ข้ามไปเนื้อหา

จันทรยาน-1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จันทรยาน-1
ประเภทภารกิจLunar orbiter
ผู้ดำเนินการIndian Space Research Organisation
COSPAR ID2008-052A
SATCAT no.33405
เว็บไซต์www.isro.gov.in/Spacecraft/chandrayaan-1
ระยะภารกิจแผน: 2 ปี
Final: 10 เดือน 6 วัน
ข้อมูลยานอวกาศ
มวลขณะส่งยาน1,380 kg (3,040 lb)
มวลแห้ง560 kg (1,230 lb)[1]
มวลบรรทุก105 kg (231 lb)[1]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น22 October 2008, 00:52 (2008-10-22UTC00:52) UTC
จรวดนำส่งPSLV-XL C11[2]
ฐานส่งSatish Dhawan Second Pad
ผู้ดำเนินงานISRO
สิ้นสุดภารกิจ
ติดต่อครั้งสุดท้ายแม่แบบ:End-date UTC
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงSelenocentric
กึ่งแกนเอก1,758 กิโลเมตร (1,092 ไมล์)*
ความเยื้อง0.0
ระยะใกล้สุด200 km (120 mi)
ระยะไกลสุด200 km (120 mi)
วันที่ใช้อ้างอิง19 พฤษภาคม ค.ศ.2009
ยานอวกาศโคจรรอบ ดวงจันทร์
แทรกวงโคจร8 พฤศจิกายน ค.ศ.2008
วงโคจร3,400 at EOM[3]
 

จันทรยาน-1 (ฮินดี: चंद्रयान-1; เตลูกู: చంద్రయాన్-1) เป็นยานอวกาศสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ของอินเดีย ออกแบบและสร้างโดยองค์การวิจัยด้านอวกาศแห่งอินเดีย (Indian Space Research Organisation - ISRO) ส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลา 06.22 น. ตามเวลาในท้องถิ่น หรือ 00:52 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด[4] จากศูนย์อวกาศสาทิศธาวัน รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย

จันทรยาน-1 เข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[5] ส่วนตัวยานลูก Moon Impact Probe ที่จันทรยาน-1 นำขึ้นไปด้วย ได้ลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน

จันทรยาน-1 เป็นยานสำรวจรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ น้ำหนัก 1.3 ตัน มีภารกิจโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อทำแผนที่พื้นผิวดวงจันทร์แบบ 3 มิติ และแผนที่ส่วนประกอบและแร่ธาตุ โดยเฉพาะการสำรวจเพื่อค้นหาฮีเลียม 3 และน้ำแข็ง โดยจะส่งยานลูก (Moon Impact probe - MIP) น้ำหนัก 30 กิโลกรัม กระทบพื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อวิเคราะห์อนุภาคฝุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Datta, Jayati; Chakravarty, S. C. "Chandrayaan-1 India's First Mission to Moon" (PDF). VSSC.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 August 2019. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ISRO-Mission
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mission_end_1
  4. "PSLV-C11 Successfully Launches Chandrayaan-1". Indian Express. 2008-10-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-25. สืบค้นเมื่อ 2008-10-22. (อังกฤษ)
  5. "Chandrayaan-1 Successfully Enters Lunar Orbit". ISRO. สืบค้นเมื่อ 2008-11-08. (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]