคณิตเชิงเรขาคณิต ไบเวกเตอร์เป็นตัวแทนที่ธรรมชาติกว่าของปริมาณเวกเตอร์เทียมของแคลคูลัสเวกเตอร์ โดยปกติจะนิยามโดยใช้ผลคูณเชิงเวกเตอร์ เช่น พื้นที่กำหนดทิศ มุมหมุนกำหนดทิศ ทอร์ค โมเมนตัมเชิงมุม และสนามแม่เหล็ก ไทรเวกเตอร์สามารถแทนปริมาตรกำหนดทิศ และอื่น ๆ สมาชิกตัวหนึ่งเรียกว่าเบลดอาจใช้แทนปริภูมิย่อยของ และภาพฉายเชิงตั้งฉากบนปริภูมิย่อยนั้น การหมุนและการสะท้อนจะแสดงเป็นสมาชิก ต่างจากพีชคณิตเวกเตอร์ พีชคณิตเชิงเรขาคณิตโดยธรรมชาติจะรองรับมิติจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ และรูปกำลังสองใด ๆ เช่นในสัมพัทธภาพ

ตัวอย่างการใช้งานพีชคณิตเชิงเรขาคณิตในฟิสิกส์ได้แก่ พีชคณิตกาลากาศ(และที่ไม่พบบ่อยพีชคณิตของปริภูมิกายภาพ) และพีชคณิตเชิงเรขาคณิตแบบคงรูป แคลคูลัสเชิงเรขาคณิต ส่วนขยายของพีชคณิตเชิงเรขาคณิตที่รวมอนุพันธ์และปริพันธ์ สามารถใช้กำหนดทฤษฎีอื่น ๆ เช่นการวิเคราะห์เชิงซ้อน และเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ต.ย. โดยใช้พีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ดแทนรูปแบบเชิงอนุพันธ์ พีชคณิตเชิงเรขาคณิตได้รับการสนับสนุนจากโดยเฉพาะเดวิด เฮสเทเนสและคริส ดอรัน ให้เป็นกรอบทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการสำหรับฟิสิกส์ ผู้เสนออ้างว่าให้คำอธิบายที่กระทัดรัดและเข้าใจง่ายในหลายสาขารวมทั้งกลศาสตร์แบบฉบับและควอนตัม ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า และสัมพัทธภาพ พีชคณิตเชิงเรขาคณิตยังสามารถใช้เป้นเครื่องมือในการคำนวนในคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ และวิทยาการหุ่นยนต์

นิยามและสัญกรณ์[แก้]

มีหลากหลายวิธีที่นิยามระบบพีชคณิตเชิงเรขาคณิต วิธีดั้งเดิมของเฮสเทเนสเป็นเชิงสัจพจน์ "เต็มไปด้วยความสำคัญทางเรขาคณิต" และสมมูลกับพีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ดสากล

ให้ปริภูมิเวกเตอร์มิติจำกัด บนฟีลด์ ด้วยรูปแบบเชิงเส้นคู่สมมาตร (การคูณภายใน ต.ย. ยูคลิเดียนหรือลอเรนต์เซียนเมตริก) พีชคณิตเชิงเรขาคณิตของปริภูมิกำลังสอง นั้นเป็นพีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ด สมาชิกในนั้นเรียกว่ามัลติเวกเตอร์ พีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ดโดยทั่วไปแล้วจะกำหนดนิยามเป็นพีชคณิตผลหารของพีชคณิตเทนเซอร์ แต่การกำหนดนิยามแบบนี้นามธรรม ดั้งนั้นนิยามดังต่อไปนี้จะเสนอโดยไม่ต้องใช้พีชคณิตนามธรรม

นิยาม — พีชคณิตการเปลี่ยนหมู่เอกลักษณ์ ที่มีรูปแบบเชิงเส้นคู่ปรกคิ เป็นพีชคณิตแบบคลิฟฟอร์ดของปริภูมิกำลังสอง ถ้า

  • มี และ เป็นปริภูมิย่อยแยกกัน
  • สำหรับ
  • ก่อกำเนิด เป็นพีชคณิต
  • ไม่ได้ถูกก่อกำเนิดโดยปริภูมิย่อยแท้ของ

เพื่อปกปิดรูปแบบเชิงเส้นคู่สมมาตรลดรูป เงื่อนไขสุดท้ายต้องได้รับการแก้ไข สามารถแสดงได้ว่าเงื่อนไขหล่าวนี้บอกได้ว่าเป็นผลคูณเชิงเรขาคณิตเพียงอย่างเดียว

สำหรับที่เหลือของบทความนี้ จะพิจรณาแต่กรณีจริงที่ สัญกรณ์ ( ตามลำดับ) จะใช้แสดงระบบพีชคณิตเชิงเรขาคณิตที่มีรูปแบบเชิงเส้นคู่ มีซิกเนเจอร์เป็น ( ตามลำดับ)

ผลคูณในพีชคณิตนี้เรียกว่าผลคูณเชิงเรขาตณิต และผลคูณในพีชคณิตภายนอกที่มีอยู่เรียกว่าผลคูณภายนอก (บ่อยครั้งเรียกว่าผลคูณลิ่ม) โดยมาตรฐานจะแสดงการคูณเหล่านี้โดยการเขียนติดกัน (โดยไม่เขียนสัญกรณ์การคูณ) และสัญกรณ์ ตามลำดับ

นิยามที่ได้กล่าวไปนั้นยังค่อนข้างเป็นนามธรรม ดังนั้นจะสรุปสมบัติของผลคูณเชิงเรขาคณิตที่นี่ สำหรับมัลติเวกเตอร์ :

ผลคูณภายนอกมีสมบัติเหมือนกัน ยกเว้นสมบัติสุดท้ายได้รับการแทนที่โดย สำหรับ

สังเกตว่าในสมบัติสุดท้ายข้างบน จำนวนจริง ไม่จำเป็นต้องไม่เป็นลบ ถ้า ไม่เป็นบวกแน่นอน สมบัติที่สำคัญหนึ่งของผลคูณเชิงเรขาคณิตคือการมีอยู่ของสมาชิกที่มีตัวผกผันการคูณ สำหรับเวกเตอร์ ถ้า แล้ว มีเท่ากับ สมาชิกที่ไม่ใช่ศูนย์ของพีชคณิตนี้ไม่จำเป็นว่าจะมีตัวผกผันการคูณเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้า เป็นเวกเตอร์ใน เมื่อ แล้วสมาชิก จะเป็นทั้งสมาชิกนิจพลไม่ชัดและตัวหารของศูนย์ ดังนั้นจึงไม่มีตัวผกผัน

โดยปกติจะระบุ และ กับเรนจ์ภายใต้การซ้อนธรรมชาติ และ ในบทความนี้ การระบุนี้จะได้รับการสมมติ โดยตลอด คำว่าสเกลาร์และเวกเตอร์จะอ้างถึงสมาชิกของ และ ตามลำดับ (และเรนจ์ภายใต้การซ้อนนี้)

ผลคูณเชิงเรขาคณิต[แก้]

ให้เวกเตอร์สองตัว และ ถ้าผลคูณเชิงเรขาคณิต ต่อต้านการสลับที่ จะตั้งฉาก (บน) เพราะ ถ้าสลับที่ได้ จะขนาน (ล่าง) เพราะ .

สำหรับเวกเตอร์ และ เราสามารถเขียนผลคูณเชิงเรขาคณิตของสองเวกเดอร์ใด ๆ และ เป็นผลบวกของผลคูณสมมาตรและผลคูณอสมมาตร

จึงกำหนดนิยามของการคูณภายในเป็น

ทำให้ผลคูณสมมาตรสามาตรเขียนได้เป็น

ในทางกลับกัน ได้รับการกำหนดอย่างสมบูรณ์โดยพีชคณิตนี้ ผลคูณอสมมาตรคือผลคูนภายนอกของสองเวกเตอร์ ผลคูณของพีชคณิตภายนอกที่อยู่ภายใน

ทิศทางได้รับการกำหนดนิยามโดยเซตอันดับของเวกเตอร์
ทิศทางตรงกันข้ามสมนัยกันกับการนิเสธผลคูณภายนอก
ความหมายทางเรขาคณิตของสมาชิกเกรด- ในพีชคณิตภายนอกจริงสำหรับ (จุดมีเครื่องหมาย), (ส่วนของเส้นตรงระบุทิศทาง หรือเวกเตอร์), (สมาชิกระนาบระบุทิศทาง) (ปริมาตรระบุทิศทาง) ผลคูณภายนอกของ สามารถนึกภาพเวกเตอร์เป็นรูปทรง -มิติใด ๆ ก็ได้่ เช่น -ทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน, -ทรงรี) ที่มีขนาด (ปริมาตรเกิน) และทิศทางกำหนดนิยามโดยที่บนขอบของ -มิติและบนข้างที่ภายในอยู่

แล้วโดยการบวกตรง ๆ

คือรูปไม่ทั่วไปหรือรูปเวกเตอร์ของผลคูณเชิงเรขาคณิต

ผลคูณภายในและภายนอกมีความสัมพันธ์กับแนวคิดในพีชคณิตเวกเตอร์ ในทางเรขขาคณิต และ จะขนานก็ต่อเมื่อผลคูณเชิงเรขาคณิตเท่ากับผลคูณภายใน ในทางกลับกัน และ จะตั้งฉากก็ต่อเมื่อผลคูณเชิงเรขาคณิตเท่ากับผลคูณภายนอก ในระบบพีชคณิตเชิงเรขาคณิตซึ่งกำลังสองของเวกเตอร์ที่ไม่ใช่ศูนย์เป็นบวก ผลคูณภายในของเวกเตอร์ทั้งสองสามารถระบุได้ว่าคือผลคูณจุดในพีชคณิตเวกเตอร์ ผลคูณภายนอกสามารถระบุได้ว่าคือพื้นที่มีเครื่องหมายที่โดนล้อมโดยสี่เหลี่ยมด้านขนานโดยมีด้านเป็นเวกเตอร์ ผลคูณไขว้ของสองเวกเตอร์ใน มิติที่มีรูปแบบกำลังสองเป็นบวกแน่นอนดกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับผลคูณภายนอก

ระบบพีชคณิตเชิงเรขาคณิตที่สนใจส่วนใหญ่มีรูปแบบกำลังสองไม่ลดรูป ถ้ารูปแบบกำลังสองลดรูปโดยสมบูรณ์แล้ว ผลคูณภายในระหว่างสองเวกเตอร์ใด ๆ จะมีค่าเป็นศูนย์ และระบบพีชคณิตเชิงเรขาคณิตนั้นจะเป็นเพียงแค่ระบบระบบพีชคณิตภายนอก บทความนี้จะพูดถีงระบบพีชคณิตเชิงเรขาคณิตที่ไม่ลดรูป เว้นแต่จะระบุไว้

ผลคูณภายนอกโดยธรรมชาติจะขยายเป็นตัวดำเนินการทวิภาคเชิงเส้นคู่เปลี่ยนหมู่ได้ของสองสมาชิกในระบบพีชคณิต สอดคล้องกับเอกลักษณ์

เมื่อผลบวกรวมทุกการสับเปลี่ยนของเลขดัชนี ที่มี เป็นเครื่องหมายของการสับเปลี่ยน และ เป็นเวกเตอร์ (ไม่ใช้สมาชิกทั่วไปของระบบพีชคณิต) เนื่องจากทุกสามชิกของระบบพีชคณิตสามารถเขียนในรูปของผลบวกของผลคูณในรูปนี้ สามารถนิยามผลคูณภายนอกสำหรับทุกคู่ของสมาชิกระบบพีชคณิต สิ่งที่ตามมาคือผลคูณภายนอกก่อระบบพีชคณิตสลับ

เบลด เกรด และฐานหลัก[แก้]

มัลติเวกเตอร์ที่เป็นผลคูณภายนอกของ เวกเตอร์ที่อิสระเชิงเส้นเรียกว่าเบลด และมีเกรด มัลติเวกเตอร์ที่เป็นผลบวกของเบลดเกรด เรียกว่ามัลติเวกเตอร์(เอกพันธุ์)เกรด จากสัจพจน์สมบัติการปิด ทุกมัลติเวกเตอร์ที่เป็นผลบวกของเบลด

การจำลองทางเรขาคณิต[แก้]

ความหมายทางเรขาคณิตในแบบจำลองปริภูมิเวกเตอร์[แก้]

การฉาย และรีเจกชัน[แก้]

สำหรับเวกเตอร์ ใด ๆ และเวกเตอร์ ใด ๆ ที่หาตัวผกผันได้

ในปริภูมิ 3 มิติ ไบเวกเตอร์ นิยามปริภูมิย่อยระนาบ 2 มิติ (สีน้ำเงินอ่อน ขยายไปอย่างไม่สิ้นสุดในทิศทางที่บ่งชี้). เวกเตอร์ ใด ๆ ในปริภูมิ 3 มิติสามารถแตกเป็นภาพฉาย บนระนาบและรีเจกชัน จากระนาบนี้

เมื่อภาพฉายของ บน (หรือส่วนขนาน) คือ

และฺรีเจกชันของ จาก (หรือส่วนที่ตั้งฉาก) คือ

ใช้แนวคิดว่า -เบลด เป็นตัวแทนปริภูมิย่อยของ และทุกมัลติเวกเตอร์มารถเขียนในรูปของพจ์ของเวกเตอร์ สามารวางนัยการฉายของมัลติเวกเตอร์ทั่วไปบน -เบลด ที่หาตัวผกผันได้ ให้อยู่ในรูปทั่วไปได้เป็น

และรีเจกชันสามารถนิยามได้เป็น

การฉายและรีเจกชันสามารถวางนัยทั่วไปได้กับเบลดศูนย์ โดยการเปลี่ยนตัวผกผัน ด้วยตัวผกผันเทียม เทียบกับผลคูณย่อ ผลลัพท์ของการฉายทับกันสนิททั้งสองกรณีสำหรับเบลดไม่เป็นศูนย์ สำหรับเบลดศูนย์ นิยามของการฉายที่ได้ให้มานี้ด้วยผลคูณย่อตัวแรกแทนที่จะเป็นตัวที่สองที่ซึ่งควรใช้ตัวผกผันเทียม เพราะเมื่อนั้นผลลัพท์จะจำเป็นต้องอยู่ในปริภูมิย่อยที่มี เป็นตัวแทน

การฉายวางนัยทั่วไปผ่านสภาพเชิงเส้นไปยังมัลติเวกเตอร์ทั่วไป การฉายจะไม่เป็นเชิงเส้นที่ และไม่สามารถวางนัยทั่วไปกับวัตถุ ที่ไม่ใช่เบลดได้

การสะท้อน[แก้]

การสะท้อนอย่างง่ายในระนาบเกินเขียนได้ง่ายในพีชคณิตนี้ผ่านการคอนจูเกตด้วยเวกเตอร์ สามารถก่อกำเนิดกรุปของการหมุนและการหมุนไม่ตรงแบบทั่วไป

การสะท้อนของเวกเตอร์ ตามเวกเตอร์ มีแค่เวกเตอร์ประกอบของ ที่ขนานกับ จะติดลบ

ภาพสะท้อน ของเวกเตอร์ ตามเวกเตอร์ หรือโดยสมมูล ในระนาบเกินตั้งฉากกับ ผลลัพธ์ของการสะท้อนจะเป็น

การหมุน[แก้]

โรเตอร์ที่หมุนเวกเตอร์ในระนาบหมุนเวกเตอร์ผ่านมุม นั่นคือ เป็นการหมุนของ ผ่านมุม มุมระหว่าง และ คือ การตีความที่คล้ายกันก็สมเหตุสมผลกันกับมัลติเวกเตอร์ ทั่วไป แทนเวกเตอร์

ถ้ามีผลคูณเวกเตอร์ แล้วจะเขียนการผันกลับได้เป็น

ให้เป็นตัวอย่าง สมมติว่า เราจะได้

ปรับขนาด เพื่อที่ แล้ว

ดังนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงขนาดของ ยังสามารถแสดงได้ว่า

ดังนั้นการแปลง ทำให้ทั้งขนาดและมุม(ระหว่างเวกเตอร์)คงสภาพ จึงสามารถระบุได้ว่าเป็นการหมุนหรืแการหมุนไม่ตรงแบบ เรียก ว่าโรเตอร์ ถ้าเป็นการหมุนแท้ (ตามที่เป็นอยู่ถ้าสามารถเขียนได้อยู่ในรูปผลคูณของเวกเตอร์คู่ตัว) และเป็นตัวอย่างของสิ่งใน GA ที่เรียกว่าเวอร์เซอร์

มีวิธีทั่วไปในการหมุนเวกเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับมัลติเวกเตอร์ในรูป ที่ก่อให้เกิดการหมุน ในระนาบและทิศทา่งกำหนดโดย-เบลด

โรเตอร์เป็นรูปทั่วไปของควอเทอร์เนีนรบนปริภูมิ-มิติ

ตัวอย่างและการประยุกต์ใช้[แก้]

ปริมาตรเกินของทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานโดยเวกเตอร์[แก้]

สำหรับเวกเตอร์ และ ที่แผ่เป็นสี่เหลี่ยมด้านขนานจะได้

แคลคูลัสเชิงเรขาคณิต[แก้]

บทความหลัก แคลคูลัสเชิงเรขาคณิตพีชคณิตของปริภูมิกายภาพ

แคลคูลัสเชิงเรขาคณิตขยายรูปนัยนิยมเพื่อรวมการอนุพันธ์และการปริพันธ์รวมถึงเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์และรูปแบบเชิงอนุพันธ์

โดยพื้นฐาน อนุพันธ์เวกเตอร์ได้นิยามเพื่อให้ทฤษฎีบทของกรีนในพีชคณิตเชิงเรขาคณิตเป็นจริง

จึงสามารถกล่าวได้ว่า

เป็นผลคูณเชิงเรขาคณิต วางนัยทั่วไปได้กับทฤษฎีบทของสโตรกส์อย่างมีผล (รวมทั้งในรูปแบบเชิงอนุพันธ์ด้วย)

ใน 1 มิติ เมื่อ เป็นเส้นโค้งที่มีจุดปลายเป็น และ แล้ว

จะย่อลงเป็น

หรือทฤษฎีมูลฐานของแตลคูลัสเชิงปริพันธ์

และที่ได้รับพัฒนาคือแนวคิดของแมนิโฟลด์เวกเตอร์และทฤษฎีการปริพันธ์เชิงเรขาคณิต(ที่วางนัยทั่วไปกับรูปแบบเชิงอนุพันธ์)

ประวัติ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งอ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม[แก้]

Arranged chronologically

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]