คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวิกิสถานศึกษา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงการวิกิสถานศึกษา
หน้าโครงการอภิปรายโครงการแม่แบบสถานศึกษาสภาสถานศึกษาสถานีย่อยสถาบันอุดมศึกษาไทย

เก็บกวาดบทความสถานศึกษา[แก้]

ผมไปดูบทความสถานศึกษาในประเทศไทยหลายๆ บทความ แล้วพบว่า หลายบทความ (โดยเฉพาะบทความ มหาวิทยาลัยศรีปทุม‎) คล้ายๆ จะก็อปจากเว็บอื่นแล้วมาแปะ ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โรงเรียน/มหาวิทยาลัยได้ (รวมถึงบทความที่สร้างใหม่ด้วย) แล้วยังมีอีกบางบทความที่มีการโฆษณาแฝงด้วยครับ (เช่น ใส่ที่อยู่ของสถานศึกษา) ใครที่มีความคิดเห็นเพิ่มเติม ช่วยกันออกความคิดเห็นในส่วนนี้ด้วยครับ --Mopza พูดคุย-ฝากคำถาม 23:03, 14 มกราคม 2552 (ICT)

ขอย้ายมาลงหน้าโครงการละกันครับ จะได้รวมไว้ที่เดียว อย่างไรอาจติดป้าย {{เก็บกวาดโรงเรียน}} ไว้เลยก็ได้นะครับ จะได้แยกส่วนเก็บกวาดจากหน้าอื่น --Manop | พูดคุย 00:31, 15 มกราคม 2552 (ICT)

เนื้อหานโยบายลิขสิทธิ์[แก้]

ส่วนหัวข้อที่ 2 ที่ระบุว่า

"ถ้าคุณเป็นเจ้าของเนื้อหา (เจ้าของโรงเรียนและผู้ทำเว็บไซต์) หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ซึ่งต้องการนำข้อมูลของคุณมาใช้ในวิกิพีเดีย ให้เขียนระบุไว้ในหน้าพูดคุย (โดยกด "อภิปราย" ด้านบนของบทความ) และระบุว่า บทความนี้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้แน่ใจว่าคุณต้องการจะนำข้อมูลเผยแพร่แบบเสรีตามลิขสิทธิ์ GFDL ซึ่งมีผลต่อการให้ผู้อื่นใช้อนุญาตได้เสรีโดยไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด"

ส่วนนี้ผมอยากให้ยกเลิกส่วนนโยบายนี้ออก เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันว่าสามารถนำเนื้อหาจากเว็บไซต์สถานศึกษามาลงได้ รวมถึงผู้ใช้ต่างๆที่ไม่ทราบนโยบายนี้ก็แจ้งลบกันออก ผู้เขียนก็ไม่เข้าใจอยู่อีก ผมอยากให้โครงการนี้เน้นไปที่ส่วนของเขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และรู้จักการอ้างอิงแหล่งที่มามากกว่าครับ รบกวนขอความคิดเห็นด้วยครับ --N.M. | พูดคุย 13:02, 24 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

เห็นด้วย เนื่องจากเคยถูกแจ้งในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์มาหลายครั้งแล้วครับ อาจจะเรียบเรียงขึ้นมาใหม่โดยเป็นภาษาของตัวเองอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีก็ได้ครับ--Wittaya Kitka | พูดคุย 18:28, 24 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยนักกับการที่โรงเรียนจะต้องเปลี่ยนลิขสิทธิ์ให้ Comply กับวิกิพีเดีย เพราะโดยปกติเว็บส่วนมากก็จะ All Rights Reserved อยู่แล้ว (ยกเว้นบางเว็บที่ไม่สงวน แต่ก็มีน้อยมาก แถมยังมีข้อจำกัดว่า Educational purpose only ซึ่งก็คือประเด็นอื่นยังสงวนอยู่) จึงอยากให้ผู้ใช้ที่จะเขียนข้อมูลโรงเรียนฝึกเขียนโดยปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับนโยบายที่มีอยู่แล้วครับ --∫G′(∞)dx 18:38, 24 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
งานเขียนทุกชนิดกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วแม้ไม่ระะบุว่าสงวนลิขสิทธิ์ --Sasakubo 18:45, 24 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
ใช่ครับ เพราะเหตุนี้แม้เราจะไม่พบสัญลักษณ์ © แต่เราก็บอกได้ว่ามันละเมิดอยู่ดี --∫G′(∞)dx 18:49, 24 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

ขอบคุณครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนานโยบายของโครงการวิกิสถานศึกษาครับ --N.M. | พูดคุย 09:22, 25 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

สถานศึกษาที่ไม่เป็นทีรู้จัก[แก้]

ย้ายไปที่ สภาสถานศึกษา

กิจกรรมภายในโรงเรียน[แก้]

สวัสดีครับ คือว่าเรื่องกิจกรรมภายในของสถานศึกษาสามารถใส่ได้ครับ (แต่มีความเด่นเฉพาะตัว) ลองดูบทความจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย#ชีวิตในมหาวิทยาลัย,โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา#ชีวิตในโรงเรียน หรือบทความของวิกิพีเดียอังกฤษ เช่น Amador Valley High Schoolนะครับ ขอบคุณครับ --N.M. | พูดคุย 18:44, 8 มกราคม 2555 (ICT)

ที่ว่ามาไม่ได้ขัดข้องครับ แล้วของโรงเรียนสายปัญญารังสิต มีความพิเศษหรือโดดเด่นอย่างไร มีความสำคัญควรค่าแก่การอยู่บนวิกิพีเดียหรือไม่ เพราะกิจจกรรมเหล่านั้นโรงเรียนไหนๆก็มีครับ ผมมองว่าไม่เป็นแก่นสาร --Sasakubo1717 18:51, 8 มกราคม 2555 (ICT)

ไม่ค่อยมีความโดดเด่น แต่เป็นเนื้อหาเพิ่มเติม หากไม่เข้าใจขอให้อ่าน วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสถานศึกษา ก่อน บอกว่าเป็นเนื้อหาเพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องมี --'1111' | '2222' | '3333' 18:54, 8 มกราคม 2555 (ICT)
  • ปฐมนิเทศ เกี่ยวกับการรับนักเรียนใหม่ ความเป็นมาของกิจกรรม ผู้ใดเป็นคนจัด นักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่ได้รับอะไรครับ (แตกต่างกันออกไปแต่ละโรงเรียน)
  • ชุมนุม เกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจกรรมชุมนุม ลักษณะของชุมนุม (เด่นเฉพาะตัว)
  • สวนพฤกษศาสตร์ อันนี้เป็นกิจกรรมซึ่งดำเนินงานทุกปีเฉพาะโรงเรียนที่ได้รับป้ายพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯครับ (อ้างอิงมีแต่ไม่ได้ใส่ - -)
  • กีฬาภายใน เกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬา ลักษณะการดำเนินงาน
  • วันปีใหม่,วันเด็ก เป็นกิจกรรมพิเศษเฉพาะโรงเรียนครับ
  • เลือกตั้งกรรมการนักเรียน เป็นกิจกรรมพิเศษเฉพาะโรงเรียน

เดิมทีผมก็ลอกแบบมาจากบทความโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชาและโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครมาปรับรูปแบบไว้นานแล้ว จริงถ้าจะใส่กิจกรรมอื่นๆก็ใส่ได้ ผมแค่ขอให้เน้นอะไรที่มีความโดดเด่นจะเหมาะสมกว่าครับ (เมื่อกี้คงพูดผิดไป เพราะพึ่งสอบเสร็จแล้วมึน - -)

ส่วนคุณ lux2545 โครงการนี้ผมอ่านทุกครั้งเวลาจะเขียนและตรวจสอบบทความโรงเรียนอื่นๆทุกบทความครับ เพราะมันเพิ่มเติมเลยเพิ่มได้ครับ ขอบคุณครับ

--N.M. | พูดคุย 19:17, 8 มกราคม 2555 (ICT)

อันนี้อีก กิจกรรมภายในโรงเรียน ในโครงการฯ ดันระบุว่ามีได้ ผมว่าไม่ควรมีหากไม่โดดเด่นเพียงพอ แล้วคุณlux2545 มีความเห็นว่าอย่างไร ผมเห็นว่าไร้สาระฯ--Sasakubo1717 19:05, 8 มกราคม 2555 (ICT)
เป็นกลาง เพราะเนื้อหากิจกรรมไม่จำเป็นต้องมี เป็นแค่เนื้อหาเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องลบ หากมีความโดดเด่นเฉพาะตัว --'1111' | '2222' | '3333' 19:07, 8 มกราคม 2555 (ICT)
  •  ความเห็น ผมก็ไม่ได้ถึงกับว่าต้องลบทั้งหมด แต่เรามาตั้งต้นกันที่นี่ดีกว่าจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน--Sasakubo1717 19:23, 8 มกราคม 2555 (ICT)

อาจเป็นเพราะนโยบายของโครงการในวิกิพีเดียไทยยังไม่เด่นชัดพอ คงต้องปรับปรุงรูปแบบการเขียน ไม่เพียงเฉพาะตัวบทความที่มีอยู่ แต่กับบทความสถานศึกษาใหม่ๆที่เขียนเข้ามาให้เข้าใจแนวทางด้วย --N.M. | พูดคุย 19:27, 8 มกราคม 2555 (ICT)

  • ผมขอเสนอว่า มีได้ แต่ขอให้มีแหล่งอ้างอิงภายนอกอื่นๆ ไม่ใช่ของโรงเรียนเอง--Sasakubo1717 19:30, 8 มกราคม 2555 (ICT)

ขอแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และมีการเขียนมุมมองเป็นกลาง --N.M. | พูดคุย 19:37, 8 มกราคม 2555 (ICT)

ทีนี้ขอสรุปไว้ให้ชัดเจน แล้วแก้ในหน้าโครงการ--Sasakubo1717 19:50, 8 มกราคม 2555 (ICT)
  •  ความเห็น ใช้รูปแบบการเขียนตามมาตรฐานโครงการวิกิพีเดียอังกฤษมาใช้ หากมีปัญหาเกินขึ้นอย่างไรค่อยว่ากันทีหลัง --N.M. | พูดคุย 18:15, 9 มกราคม 2555 (ICT)
เห็นด้วย สนับสนุนครับ มีอะไรที่ผมทำได้ก็จะช่วยครับ :P--Panyatham 19:04, 9 มกราคม 2555 (ICT)
เสนอความคิดเห็นครับ ^^ --N.M. | พูดคุย 19:47, 9 มกราคม 2555 (ICT)

บุคคลจากสถานศึกษา[แก้]

ควรหรือไม่ที่จะทำรายการบุคคลจากสถานศึกษาในหน้าบทความครับ ผมเห็นว่าหมวดหมู่ก็น่าจะใช้ได้แล้ว --Horus | พูดคุย 23:59, 20 มกราคม 2556 (ICT)

  1. ส่วนตัวเห็นว่าบทความแยกต่างหากไม่จำเป็นต้องมี แค่หมวดหมู่ก็พอแล้วแหละครับ
  2. ส่วน "บุคคลสำคัญ" ในบทความโรงเรียน ผมว่าน่าจะมีได้ แต่มีความเห็นดังนี้
    1. ควรมีเกณฑ์แน่นอนว่าแค่ไหนถึงเรียกว่าสำคัญ - แค่เป็นนักแสดงก็เอามาลงได้แล้วหรือ
    2. ควรจำกัดปริมาณจำนวนคนไม่ให้มากเกินไป - ถ้าสำคัญ 100 คน เอามาลง 100 คนก็ไม่ไหว
    3. ควรมีข้อมูลแสดงความสำคัญประกอบกับรายชื่อเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลสำคัญจริง ทั้งนี้ข้อความไม่ควรยาวมากเกินไป --Nullzero (พูดคุย) 03:59, 25 มกราคม 2556 (ICT)

มีตัวอย่างจากหน้า Eton College มาให้พิจารณาครับ

รายชื่อนักเรียน[แก้]

  • พอดีผมเห็นบทความโรงเรียนสมุทรปราการแล้วพบว่ามีเนื้อหาของกรรมการนักเรียนและมีรายชื่อนักเรียนอยู่จึงอยากมาถามว่าจะเนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาที่โดดเด่นพอหรือไม่
  • รายชื่อนักเรียนนี่สามารถเขียนลงในวิกิได้หรือไม่เพราะบทความที่วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสถานศึกษาในเรื่องเนื้อหาที่ควรจะมีนั้นไม่ได้ระบุไว้มีระบุไว้เพียงแค่รายชื่อครูอาจารย์

--EZBELLA (คุย) 1:41, 14 เมษายน 2560 (ICT)

เกียรติยศและความภาคภูมิใจ[แก้]

ไม่ทราบว่าเนื้อหาส่วนหัวข้อ เกียรติยศและความภาคภูมิใจ ภายในโรงเรียนอย่างเช่นในบทความของ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จะสามารถมีได้หรือไม่ เนื่องจากนโยบายด้านเนื้อหาของ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสถานศึกษา ในเรื่องเกียรติประวัติและมาตรฐานคุณภาพ ระบุไว้ว่าให้สามารถระบุเนื้อหาที่บรรยายถึงชื่อเสียงของสถานศึกษาได้ แต่ในเนื้อหาหัวข้อเกียรติยศและความภาคภูมิใจ ของ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย มีบางส่วนที่มีการระบุรางวัลชนะการประกวดที่เจาะจงถึงชื่อนักเรียน ส่วนตัวเห็นว่าบางส่วนเป็นเนื้อหาไม่สามารถหาแหล่งอ้างอิงได้อย่างชัดเจน สามารถดัดแปลงข้อเท็จจริง และแอบแฝงการโฆษณาลงไปได้ อีกทั้งไม่ใช่เนื้อหาที่สามารถระบุชื่อเสียงของโรงเรียนได้อย่างเป็นภาพรวม ยกตัวอย่างเช่น รายชื่อของนักเรียนที่มีคะแนน 100 คะแนนเต็ม ในการสอบ O-NET จึงเรียนมาเพื่อขอความเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ควรมีอยู่หรือไม่

อนึ่งถ้าหากเนื้อหาส่วนนี้สามารถมีอยู่ได้ เกณฑ์รางวัลเกียรติยศที่ระดับใดที่สามารถถือได้ว่ามีโดดเด่นและความสำคัญเพียงพอที่จะเขียนลงในวิกิพีเดียได้ --NELLA32 (พูดคุย) 21:35, 6 ตุลาคม 2560 (ICT)

@EZBELLA: ส่วน "คู่มือการเขียน" ผมคิดว่าควรเปลี่ยนแปลงดังนี้ครับ

  1. สัญลักษณ์ คิดว่าไม่จำเป็น ทำให้บทความยาวโดยไม่มีสาระสำคัญ
  2. สถานที่ อาจต้องระบุว่าเขียนแบบไหนได้บ้าง ส่วนตัวคิดว่าบอกชื่อตึก วัตถุประสงค์น่าจะได้ แต่ถึงขั้นบอกว่าตึกนี้มีกี่ห้อง แต่ละห้องไว้ทำอะไรบ้างนี่เยอะไป
  3. กิจกรรม ควรคัดกิจกรรมที่สามารถใส่ได้ พวกปฐมนิเทศ งานห้องสมุด คิดว่าไม่น่าสำคัญพอ และควรเน้นกิจกรรมระหว่างโรงเรียนมากขึ้น
  4. เกียรติประวัติ
  5. เรื่องจำนวนนักเรียน คิดว่าสามารถใส่ได้ (แนบปีการศึกษาเพื่อบอกช่วงเวลา) ถ้ามีแหล่งอ้างอิงครับ --Horus (พูดคุย) 15:31, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

เห็นด้วย นะครับแต่เรื่องสัญลักษณ์กับจำนวนนักเรียนน่าจะคงไวแบบเดิมดีกว่า--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 18:29, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

จำนวนนักเรียน ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ใส่กันนะครับ (en:University of Oxford) คือ ผมคิดว่าใส่ไปก็ไม่เห็นเป็นอะไร ยังเป็นการบอกขนาดของสถานศึกษาคร่าว ๆ ได้ด้วย
เรื่องสัญลักษณ์ ผมไม่คิดว่าจะต้องอธิบายอะไรมากครับ เป็นข้อมูลที่น่าจะมีประโยชน์น้อยที่สุดในบทความสถานศึกษาทุกแบบได้เลย --Horus (พูดคุย) 18:41, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
ส่วนมากจำนวนจะมาแต่เลขอ้างอิงไม่มาเลยไม่ค่อยแน่ใจในข้อมูลเท่าไหร่ส่วนสัญลักษณ์ก็ควรลดลงเหลือแค่ในกล่องข้อมูลก็ได้ครับ--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 18:45, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
ก็เขียนว่า ใส่ได้เฉพาะเมื่อมีแหล่งอ้างอิง สิครับ เขียนแบบนี้จะกลายเป็นว่าห้ามหมด --Horus (พูดคุย) 18:46, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
อันนี้คนสร้างโครงการเค้าเขียนไวครับผมไม่ได้เป็นคนใส่ เลยไม่ค่อยอยากไปวุ่นวายอะไรมากก็ทำตามแนวที่เขาปูมาให้--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 18:48, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
ผมคิดว่าเปลี่ยนได้ครับ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอะไรด้วยซ้ำ --Horus (พูดคุย) 18:51, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
ถ้างั้นก็เอาตามนี้ก็ได้ครับ รบกวนแก้ไขหน้าโครงการให้หน่อยนะครับ--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 18:53, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ถ้าอย่างงั้นต้องตามลบเนื้อหาในบทความต่างๆหรือป่าวครับเนี่ย--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 18:55, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ถ้าไปเจอก็ต้องค่อย ๆ แก้กันไปครับ --Horus (พูดคุย) 18:56, 17 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย[แก้]

บทความพวก รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ก ไม่น่าแยกต่างหากครับ เพราะมีรายชื่อบทความโรงเรียนทุกจังหวัดแล้ว ไปใส่อักษรย่อหลังชื่อเต็มในบทความแต่ละบทเอาในนั้นก็ได้ แบบนี้ออกจะซ้ำซ้อนไปหน่อย --Horus (พูดคุย) 22:21, 27 เมษายน 2561 (ICT)

NOTE[แก้]

@EZBELLA: ขออนุญาตหาแนวร่วมครับ บทความสถานศึกษาในวิกิพีเดียก็ดังที่รู้ ๆ กันว่ามีแหล่งอ้างอิงน้อย รูปแบบการเขียนไม่เป็นสารานุกรม มักจะออกแนวเล่าประวัติหรือสัญลักษณ์เสียมาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาก็มีแหล่งอ้างอิงเล็กน้อย เลยขอสอบถามว่าเราจะเอายังไงกันดีครับ ปัญหามันรุนแรงมากจริง ๆ ผมเองก็ไม่อยากเปลืองแรงมากแต่ถ้ามันด้อยมาตรฐานขนาดนี้ก็คงจะต้องมีมาตรการแล้วล่ะครับ --Horus (พูดคุย) 23:45, 27 เมษายน 2561 (ICT)

ป.ล. ที่ยกโรงเรียนเตรียมอุดมมาไม่ได้บอกว่าจะลบนะครับ แค่จะชี้ให้เห็นความร้ายแรงของปัญหา --Horus (พูดคุย) 01:25, 28 เมษายน 2561 (ICT)
 ความเห็นผมคิดว่าบทความที่ไม่มีอ้างอิงก็ควรจะถูกลบออกเพราะนโยบายก็เขียนเอาไวอยู่แล้วอีกทั้งไปเอาข้อมูลมาจากไหนก็ไม่ทราบ แต่คงไม่ถึงขั้นลบบทความทั้งหมดอาจจะเหลือเนื้อ ๆ ไวแล้วลบน้ำทิ้งก็ได้มั้งครับ--เก็บตกจบแล้วจ้า (คุย) 00:42, 28 เมษายน 2561 (ICT)
ลบน้ำทิ้งนี่ทำอยู่แล้วครับ ส่วนบทความไม่มีอ้างอิง มีกฎอยู่แล้วว่าควรจะเป็นอย่างไรครับ ซึ่งไม่ควรไปหยวน ๆ ให้กับใคร ถ้าไม่ลบบทความทั้งหมดก็ไปแก้กฎใหม่เสียดีกว่า แต่ปัญหาคือมีบทความพวกนี้มากเหลือเกิน --Horus (พูดคุย) 00:46, 28 เมษายน 2561 (ICT)
@PANARIN: ขอเชิญร่วมอภิปรายครับ --Horus (พูดคุย) 01:28, 28 เมษายน 2561 (ICT)
อย่างนั้นก็ดำเนินการตามนโยบายนั้นแหละครับ --เก็บตกจบแล้วจ้า (คุย) 01:47, 28 เมษายน 2561 (ICT)
ถ้าอย่างนั้นขอรบกวนถ้าพบเห็นที่ไหนก็แจ้งลบหรือแก้ไขตามสมควรนะครับ ผมคิดว่าทำคนเดียวไม่ไหวเลยแจ้งขอความร่วมมือมา --Horus (พูดคุย) 01:51, 28 เมษายน 2561 (ICT)
 ความเห็น ขออภัยด้วยครับหากข้อความพูดคุยต่อไปนี้ผมเขียนไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามหลักการ เพราะผมเองก็ไม่ได้มีความรู้หรือความเข้าใจในด้านของการเขียนกล่องข้อความโต้ตอบแบบนี้สักเท่าไร เอาเป็นว่าขอให้เข้าใจในสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อสารก็แล้วกันนะครับ กลับมาที่บทความที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยส่วนตัวผมเองก็จบการศึกษามาจากโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาจึงพอจะมีความรู้ในเรื่องโรงเรียนเหล่านี้อยู่บาง และผมก็ได้เข้าไปดูบ้างแล้วว่าบางโรงเรียนมีเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงหรือไม่ หรือ มีการโฆษณาโรงเรียนของตัวเองเกินจริงหรือไม่ โดยส่วนตัวผมคิดว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หรือโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษายังไม่ได้ใหญ่หรือเป็นปัญหาที่พบเจอบ่อยนัก แต่สิ่งที่ผมมองว่าเป็นปัญหาใหญ่และพบเจอบ่อย ก็คือ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ต่างหากที่ผู้ใช้งานใหม่บางคน ไม่มีความรู้ หรือ ความเข้าใจ หรือ อาจจะไปคัดลอกแบบฟอร์มของคนอื่นมา หรือ อาจจะอยากโฆษณาโรงเรียนตัวเอง ทำให้จัดกลุ่มของโรงเรียนตัวเองไปอยู่ในกลุ่มโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง หรือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งตามความจริงโรงเรียนตัวเองก็ไม่ได้เข้าข่าย ทั้งด้านจำนวนนักเรียนและตามประกาศของกระทรวงก็ไม่มีชื่อโรงเรียนตัวเอง ทั้งที่เราก็ได้เขียนคำอธิบายเอาไว้อยู่แล้วแต่คงไม่มีการอ่าน หรือ อ่านแล้วแต่ไม่สนใจก็ไม่ทราบได้ ก็ยังมีการเพิ่มชื่อโรงเรียนตัวเองลงไปอยู่ดี เรื่องนี้ผมเห็นบ่อยมาก และผมก็แก้ไขบ่อยมาก แก้ไปได้ไม่กี่วันก็จะมีมาใหม่อยู่เรื่อย ๆ ผมคิดว่าเราควรจะควบคุมกลุ่มโรงเรียนเหล่านี้เป็นพิเศษมีการตรวจสอบหลักฐาน มีการควบคุม มีการอนุมัติ ไม่ใช่ใครอยากจะเพิ่มก็เพิ่มเข้าไปได้ง่าย ๆ ถ้าเป็นแบบนี้บ่อย ๆ คนแก้ก็แก้ไป คนตรวจก็ตรวจไป คนเพิ่มก็เพิ่มไป ไม่จบสักทีครับ ผลที่ได้ตามาคือ ประชาชนและผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดในข้อมูล ในความเป็นจริง ส่วนอีกประการคือ บทความที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันผมมองว่ามีบทความที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่บางบทความบางโรงเรียนก็สร้างขึ้นมาโดยไม่ใช้รูปแบบการสร้างของบทความสถานศึกษา คือมีการเขียนเหมือนกับการเขียนบทความปกติ แต่ก็ยังมีคนให้ผ่านไม่มีการลบทิ้ง ซึ่งผมมองว่าถ้าปล่อยไปเป็นแบบนี้บ่อย ๆ จะทำให้บทความเกี่ยวกับสถานศึกษาจะไม่มีคุณภาพ และไม่มีแนวรูปแบบดียวกัน หรือที่หนักไปกว่านั้นอีก คือ โปรโมทโรงเรียนตัวเองจนเกินไป ทั้งรางวัล ทั้งอะไรต่าง ๆ มากมาย ซ้ำไม่มีหลักฐานอ้างอิงมาประกอบ ซึ่งสิ่งนี่เลวร้ายกว่าทุกอย่าง หรือ บางโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ เอามาหมดทุกอย่าง ทั้ง โดม ทั้งศาลา ทั้งอะไรไม่รู้เต็มไปหมด ดังนั้นผมของเสนอว่า 1.ควรมีการควบคุมกลุ่ม หรือ หมวดหมู่ โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และ กลุ่ม หรือ หมวดหมู่ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ 2.บทความสถานศึกษาใดทั้งเก่าและใหม่ที่ไม่ใช้รูปแบบการสร้างแบบบทความสถานศึกษาให้มีการลบทิ้งทันที 3.บทความเกี่ยวกับสถานศึกษาที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่หลังจากนี้โดยไม่มีเอกสารอ้างอิงให้ลบทิ้งทันที --PANARIN (พูดคุย) 06:09, 28 เมษายน 2561 (ICT)
เรื่องการควบคุมหมวดหมู่พอจะมีทางอยู่ครับ ส่วนข้อ 2. กับ 3. ผมก็อยากทำแบบที่คุณว่านะครับ อยากให้มีผู้เข้าร่วมมาก ๆ จะได้ช่วยกันกวาดล้างให้หมดไป --Horus (พูดคุย) 13:57, 28 เมษายน 2561 (ICT)

ลิขสิทธิ์ของเพลงประจำสถาบันการศึกษา[แก้]

สวัสดีครับ เนื่องจากมีงานเขียนเกี่ยวกับเพลงประจำสถาบันการศึกษาอยู่ในวิกิซอร์ซพอสมควร ซึ่งผมไล่ดูที่มาจนพบว่าโครงการวิกินี้อนุญาตให้เขียนเนื้อเพลงในลงวิกิซอร์ซได้ จึงขอสอบถามว่า

  1. เพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับสถานศึกษาเป็นสาธารณสมบัติหรือมีลิขสิทธิ์ ถ้ามีลิขสิทธิ์แล้วเป็นของใคร?
    1. ถ้าเป็นของผู้ประพันธ์ เข้าใจว่าถ้าผู้ประพันธ์ยังไม่เสียชีวิตหรือเสียชีวิตยังไม่ครบ 50 ปี ไม่สามารถลงงานเขียนได้ถูกต้องหรือไม่?
    2. ถ้าเป็นของสถานศึกษา เข้าใจว่าสถานศึกษานั้นเข้าข่ายในกรณีนิติบุคคลโดยงานเขียนที่ลงได้นั้นต้องมีอายุอย่างน้อย 50 ปี ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถลงงานเขียนได้ถูกต้องหรือไม่?
  2. ถ้าเพลงของสถานศึกษา (ทั้งโรงเรียน คณะ มหาวิทยาลัย รัฐหรือเอกชน) มีลิขสิทธิ์ ก็หมายถึงไม่สามารถนำเนื้อหาลงในวิกิซอร์ซได้หรือมีข้อยกเว้นอันใดที่สามารถนำลงได้หรือไม่?

จึงขอคำตอบจากสมาชิกโครงการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเนื้อหาบนวิกิซอร์ซต่อไปครับ --Geonuch (คุย) 13:05, 19 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ขอถามเพิ่มอีกนิด ผมทราบมาว่าเพลงประจำมหาวิทยาลัยของจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์นั้นลิขสิทธิ์เป็นของ ร.9 เวลาจะใช้เพลงต้องทำเรื่องขอพระบรมราชานุญาต (ตามนี้) จึงถือว่าเพลงประจำมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ไม่ได้เป็นของตัวมหาวิทยาลัยเอง แต่มีเนื้อเพลงอยู่ในวิกิซอร์ซ (ตัวอย่าง) ไม่ทราบว่าต้องนำออกจากวิกิซอร์ซหรือไม่ครับ --Geonuch (คุย) 13:15, 19 สิงหาคม 2562 (ICT)
ย้ายจาก คุยกับผู้ใช้:David_Supervid#เพลงคณะ: Geonuch (คุย) 17:56, 19 สิงหาคม 2562 (ICT)
เรียนคุณ Geonuch จากที่ผมได้นำเสนอบทเพลงคณะฯ ในวิกิซอร์ซ จำนวน 2 บทเพลง นั้น ขอเรียนว่าผมอาศัยรายละเอียดของข้อกฎหมายจากในมาตราที่ 19 และ 20 ของพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่คุ้มครองเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ผลงานครับ ซึ่งจากการตีความในกฎหมาย ผมเห็นว่า บทเพลง 'วิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์' ของคณะวิทย์ มก. นั้น เข้าข่ายอยู่ในเกณฑ์มาตราที่ 19 ในส่วนที่ว่า ″ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก″ และเท่าที่ได้ทราบข้อมูลมานั้น บทเพลงดังกล่าวมีกำเนิดมาพร้อมๆ กับการจัดตั้งคณะฯ คือในเดือนมีนาคม ปี 2509 โดยผู้แต่งคำร้องและทำนอง คือ ศยาม และ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ตามลำดับ ซึ่งหากนับอายุจนถึงปัจจุบันก็มีอายุกว่า 53 ปี แล้ว ซึ่งสอดคล้องกันกับตัวกฎหมาย ประกอบกับผมเห็นว่าเป็นเพลงสุนทราภรณ์เก่าเกี่ยวเนื่องกับสถาบันการศึกษาที่มีอายุยาวนาน ควรค่าแก่การนำเสนอต่อคนรุ่นหลัง ผมเลยนำลงไว้ในวิกิซอร์ซครับ ซึ่งไม่ได้มีเจตนาทางการค้าใดๆ ครับ ส่วนบทเพลงที่สองที่ได้นำเสนอไว้ คือ 'วิทยาศาสตร์ปณิธาน' ซึ่งเป็นบทเพลงคณะฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในส่วนนี้นั้นต้องเรียนตามตรงว่า เป็นความผิดพลาดส่วนตัวในการสืบค้นอายุเพลงดังกล่าวครับ เพราะจากที่ได้ค้นหาอายุบทเพลงนี้อย่างชี้ชัดอีกครั้งนั้น มีอายุเพียงแค่ 16 ปี เท่านั้น คือเริ่มแต่งคำร้องและทำนองในปี 2546 โดย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และถึงแม้ว่าท่านอาจารย์ฯ (ผู้ประพันธ์ฯ) ได้เสียชีวิตลงเมื่อราวกลางปีที่ผ่านมา ก็ยังอาจไม่เข้าข่ายอำนาจคุ้มครองตามกฎหมายทั้งจากในมาตราที่ 19 และมาตราที่ 20 ครับ ตรงนี้ต้องขอโทษเป็นอย่างสูงและยินดีที่จะลบข้อมูลบทเพลงดังกล่าวทั้งหมดที่ได้นำเสนอไว้ในวิกิซอร์ซครับ และขอเรียนซ้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้มีเจตนาในทางการค้าใดๆ ครับผม ทั้งนี้ หากเห็นว่าบทเพลงทั้งสองข้างต้นไม่เหมาะสมหรือไม่เข้าค่ายที่จะลงในวิกิซอร์ซก็ยินดีที่จะลบทั้งหมดครับ

ปล.1 ขอยกตัวอย่างเพลง Old Nassau ของมหาวิทยาลัย Princeton สหรัฐฯ ยังสามารถลงรายละเอียดนำเสนอบทเพลงใน Wikisource หน้าภาษาอังกฤษ ได้เลยครับ ตรงนี้ผมเองก็สงสัยมากระหว่างเกณฑ์ของวิกิซอร์ซไทยกับวิกิซอร์ซต่างประเทศ

ปล.2 เพลงมหาวิทยาลัยในไทยต่างๆ ที่ไม่ใช่เพลงพระราชนิพนธ์ อาทิ ของมหิดล สงขลานครินทร์ มธ. มสธ. และจุฬาฯ ก็ยังลงอยู่ในวิกิซอร์ซของไทยอยู่เลยครับ ซึ่งบางบทเพลงไม่มีแม้กระทั่งที่มาอ้างอิงและไม่มีการกล่าวอ้าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ ด้วย ตรงนี้ผมว่าควรต้องมีเกณฑ์จากวิกิซอร์ซของไทยที่ชัดเจนครับ เพราะว่า ถ้าอิงตามกฎหมายอย่างเดียวแล้ว ในวิกิซอร์ซภาษาไทยคงจะมีแต่ ″ราชกิจจานุเบกษา″ เท่านั้นที่ลงแล้วไม่น่าจะมีปัญหาน่ะครับ แหะๆ --David Supervid (คุย) 15:25, 19 สิงหาคม 2562 (ICT)

@David Supervid: ขอบคุณครับ ไม่ต้องซีเรียสเพราะถ้าผิดหรือมีอะไรสงสัยก็มาอภิปรายกันครับ แต่ขอสอบถามเพิ่มเติมนะครับ
  1. ตกลงทั้ง 2 เพลงถือว่าเป็นของใครครับ (ผู้ประพันธ์หรือคณะ) เพราะจากเพลง "วิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์" คุณระบุว่าใช้ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลเลยนับอายุจากการก่อตั้งคณะ ขณะที่เพลง "วิทยาศาสตร์ปณิธาน" นับจากการเสียชีวิตของผู้ประพันธ์ซึ่งยังไม่ถึงกำหนด ดังนั้นถ้าสมมติว่าลิขสิทธิ์เพลงเป็นของผู้ประพันธ์เพลงแรกก็ไม่สามารถลงในวิกิซอร์ซได้เช่นกันเพราะครูเอื้อเสียชีวิตใน พ.ศ. 2524 ซึ่งต้องรอให้ถึง พ.ศ. 2574 จึงจะลงเนื้อหาได้ครับ ถ้าคุณสามารถระบุได้ว่าลิขสิทธิ์เพลงเป็นของใครจะเป็นประโยชน์มากครับ
  2. ผมไม่ได้ขัดข้องเรื่องการลงเนื้อเพลงในวิกิซอร์ซนะครับ แต่พิจารณาตามวัตถุประสงค์ของโครงการซึ่งเหมือนกันในทุกภาษา สำหรับ Old Nassau ถือว่าเป็นสาธารณสมบัติทั่วโลกเพราะว่ามีอายุเกิน 100 ปี (เพลงแต่งใน ค.ศ. 1859)
  3. เป็นไปได้ว่าอาจมีการลงเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยเล็ดรอดจากการตรวจสอบของผู้ใช้ในวิกิซอร์ซซึ่งมีอยู่น้อยและมีผู้ดูแลระบบแค่คนเดียวครับ ซึ่งหลังจากการอภิปรายและมีการตรวจสอบแล้วสามารถที่จะลบออกได้ถ้าละเมิดลิขสิทธิ์ครับ --Geonuch (คุย) 18:19, 19 สิงหาคม 2562 (ICT)

เรียนคุณ Geonuch จากข้ออภิปรายเกี่ยวกับบทเพลงประจำคณะฯ ข้างต้นนั้น ผมได้ไปสืบค้นเพิ่มเติม ทำให้ได้ทราบข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้อธิบายข้อสงสัยในเรื่อง ‘ลิขสิทธิ์เพลง’ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา รวมถึงคาดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับการจัดการเนื้อหาบนวิกิซอร์ซต่อไปในอนาคต

จากการสืบค้นพบว่า ผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงสุนทราภรณ์ทั้งหมดที่ครูเอื้อเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น ไม่ว่าจะเนื้อร้องหรือทำนอง ก็คือ คุณอติพร เสนะวงศ์ (ลูกสาว) และคุณอาภรณ์ สุนทรสนาน (ภรรยา) โดยครูเอื้อได้ทำลิขสิทธิ์ยกให้ทั้งหมด

ยกเว้นแต่ ในส่วนของเพลงปลุกใจ, เพลงที่แต่งให้หน่วยงานราชการทั้งหมด และเพลงของสถาบันต่างๆ ซึ่งในที่นี้ ‘กรมประชาสัมพันธ์’ จะเป็นผู้ได้ลิขสิทธิ์[1][2][3]

ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว ทำให้บทเพลงสุนทราภรณ์ ‘วิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์’ และ ‘วิทยาศาสตร์ปณิธาน’ ที่ได้ลงไว้ในวิกิซอร์ซนั้น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ ‘กรมประชาสัมพันธ์’ เพราะเป็นบทเพลงที่ถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงที่คณะและมหาวิทยาลัยยังดำรงสถานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งนับเป็นหน่วยงานราชการประเภทหนึ่ง ประกอบกับความสอดคล้องของการอ้างอิงที่มาของเพลงซึ่งทางมหาวิทยาลัยระบุไว้ที่ส่วนล่างสุดในหน้ารายชื่อเพลงว่าได้ขออนุญาตจากทางกรมประชาสัมพันธ์และมูลนิธิสุนทราภรณ์แล้ว[4]

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขออนุญาตลบข้อมูลบทเพลงดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดออกจากวิกิซอร์ซครับ

ปล. ต้องขอบคุณ คุณ Geonuch ที่ได้ทักท้วงในเรื่องของลิขสิทธิ์เพลง ทำให้ได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมในอีกแง่มุมหนึ่ง นอกเหนือจากการอ้างอิงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าใครเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในกรณีเพลงสุนทราภรณ์ครับ ขอบคุณครับ --David Supervid (คุย) 22:44, 19 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

อ้างอิง[แก้]

  1. นิตยสารผู้จัดการ. 2538 สุนทราภรณ์ต้นแบบลิขสิทธิ์บันเทิง เรียกดูวันที่ 2019-08-19
  2. Paisal. 2552 ถามมา-ตอบไป : ลิขสิทธิ์เพลงสุนทราภรณ์เป็นของใคร oknation blog. เรียกดูวันที่ 2019-08-19
  3. อรอนงค์ (ไข่หวาน). หญิงเหล็ก อติพร สุนทรสนาน เสนะวงศ์ เบื้องหลังความสำเร็จของวง ‘สุนทราภรณ์ ปีที่ 72 คอลัมน์คนในวัฒนธรรม. เรียกดูวันที่ 2019-08-19
  4. มก. รวมเพลงมหาวิทยาลัย เรียกดูวันที่ 2019-08-19
@David Supervid: ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ผมเองก็พึ่งทราบเหมือนกันว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเจ้าของเพลงที่ตัวเองใช้เหมือนกัน (แต่ยังไม่แน่ใจว่านอกจากเกษตรแล้วที่อื่นเหมือนกันหรือไม่) สำหรับในทางกฎหมายไทยแล้วแม้ลิขสิทธิ์จะตกให้กับทายาทแต่ก็มีอายุได้เพียง 50 ปีเท่านั้น เมื่อครบระยะเวลาดังกล่าวก็สามารถลงเนื้อหาได้ครับ --Geonuch (คุย) 06:17, 20 สิงหาคม 2562 (ICT)
  1. ผมเห็นว่าข้อมูลในแหล่งอ้างอิงที่ 1 และที่ 2 ขัดกันบางส่วน เพราะอ้างอิงแรกบอกว่าเพลงปลุกใจ เพลงในหน่วยงานราชการ และเพลงของสถาบันเป็นงานของกรมประชาสัมพันธ์ แต่อ้างอิงที่สองบอกว่าเพลงที่ครูเอื้อแต่งไม่ได้แต่งในฐานะเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรมประชาสัมพันธ์ (เนื่องจากไม่ได้แต่งในฐานะรับจ้างซึ่งทำให้ผู้ว่าจ้างได้สิทธิ และแม้ว่าจะแต่งในฐานะลูกจ้างของกรมประชาสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม สิทธิก็ย่อมเป็นของครูเอื้อ และ/หรือทายาท ส่วนการที่กรมประชาสัมพันธ์จะใช้สิทธิเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์แห่งงานนั้นหรือไม่ อย่างไร เป็นอีกกรณีหนึ่ง แต่เนื่องจากอ้างอิงที่ 2 ระบุว่าครูเอื้อไม่เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการ จึงคาดว่ากรมประชาสัมพันธ์ก็อาจไม่ได้สิทธิในส่วนนี้เช่นกัน) ประเด็นเรื่องการขัดแย้งกันแห่งลิขสิทธิ์เช่นนี้จะเป็นข้อพิจารณาในประเด็นทั่วไปต่อไปครับ
  2. การพิจารณาว่าบุคคลธรรมดาผู้แต่งหรือนิติบุคคลเป็นผู้ถือสิทธิในเพลงดังกล่าวเป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่อาจทราบแน่ชัดได้ว่าเพลงดังกล่าวแต่งขึ้นในทางการที่จ้าง (ซึ่งทำให้ผู้แต่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์) แต่งขึ้นโดยการว่าจ้างจากนิติบุคคล (ซึ่งทำให้นิติบุคคลเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์) หรือผู้แต่งยกสิทธิให้เป็นของนิติบุคคล (ซึ่งจะเกิดประเด็นต่อมาว่าจะนับเวลาลิขสิทธิ์อย่างใด) อย่างไรก็ดี ย่อมเชื่อได้ว่าหากไม่ใช่กลุ่มคณะบุคคลที่เชื่อใน Free Art Culture ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่งานจะเป็นสาธารณสมบัติครับ
    1. ถ้าลิขสิทธิ์ตกอยู่แก่บุคคล อายุการคุ้มครองย่อมนับต่อไปอีก 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ดังนั้นหากยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว เนื้อเพลงย่อมถือว่าอยู่ในความคุ้มครองของผู้สร้างสรรค์ครับ
    2. ถ้าลิขสิทธิ์ตกอยู่แก่นิติบุคคล อายุการคุ้มครองมีกำหนด 50 ปีนับแต่สร้างสรรค์ แต่ถ้าสร้างสรรค์แต่ไม่ได้โฆษณาภายในระยะเวลาคุ้มครอง อายุการคุ้มครองย่อมมีกำหนด 50 ปีนับแต่วันโฆษณา
    ประเด็นปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเราทราบแน่ชัดหรือไม่ว่าอายุการคุ้มครองของผลงานดังกล่าวเริ่มนับเมื่อใด กรณีของบุคคลอาจพอกำหนดได้ชัดเจนเนื่องจากอาศัยระยะเวลาการเสียชีวิตของผู้สร้างสรรค์ แต่หากเป็นกรณีนิติบุคคล ย่อมเกิดปัญหาว่ามีการสร้างสรรค์ และ/หรือเผยแพร่เมื่อใด ซึ่งหากไม่สามารถหาหลักฐานเพื่อยืนยันการสร้างสรรค์ และ/หรือเผยแพร่ได้ ระยะเวลา 50 ปีอาจไม่ใช่ระยะเวลาที่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าความคุ้มครองลิขสิทธิ์ควรจะหมดเมื่อใด และทำให้เป็นที่สงสัยเรื่องลิขสิทธิ์และระยะเวลาคุ้มครองครับ
  3. ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในมาตรา 32 กล่าวคือ ต้องไม่กระทบกระเทือนการแสวงหาประโยชน์และสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายอันเกินควร หลักนี้เทียบได้กับ fair use ในกฎหมายสหรัฐ อย่างไรก็ดี ข้อยกเว้นในมาตรา 32 ทั้งสองวรรคน่าจะต้องพิจารณาควบคู่กันไป ซึ่งการเผยแพร่ในวิกิซอร์ซไม่น่าจะเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้เลยเพราะเป็นการเผยแพร่ทั้งเพลงโดยไม่ได้มีการวิจารณ์หรือเพื่อการวิจัยและศึกษา หากอ้างว่าเป็นการเผยแพร่โดยไม่แสวงหาผลกำไร เว็บสถาบันย่อมมีเนื้อเพลงดังกล่าวอยู่แล้ว และสัญญาอนุญาตของวิกิซอร์ซย่อมอนุญาตให้นำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งจะขัดกับเงื่อนไขในการเผยแพร่ตั้งแต่ต้นว่าไม่ให้ใช้งานเพื่อการค้าครับ
  4. ผมเห็นว่าระเบียบสำนักราชเลขาธิการเป็นกรณีที่ใช้บังคับกับสื่อบันทึกเสียง (เพราะมีการกล่าวถึงข้อกำหนดเรื่องสื่อบันทึกเสียงและการเรียบเรียงเสียงประสาน) จึงไม่น่าจะใช้บังคับกับกรณีที่เป็นเนื้อเพลงเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี เนื้อเพลงถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ของรัชกาลที่ 9 และย่อมอยู่ในบังคับตามกฎหมายลิขสิทธิ์ครับ (ซึ่งหมายความว่าเพลงดังกล่าวจะเป็นสาธารณสมบัติก็ต่อเมื่อถึง พ.ศ. 2610 ไปแล้ว คือ 50 ปีนับแต่สวรรคต + ระยะเวลาที่เหลืออยู่จนกว่าจะสิ้นปีที่ลิขสิทธิ์หมดอายุคุ้มครอง) เนื่องจากกรณีก็ไม่เข้าข้อยกเว้นเช่นกัน (ดูในข้อ 3) จึงไม่สามารถเผยแพร่ในวิกิซอร์ซได้ครับ

--G(x) (คุย) 11:20, 20 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

จากที่ดูแล้วถ้าผู้เขียนไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าเพลงนั้นหมดลิขสิทธิ์จริงไม่ว่าจะเป็นของผู้ประพันธ์เองหรือนิติบุคคล วิกิซอร์ซก็ไม่สามารถรับงานเขียนดังกล่าวได้ ซึ่งจากที่ตรวจสอบแล้วน่าจะมีเพลงประจำสถาบันการศึกษาที่เข้ากรณีดังกล่าวอยู่เยอะมากโดยจะดำเนินการตรวจสอบและแจ้งลบต่อไป (เมื่อกี้ได้แจ้งลบเพลงพระราชนิพนธ์ไปก่อนแล้ว) รวมถึงขอปรับแก้โครงการวิกินี้ให้หยุดนำเนื้อเพลงลงวิกิซอร์ซครับ --Geonuch (คุย) 19:17, 20 สิงหาคม 2562 (ICT)
โดยทั่วไปแล้ว หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสาธารณสมบัติสามารถลงวิกิซอร์ซตามนโยบายที่มีอยู่ได้ครับ (ไม่แน่ใจว่าในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษมีลิงก์เกี่ยวกับสาธารณสมบัติเพลง หรือผลงานอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ น่าหามาเป็นแนวทางเหมือนกัน) แต่หากยังมีเรื่องลิขสิทธิ์อยู่ก็คงต้องลบไปก่อน --B20180 (คุย) 13:07, 4 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]
@B20180: จากที่ผมตรวจสอบมาเพลงประจำสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่หมดอายุลิขสิทธิ์ตามเงื่อนไขของกฎหมายไทยครับ ก็คือถ้าจะลงต้องรอเวลาให้จนกว่าหมดอายุลิขสิทธิ์ (ตัวอย่างเช่น เพลงของครูเอื้อ สุนทรสนานต้องรอให้ถึง พ.ศ. 2574 เพราะครูเอื้อเสียชีวิตใน พ.ศ. 2524) ส่วนลิงก์เห็นว่าในส่วนของ Copyright policy กับ What Wikisource includes น่าจะมีการแปลและประกาศใช้เป็นนโยบายโดยอาจเพิ่มในส่วนกฎหมายไทยประกอบครับ --Geonuch (คุย) 13:30, 4 กันยายน 2562 (ICT)
ฮะ --B20180 (คุย) 13:33, 4 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

รายชื่อศิษย์เก่าที่ไม่มีบทความ[แก้]

สวัสดีครับ ผมสังเกตว่ามีหลายบทความที่มีรายชื่อศิษย์เก่าหรือบุคคลสำคัญที่ไม่มีบทความหรือเป็นลิงก์แดงเป็นส่วนใหญ่ เลยขอสอบถามว่ามีหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติถึงการใส่ชื่อบุคคลในบทความสถานศึกษาอย่างไร เพราะเท่าที่เห็นรายชื่อบุคคลส่วนมากไม่น่าจะผ่านเงื่อนไขด้านความโดดเด่น ถ้าสร้างมาก็มีแนวโน้มที่จะถูกลบ ไว้ถ้าสร้างแล้วไม่มีปัญหาใด ๆ จะเพิ่มรายชื่อในสถานศึกษาก็น่าจะดีกว่า (หรือก็คือใส่เฉพาะชื่อบุคคลที่มีบทความในวิกิพีเดียก็พอ) ถ้ามีหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัตินี้อยู่แล้วรบกวนชี้ทางให้ด้วยนะครับ --Geonuch (คุย) 13:11, 13 กุมภาพันธ์ 2563 (+07)[ตอบกลับ]

@Geonuch: ดูจากหน้าโครงการแล้วเหมือนจะไม่มีการระบุนะครับว่าจะต้องใส่เฉพาะชื่อที่ผ่านเงื่อนไขด้านความโดดเด่น แต่ผมเห็นด้วยนะครับว่าชื่อที่จะใส่ในส่วนนี้อย่างน้อยน่าจะผ่าน WP:PEOPLE เราอาจต้องใส่เงื่อนไขเพิ่มลงส่วนหัวข้อ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสถานศึกษา#บุคคลสำคัญจากสถานศึกษา --EZBELLA (คุย) 19:13, 24 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
@EZBELLA: โอเคครับ ไว้ผมสะดวกอาจช่วยเก็บกวาดรายชื่อศิษย์เก่าในภายหลังครับ --Geonuch (คุย) 20:42, 27 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

Ranking[แก้]

ขอเสนอให้มหาวิทยาลัยทุกแห่ง นำเสนอแบบสรุป อาจใช้ตาราง แล้วระเบียบวิธีต่าง ๆ ควรเขียนในหน้า อันดับมหาวิทยาลัยไทย จะดีกว่า --Horus (พูดคุย) 17:35, 11 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

@Horus: ขอยกตัวอย่างนะครับ คืออย่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ทิ้งตารางสรุปไว้แล้วยกส่วนนี้ทั้งหมดไปสร้างหัวข้อใหม่ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นในหน้า อันดับมหาวิทยาลัยไทย แทน อย่างงี้ใช่ไหมครับ --EZBELLA (คุย) 19:47, 24 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ใช่ครับ จะได้ไม่ต้องแยกเขียนเกี่ยวกับองค์การที่จัดระดับแยกตามบทความต่าง ๆ (ยิ่งดูเหมือนโฆษณาองค์การจัดระดับมากขึ้นทุกที) --Horus (พูดคุย) 20:35, 24 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
เห็นด้วย ส่วนตัวผมเห็นด้วยครับแต่ไม่รู้ว่าสมาชิกโครงการจะคิดเห็นอย่างไร (จะรอก็ดูเหมือนจะไม่มีคนมาอภิปรายเพิ่ม) --EZBELLA (คุย) 20:52, 24 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

คู่มือการเขียนใหม่[แก้]

จากที่ผมดูแล้วดูเหมือนจะมีหัวข้อบางหัวข้อในบทความสถานศึกษาที่ค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องของความสำคัญอยู่มาก ดูจากการอภิปรายในหน้านี้หลาย ๆ ครั้ง เลยคิดว่าควรเปลี่ยนแปลงจาก

เดิม:

  • บุคคลสำคัญจากสถานศึกษา ซึ่งถ้ามีปริมาณมากสามารถแยกหน้าออกไปเขียนโดยใช้หัวข้อว่า "รายนามบุคคลสำคัญจาก (ชื่อสถานศึกษา)
  • เกียรติประวัติและมาตรฐานคุณภาพ ชื่อเสียงของสถานศึกษา เช่น มีชื่อเสียงด้านกีฬา มีชื่อเสียงด้านการประกวดแข่งขันต่าง ๆ ไม่เขียนเกียรติประวัติรายบุคล

เป็น:

  • บุคคลสำคัญจากสถานศึกษา ใส่เฉพาะชื่อบุคคลที่ผ่านความโดดเด่นของวิกิพีเดียซึ่งถ้ามีปริมาณมากให้ยกตัวอย่างเพียง 10 คน ส่วนบุคคลที่เหลือให้ใช้เป็นการเพิ่มหมวดหมู่แทน
    • การเพิ่มหมวดหมู่ให้เพิ่มในบทความของบุคคลนั้น ๆ โดยใส่ หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียน... หรือ หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัย...
  • เกียรติประวัติและมาตรฐานคุณภาพ ชื่อเสียงของสถานศึกษา เช่น มีชื่อเสียงด้านกีฬา มีชื่อเสียงด้านการประกวดแข่งขันต่าง ๆ ไม่เขียนเกียรติประวัติรายบุคล
    • อันดับของมหาวิทยาลัย ให้ใส่เป็นตารางข้อมูลแบบสรุป หากอยากอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เขียนในหน้า อันดับมหาวิทยาลัยไทย
  • สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน คำอธิบายสัญลักษณ์ สีประจำโรงเรียน ต้นไม้ประจำโรงเรียน (ใส่ในกล่องข้อมูลได้ไม่ต้องสร้างหัวข้อเพิ่ม)

ท่านสมาชิกวิกิพีเดียและสมาชิกโครงการท่านอื่น ๆ มีความเห็นอย่างไร หรืออย่างมีการแก้ไขในส่วนอื่นเพิ่มเติมหรือป่าวครับ --EZBELLA (คุย) 21:34, 24 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ผมยังไม่ได้เข้าไปดู MOS ของ enwp ว่าทางนั้นมีแนวทางการเขียนเกี่ยวกับสถานศึกษาอย่างไร แต่ถ้าของไทยจะมี วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (สถานศึกษา) เป็นการพิจารณาเฉพาะทางก็ได้ครับ อาจลองร่างดูแล้วทำการอภิปรายเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ครับ --Geonuch (คุย) 20:45, 27 มกราคม 2564 (+07)--Geonuch (คุย) 20:45, 27 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
Notability ว่าด้วยการเลือกเรื่องเขียน ส่วน MOS ว่าด้วย format ครับ คิดว่าประเด็นของคุณ Geonuch น่าจะตรงกับ MOS มากกว่า --Horus (พูดคุย) 21:21, 27 มกราคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
@Geonuch: @Horus: ผมคิดว่าหัวข้อต่าง ๆ ในหน้าโครงการก็อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้วทั้งเรื่อง ความโดดเด่น รูปแบบ และแนวปฏิบัติ เพียงแต่ว่าบุคคลที่เข้ามาแก้ไขไม่สามารถเข้ามาดูแนวปฎิบัตในหน้านี้ได้ น่าจะมีการทำเป็นลิงก์เชื่อมในส่วนของ แบ่งตามหัวข้อ ในแม่แบบ {{คู่มือ}} เหมือนกับ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิการทหาร/แนวทางการเขียนบทความ ก็ได้มั้งครับ --EZBELLA (คุย) 06:42, 13 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ความโดดเด่นของสถานศึกษาในวิกิอังกฤษให้ใช่ตาม วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (องค์การและบริษัท) ครับ ส่วน MOS นี้ไม่แน่ใจ--EZBELLA (คุย) 06:46, 13 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอเรื่องการเลือกผู้ดูแลหลักโครงการวิกิสถานศึกษา[แก้]

ตอนนี้ผมเห็นว่าโครงการวิกินี้ยังไม่มีผู้ดูแลหลัก เนื่องจากผู้ก่อตั้งโครงการนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้ ผมจึงขอเสนอเรื่องในการเลือกผู้ดูแลหลักคนใหม่ของโครงการวิกินี้ครับ

มีสมาชิกคนไหนเห็นด้วยไหมครับ --Mr.Green (คุย) 18:16, 29 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

@Lookruk: สำหรับผมคิดว่าไม่มีความจำเป็น เพราะผู้ดูแลหลักก็ไม่ได้มีหน้าที่พิเศษอะไรเพิ่มเติม --`EZBELLA (คุย) 19:37, 29 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]