จอร์ดาโน บรูโน
จอร์ดาโน บรูโน | |
---|---|
ภาพจากภาพพิมพ์ไม้ของ "Livre du recteur" ค.ศ.1578 | |
เกิด | Filippo Bruno ค.ศ.1548 โนลา, ราชอาณาจักรเนเปิลส์ |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ 1600 (อายุ 51–52) โรม, รัฐสันตะปาปา |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการเผาทั้งเป็น |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
มีอิทธิพลต่อ | กาลิเลโอ กาลิเลอี, เจมส์ จอยซ์, ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบ์นิทซ์, มอลีแยร์,[1] อาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์, บารุค สปิโนซา |
ได้รับอิทธิพลจาก | อิบน์ รุชด์,[2] นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส, นิโคลัสแห่งคูซา |
จอร์ดาโน บรูโน[3] (อิตาลี: Giordano Bruno; ค.ศ. 1548 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1600) เป็นไฟรเออร์, นักคณิตศาสตร์ และนักปรัชญาชาวอิตาลี ผลงานที่เป็นที่รู้จักดี คือ แนวคิดที่ว่า "จักรวาลนั้นไม่มีที่สิ้นสุด" และ "อาจจะมีดาวเคราะห์แบบโลกอีกหลายดวงในจักรวาล และแต่ละดวงอาจจะมีสิ่งมีชีวิตเช่นมนุษย์"
ประวัติ
[แก้]จอร์ดาโน บรูโนมีชื่อเกิดว่า ฟีลิปโป บรูโน เกิดที่เมืองโนลา ราชอาณาจักรเนเปิลส์ เขาถูกส่งไปเรียนที่เนเปิลส์ ที่นั่นเขาได้เข้าสู่คณะดอมินิกันและเปลี่ยนมาใช้ชื่อ จอร์ดาโน ตามชื่อของอาจารย์ เมื่อถึงปี ค.ศ 1572 จอร์ดาโนก็บวชเป็นบาทหลวง
ในตอนนั้น จอร์ดาโนเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนที่มีความจำเป็นเลิศและชอบการคิดนอกกรอบ แต่นั่นก็ทำให้เขาต้องเดินทางไปทั่ว เพราะความคิดของเขามักขัดแย้งกับผู้ที่มีความเชื่อแบบเก่า จอร์ดาโนออกเดินทางไปหลายเมืองที่สำคัญ เช่น เวนิส, ปาโดวา, เจนีวา, ปารีส และเดินทางไปอังกฤษ ในฐานะแขกของทูตฝรั่งเศส
ต่อมาในปี ค.ศ. 1585 จอร์ดาโนก็เดินทางกลับปารีส และเดินทางต่อไปยังเยอรมนีและสาธารณรัฐเช็ก แต่เขากลับถูกขับออกจากศาสนา จนต้องเดินทางอีกครั้ง เขาจึงกลับไปปาโดวา เพื่อตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปาโดวา (1 ปี หลังจากนั้น ตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของกาลิเลโอ กาลิเลอี) ต่อมาเขาย้ายมาอยู่เวนิส และถูกจับตัวที่นั่นในปี ค.ศ. 1592
จอร์ดาโนถูกส่งไปขึ้นไต่สวนที่กรุงโรมนานกว่า 7 ปี จนในที่สุด เขาก็ถูกตัดสินว่าเป็นบุคคลนอกรีต ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1600 จอร์ดาโน บรูโน ก็ถูกมัดกับเสาและเผาทั้งเป็น เถ้ากระดูกของเขาถูกนำไปทิ้งที่แม่น้ำไทเบอร์[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bouvet, Molière; avec une notice sur le théâtre au XVIIe siècle, une biographie chronologique de Molière, une étude générale de son oeuvre, une analyse méthodique du "Malade", des notes, des questions par Alphonse (1973). Le malade imaginaire; L'amour médecin. Paris: Bordas. p. 23. ISBN 978-2-04-006776-2.
- ↑ Leo Catana (2005). The Concept of Contraction in Giordano Bruno's Philosophy. Ashgate Pub. ISBN 978-0754652618.
When Bruno states in De la causa that matter provides the extension of particulars, he follows Averroes.
- ↑ How to pronounce Giordano Bruno (Italian/Italy) - PronounceNames.com
- ↑ คนพลิกโลก / จิออร์ดาโน บรูโน ผู้เสนอทฤษฎีจักรวาลไม่มีที่สิ้นสุด
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จอร์ดาโน บรูโน