อิบน์ รุชด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเวโรส
อิบน์ รุชด์
ابن رشد
อนุเสาวรีย์ของอิบน์ รุชด์ ที่กอร์โดบา, ประเทศสเปน
เกิดค.ศ.1126
กอร์โดบา, อัลอันดะลุส, ราชวงศ์อัลโมราวิด (ปัจจุบันคือประเทศสเปน)
เสียชีวิต11 ธันวาคม ค.ศ.1198 (72 ปี)
มาราเกช, มัฆริบ, รัฐเคาะลีฟะฮ์อัลโมฮาด (ประเทศโมร็อกโก)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
มีอิทธิพลต่อไมโมนิเดส, ซามูเอล อิบน์ ทิบบอน, ซิเกอร์แห่งบราบันต์, โบเทอุสแห่งดาเซีย, ทอมัส อไควนัส, จอห์นแห่งจันดุน, มาร์ซิลิอุสแห่งปาดูอา, แกตาโน ดา ธีน, ปิเอโทร ปอมโปนาซซี, อะโกสติโน นิโฟ, มาร์คานโตนีโอ ซิมารา. ดูเพิ่มที่ลัทธิอะเวโรส.
ได้รับอิทธิพลจากอริสโตเติล, เพลโต, อัล-ฟาราบี, อิบน์ ซีนา, อัลเฆาะซาลี, อิบน์ บัจญา

อบูวาลีด มุฮัมมัด บิน อะฮ์มัด อิบน์ รุชด์ หรือ อิบนุ รุชด์ (อาหรับ: أبو الوليد محمد بن احمد بن رشد‎ หรือ ابن رشد‎, อังกฤษ: Averroes; 14 เมษายน ค.ศ. 1126 — 10 ธันวาคม ค.ศ. 1198) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาแวร์รูอิส (Averroes) เป็นแพทย์และนักปรัชญาชาวอาหรับ[1]

อาแวร์รูอิสเกิดที่คอร์โดบาในปี ค.ศ. 1126 ในครอบครัวผู้พิพากษาที่โดดเด่น ปู่ของท่านเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาของเมือง ในปี ค.ศ. 1169 เขาได้รับการแนะนำให้รู้จักกับกาหลีบ (ผู้นำศาสนาอิสลาม) Abu Yaqub Yusuf ผู้ซึ่งประทับใจในความรู้ของเขา จนกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ของเขาและอุปถัมภ์งานของ อาแวร์รูอิสจำนวนมาก ต่อมาอาแวร์รูอิสทำหน้าที่ในฐานะผู้พิพากษาในเซบิยาและคอร์โดบาอยู่หลายวาระ ในปี ค.ศ. 1182 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นแพทย์ศาลและหัวหน้าผู้พิพากษาของคอร์โดบา หลังจากอาบูยูซุฟเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1184 เขายังคงอยู่ในความโปรดปรานของกาหลีบพระองค์ใหม่จนได้รับความอัปยศในปี ค.ศ. 1195 เขาถูกตั้งข้อหาในข้อหาต่าง ๆ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะเหตุผลทางการเมือง และถูกเนรเทศไปยังลูเซน่า เขากลับมาเป็นที่โปรดปรานของกาหลีบก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1198

อาแวร์รูอิสเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของลัทธิอริสโตเติล (Aristotelianism) เขาพยายามที่จะกู้คืนสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นคำสอนดั้งเดิมของอริสโตเติลและต่อต้านแนวโน้มของกระแสความคิดพลาโตนิคใหม่ (Neoplatonist) ของนักคิดมุสลิมก่อนหน้านี้ เช่น Al-Farabi และ Avicenna นอกจากนี้เขายังปกป้องการศึกษาปรัชญา จากการวิพากษ์วิจารณ์โดยนักเทววิทยาสายอาเชอรี (al-ʾAšʿarīyya) เช่น Al-Ghazali โดย อาแวร์รูอิส แย้งว่าการศึกษาปรัชญานั้นได้รับอนุญาตในศาสนาอิสลามและแม้แต่เป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในระดับผู้นำชนชั้นสูง (elite) นอกจากนี้เขายังไม่เห็นด้วยกับการตีความข้อความในพระคัมภีร์อย่างเถรตรง โดนเห็นว่าตัวบทในคัมภีร์อัลกรุอ่านควรจะได้รับการตีความเป็นเพียงในเชิงสาธก หรือในเชิงอุปมา (allegorical) หากข้อความนั้นดูเหมือนจะขัดแย้งกับข้อสรุปที่เกิดขึ้นจากเหตุผลและปรัชญา มรดกทางปัญญาของเขาในโลกอิสลามนั้นมีอย่างจำกัดด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์และความสนใจที่แตกต่างกันของโลกมุสลิม

ในโลกตะวันตก อาแวร์รูอิส เป็นที่รู้จักผ่านงานเขียนอธิบายและแสดงข้อคิดเห็น (commentary) เกี่ยวกับคำสอนของอริสโตเติล ซึ่งงานของอาแวร์รูอิสได้รับการแปลเผยแพร่เป็นภาษาละตินและภาษาฮิบรู การแปลเผยแพร่งานของเขากระตุ้นความสนใจของชาวยุโรปตะวันตกในอริสโตเติลและนักคิดชาวกรีกซึ่งเป็นพื้นที่การศึกษาที่ถูกทิ้งร้างเกือบจะสิ้นเชิงหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน. ความคิดของเขาสร้างข้อโต้แย้งในคริสต์จักรละตินและเป็นการเหนี่ยวไกให้เกิดการเคลื่อนไหวทางปรัชญาที่เรียกว่า Averroism ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนงานเขียนของเขา. ทฤษฎีว่าด้วยความเป็นเอกภาพของปัญญา (unity of the intellect) ของอาแวร์รูอิส เสนอว่ามนุษย์ทุกคนมีสติปัญญาเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักคำสอนของอาแวร์รูอิสที่รู้จักกันดีและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในตะวันตก ผลงานของเขาถูกประณามจากโบสถ์คาทอลิกในปี 1270 และ 1277. แต่แม้ว่าจะถูกบั่นทอนจากการประณามและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะจากโธมัส อควีนาส) แต่ปรัชญาสาย Averroism ก็ยังคงดึงดูดผู้ติดตามต่อไปจนถึงศตวรรษที่สิบหก

อ้างอิง[แก้]

สารานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Baffioni, Carmela (2004), Averroes and the Aristotelian Heritage, Guida Editori, ISBN 978-88-7188-862-0
  • Campanini, Massimo (2007), Averroè, Bologna: Il Mulino
  • Kogan, Barry S. (1985), Averroes and the Metaphysics of Causation, SUNY Press, ISBN 978-0-88706-063-2
  • Kupka, Thomas (2011), "Averroes als Rechtsgelehrter" [Averroes as a Legal Scholar], Rechtsgeschichte (18): 214–216, SSRN 2346808
  • Leaman, Olivier (1998), Averroes and his philosophy, Routledge, ISBN 978-0-7007-0675-4
  • Sorabji, Richard (1988), Matter, Space and Motion, Duckworth
  • Schmidt-Biggemann, Wilhelm (2010), "Sketch of a Cosmic Theory of the Soul from Aristotle to Averroes", ใน Siegfried Zielinski and Eckhard Fürlus in cooperation with Daniel Irrgang and Franziska Latell (บ.ก.), Variantology 4. On Deep Time Relations of Arts, Sciences and Technologies In the Arabic-Islamic World and Beyond, Cologne: Verlag der Buchhandlung Walther König, pp. 19–42, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

งานของอิบน์ รุชด์[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับอิบน์ รุชด์[แก้]