ข้ามไปเนื้อหา

โครงการอาร์ทิมิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โครงการอาร์ทีมิส)

โครงการอาร์ทิมิส (อังกฤษ: Artemis program) เป็นโครงการการบินอวกาศของมนุษย์ระดับนานาชาติที่นำโดยสหรัฐ มีเป้าหมายหลักคือการส่งมนุษย์กลับคืนสู่ดวงจันทร์ (โดยเฉพาะขั้วใต้ของดวงจันทร์) ภายใน พ.ศ. 2567[1][2] หากสำเร็จ จะเป็นภารกิจลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกนับตั้งแต่อะพอลโล 17 ใน พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นเที่ยวบินไปดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายของโครงการอะพอลโล

โครงการอาร์ทิมิสเริ่มต้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรและความพยายามอย่างต่อเนื่องในการฟื้นฟูโครงการอวกาศของสหรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป้าหมายระยะสั้นที่ระบุไว้คือการพาผู้หญิงคนแรกลงเหยียบบนพื้นดวงจันทร์ วัตถุประสงค์ระยะกลางเป็นการจัดตั้งทีมสำรวจระหว่างประเทศและการตั้งฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืนบนดวงจันทร์ วัตถุประสงค์ระยะยาวคือการวางรากฐานสำหรับบริษัทเอกชนในการสร้างเศรษฐกิจดวงจันทร์ และสุดท้ายการทำภารกิจโดยลูกเรือเพื่อไปยังดาวอังคารและไกลกว่านั้น[3]

โครงการอาร์ทิมิสดำเนินการโดยนาซาและผู้รับเหมาการบินอวกาศเชิงพาณิชย์ของสหรัฐ โดยร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรปและหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศอื่นๆ[a] ประเทศอื่น ๆ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการผ่านการลงนามในข้อตกลงอาร์ทิมิส ซึ่งเปิดให้ลงนามตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "NASA: Moon to Mars". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2019. สืบค้นเมื่อ 19 May 2019.
  2. Berger, Eric (20 May 2020). "NASA's full Artemis plan revealed: 37 launches and a lunar outpost". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
  3. "NASA: Artemis Accords". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
  4. "NASA signs agreement with Italy to cooperate on Artemis". SpaceNews. 25 September 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.[ลิงก์เสีย]
  5. Potter, Sean (13 October 2020). "NASA, International Partners Advance Cooperation with Artemis Accords". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  6. "NASA Gains Broad International Support for Artemis Program at IAC". nasa.gov. NASA. 8 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
  7. "Brazil Signs Artemis Accords". NASA.gov. 15 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2021. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021.
  8. Potter, Sean (27 May 2021). "Republic of Korea Joins List of Nations to Sign Artemis Accords". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2021. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
  9. "NASA.gov". 31 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]