คุยกับผู้ใช้:Teetaweepo/กรุ 4

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทักทาย +คุยเล่น +ประชาสัมพันธ์ +สัพเพเหระ

รบกวนช่วยกันตรวจสอบหน้า สอนการใช้งาน

สวัสดีครับ รบกวนนิดหน่อยครับ พอดีผมสร้าง หน้าสอนการใช้งาน สำหรับผู้ใช้ใหม่ในวิกิพีเดีย กะว่าจะเริ่มใช้งานจริง(โดยการใส่ลิงก์แทรกตามหน้านโยบายและหน้าต้อนรับ)ในอาทิตย์หน้า เลยขอรบกวนฝากตรวจสอบหน้าสอนการใช้งานซึ่งมีทั้งหมด 9 หน้า ถ้าพบข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที หรือถ้าต้องการออกความเห็นสามารถเขียนได้ที่ สภากาแฟ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 07:53, 12 ตุลาคม 2007

กระบะทรายที่เมนูด้านข้าง

สวัสดีครับ ตอนนี้ผมเพิ่มส่วน ทดลองเขียน (กระบะทราย) ในเมนูด้านซ้ายมือแล้วนะครับ --Manop | พูดคุย 04:11, 18 กุมภาพันธ์ 2551

ขอบคุณมากครับ --Sirius

วิกิพีเดียภาษาซองคา

  • ผมผลิต "วิกิพีเดียภาษาซองคา" ของภูฏานแล้ว ถ้าเพื่อนผู้ใช้วิกิพีเดียไทยคนไหน ชำนาญภาษาซองคา ให้ทำบทความและหาภาษาซองคา

การจัดทำครั้งนี้ ขอให้คุณช่วยผู้ใช้ชาวฏฏานแล้วครับ ผมเป็นผู้ใช้คนแรกของฎฎานเลยนะ (อย่าลืมต่อด้วยนะ) --donuttowanooon 9:45, 7เมษายน 2551

  • เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาซองคามีบทความ แม่แบบ หน้าพิเศษ และผู้ใช้น้อยมาก (ผู้ใช้มี3คน นอกนั้นไม่มีเลย) จึงขอให้ผู้ใช้ (10คนรวมถึงคุณด้วย) ร่วมช่วยเหลือผู้ใช้ชาวภูฏานด้วย ขอบคุณครับ

-- คุยกับผู้ใช้:Donuttowanoon 08:50, 7 เมษายน 2551

แนะนำหัวข้อให้เขียน/แก้ +แจ้งให้เก็บกวาด

ลบเพื่อเปลี่ยนชื่อบทความเคมีที่ขอ

สวัสดีครับ คราวก่อนไม่ทันได้สังเกต เห็นว่ามีให้ช่วยลบหน้าเปลี่ยนทางด้วย เห็นว่าตอนนี้เรียบร้อยแล้ว :)

  • อีกอย่างหนึ่งครับฝากคุณ Teetaweepo ช่วยตรวจสอบหน้า วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน วันนี้กะจะเขียนให้เสร็จแล้ว (ครบเดือนพอดี) กะว่าถ้าเขียนเสร็จแล้วคงนำลิงก์ไปแทรกตามหน้าต่างๆ ให้คนใหม่ได้เห็นครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 06:35, 12 ตุลาคม 2007


แจ้ง การเขียน/แก้ +เก็บกวาด ที่ผิดพลาด

ชื่อประเทศ

ชื่อประเทศ เคยมีการพูดคุยว่าให้ใช้ชื่ออย่างสั้นนะครับ ถึงจะไม่ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางมาก แต่ก็อยากให้มีการพูดคุยก่อนการเปลี่ยนนะครับ เพราะว่าก็เป็น consensus ที่มีอยู่แล้ว รวมถึงสรุปเป็นโครงการ (ที่ถึงแม้ยังไม่ได้รับการรับรองจากคนส่วนใหญ่ แต่ก็รวบรวมจากการพูดคุยที่มีการสรุปกันมา) ขอบคุณครับ --• KINKKU ANANAS 21:39, 5 ตุลาคม 2007

- ขอบคุณมากครับ กำลังจะหาปรึกษาผู้สันทัดอยู่พอดี ว่ามีการคุยกันที่หน้าไหนหรือเปล่า

ที่จริงผมก็หากรณีที่พูดคุยเรื่องนี้แล้ว แต่หาไม่เจอ แต่คงผิดพลาดในการหาเอง ขออภัย แหะๆ เห็นว่ามันไม่เป็นแบบแผนเดียวกัน --Sirius

- สวัสดีครับ ลองดูคร่าวๆ ได้ที่ ชื่อประเทศอย่างสั้นและอย่างยาว จากเว็บราชบัณฑิตยสถาน ครับ --คุยกับผู้ใช้:Manop 13:38, 8 ตุลาคม 2007
- บทความประเทศ ให้ตั้งชื่อตามชื่อประเทศอย่างสั้นใน ราชบัณฑิตยสถาน โดย ร่างประกาศสํานักฯและประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่องกําหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง โดยใส่คำว่า ประเทศ นำหน้า ยกเว้นชื่อประเทศที่มีคำบ่งบอกความเป็นรัฐอยู่แล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเช็ก เป็นต้น" หมายความว่า ในประเทศที่ชื่ออย่างสั้นมีคำบ่งบอกความเป็นประเทศอยู่แล้ว เช่น สาธารณรัฐเช็ก สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ไม่ต้องใส่คำว่าประเทศอีก (ไม่มีการใช้คำว่าประเทศเช็ก ประเทศอเมริกา ประเทศอาหรับเอมิเรตส์ แต่อย่างใด)

ขณะนี้ยังไม่มีการอภิปรายที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางส่วนนี้ หากมีความเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลง สามารถเริ่มต้นได้ที่สภากาแฟนะครับ ทั้งนี้ ทั้งหมดเป็น"แนวทาง"ไม่ใช่"กฎ"ครับ และอาจปรับตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีได้ แล้วแต่จะอภิปรายเหตุผลกันในกลุ่มผู้เขียนบทความนั้นๆครับ --• KINKKU ANANAS 14:06, 8 ตุลาคม 2007

- ชาวต่างประเทศ ไม่ต้องมี "เอียน" หรือ "อิช" หรือ "อีส" ทั้งหมดครับ ไม่ใช้หลักเกณฑ์การแปรรูปตามภาษาอังกฤษ ดังนั้น ชาวอิตาลี ชาวรัสเซีย ชาวอังกฤษ ชาวสเปน ชาวสวีเดน ชาวโปรตุเกส ชาวจีน ชาวเวียดนาม ชาวญี่ปุ่น ชาวสยาม ชาวมาเลย์ ฯลฯ จะไม่เป็น อิตาเลียน รัสเซียน อิงลิช สเปนิช สวีดิช โปรตุกีส ไชนีส เวียดนามีส เจแปนีส สยามีส มาเลเซียน ฯลฯ ไม่ว่าจะมี "ชาว" หรือไม่ก็ตาม ยกเว้นสัญชาติที่นอกเหนือจากสามคำข้างต้นจะใช้ชื่อตามอังกฤษเพราะมันไม่ใช่หลักเกณฑ์การแปรรูป แต่เป็นคำที่กำหนดขึ้นมาเลย เช่น ชาวอเมริกัน ชาวเยอรมัน ชาวไทย ชาวดัตช์ ชาวสวิส ชาวกรีก ชาวสกอต จะไม่เป็น ชาวอเมริกา ชาวเยอรมนี ชาวไทยแลนด์ ชาวเนเธอร์แลนด์ ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ชาวกรีซ/ชาวเฮเลนิก ชาวสกอตแลนด์ สำหรับเรื่องอินเดียนแดง พวกเขาไม่ได้เกี่ยวกับอินเดียแต่อย่างใด มันเป็นชื่อชนเผ่า อย่าเรียกอินเดียแดงเด็ดขาด, หลักเกณฑ์นี้เข้าทำนองเดียวกับชื่อภาษาด้วยครับ --คุยกับผู้ใช้:Octahedron80 11:06, 6 ตุลาคม 2007
- ตามที่คุณบอนด์ว่าครับ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นแบบที่ราชบัณฑิตยฯใช้ (หาอ้างอิงไม่เจอครับ) --• KINKKU ANANAS 19:26, 6 ตุลาคม 2007
- รับทราบเข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับ --Sirius
- เรื่อง "สก๊อต" (คล้ายๆ "สก๊อย"? ) ผมไม่เคยได้ยินเลยครับ โดยส่วนตัวก็ใช้ "สกอต" มากกว่า ไปเห็นมาจากไหนเหรอครับ --KINKKU ANANAS 20:39, 23 ตุลาคม 2007
- จำไม่ได้แล้วครับ เป็นคำในหน้าไหนสักหน้านะครับ (อาจจะเจอแค่ครั้งเดียวแต่ดันไปเจอในเว็บอื่นเลยเผลอไม่แน่ใจก็เป็นได้นะ) --Sirius


วิธีการใช้งานทั่วไป ทั้งแนะนำ+ถาม

- สวัสดีครับ พอดีผมสร้าง วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน สำหรับผู้ใช้ใหม่ในวิกิพีเดีย เริ่มใช้งานจริง(ใส่ลิงก์แทรกตามหน้านโยบายและหน้าต้อนรับ)ในอาทิตย์หน้า เลยขอรบกวนฝากตรวจสอบ ซึ่งมีทั้งหมด 9 หน้า ถ้าพบข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที หรือถ้าต้องการออกความเห็นสามารถเขียนได้ที่ สภากาแฟ ขอบคุณครับ --คุยกับผู้ใช้:Manop 07:53, 12 ตุลาคม 2007


แม่แบบ +เรื่องเกี่ยวข้อง

การจัดแม่แบบ

{{ความหมายอื่น}} ผมว่าการเว้นบรรทัดทำให้ตัวเนื้อหาโดนผลักลงไป และการอยู่หัวบทความน่าจะทำให้ "เห็น" ได้แล้ว ไม่น่าจะถึงขนาดต้องไปกลบหัวข้อหลัก ยังไงก็เปิดรับความเห็นนะครับ อาจจะชวนคนอื่นมาร่วมอภิปรายด้วยจะได้มีความเห็นหลากหลายครับ --KINKKUANANAS 10:59, 24 ตุลาคม 2007

กรณีหน้าทดลองเขียนแม่แบบ

สวัสดีครับ
  1. ผมเห็นว่าหน้าทดลองเขียนแม่แบบไม่มีความจำเป็นจะต้องมี ซึ่งหน้าทดลองเขียนมีไว้สำหรับผู้ใช้ใหม่ หรือใช้ทดสอบการทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่แล้ว คนที่จะสร้างแม่แบบแน่นอนไม่ใช่ผู้ใช้ใหม่แน่ (ผู้ใช้ใหม่ยังไม่รู้เลยว่าแม่แบบคืออะไร) ซึ่งถ้าจะทดลองแม่แบบที่ตัวเองสร้างก็ควรจะไปสร้างในหน้าผู้ใช้ย่อยของตัวเองมากกว่า
  2. อนึ่ง การแก้ไขแม่แบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกที่ ที่มีการนำไปใช้ เพราะฉะนั้นหากคนหนึ่งเขียนไว้แล้ว เมื่อมีคนมาทดลองเปลี่ยนจะทำให้เกิดผลกระทบไปยังหน้าที่ใช้แม่แบบดังกล่าวด้วย (ซึ่งคนก่อนหน้าที่ทดลองเขียนอาจไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น) --คุยกับผู้ใช้:octahedron80 19:17, 6 เมษายน 2551
จะว่าไม่จำเป็นเลยก็ไม่
  1. ขออภัยที่ชื่อและวิธีใช้คล้ายกันอาจทำให้สับสน ที่จริงผมไม่ได้ออกแบบให้ผู้ใช้ใหม่นะครับ ให้ผู้ใช้ที่มีความสามารถพอจะออกแบบแม่แบบได้นี่แหละ (ถ้าผมออกแบบให้ผู้ใช้ใหม่ คงทำลิงก์จากกระบะทรายไปแล้ว) โบราณว่าสี่ตีนยังรู้พลาด แม้ว่าไม่พลาดก็อาจไม่สวยยังไม่พอใจได้ ถามว่ามีแม่แบบใดในวิกิออกแบบครั้งเดียวพอใจเลยไม่ต้องออกแบบใหม่ไหมครับ ผมเห็นว่าแทนที่จะแก้แล้วแก้อีกให้ประวัติเป็นหางว่าวเอาให้เหลือแค่ที่แก้ครั้งใหญ่ดีกว่า จุดประสงค์ประมาณนั้น
  2. หมายถึงประเด็นว่า ทดลองเขียนชนกันหรือครับ ผมก็คิดอยู่ ตัวนี้เป็นรุ่นทดลอง ดีไม่ดีค่อยว่ากัน แต่ประเด็นนี้ผมว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ถ้าของดีจริงปัญหานี้พอแก้ได้ครับ
    • ที่จริงก็เพราะปัญหาเรื่องการแก้แม่แบบกระทบหน้าอื่นนี่แหละครับ ถึงคิดวิธีนี้ขึ้น ทำนองว่า "ฉันลองแก้ที่ตัวทดลองดูแล้วเป็นแบบนี้ คุณช่วยมาดูหน่อยว่า OK ไหม จะได้แก้ตัวแม่แบบตัวจริง" คือว่าถ้าแก้แม่แบบตัวจริงเลยแบบไม่ได้ลอง ตรงนี้ต่างหากครับที่จะกระทบไปทั่วเสียมากกว่า
    • ผมตอบว่า ถ้ายังไม่ลบ ยังไงลองพิจารณาชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียอีกทีและเชิญท่านอื่นมาฟังอีกที ผมว่ามีข้อดีมากกว่า ขอขอบคุณที่ช่วยกันดูช่วยกันออกเสียงครับ
    • ปล. ผมลองทำและลองใช้ที่วิกิซอร์ซแล้ว มีประโยชน์ดี จึงได้นำมาลองใช้ที่วิกิพีเดียบ้าง

--Sirius (TeeTaweepo) 05:01, 7 เมษายน 2551


นี่ก็มีนะ
{{แม่แบบทดสอบ1}} วัตถุประสงค์ไม่ได้ไว้ใช้งานจริง แม่แบบนี้ขณะอยู่ในบทความ จะกดใช้แค่พรีวิว (เพื่อดึงแม่แบบมาใช้) แต่เมื่อแก้ได้น่าพอใจแล้ว ก็ย้ายลงแม่แบบจริง แล้วบันทึก -- Lv.66i อะควากับวิศวกรรมเครื่องแกง ไฟล์:WikiBotany tap.png 09:51, 7 เมษายน 2551
อ้าว ก็หมายความว่ามีคนคิดเหมือนผม (หรือถ้าจะให้ถูกต้องบอกว่าผมคิดเหมือนคนอื่น) แต่คิดก่อน

ก็คิดเหมือนกันว่าน่าจะมีคนคิดมาก่อน แต่ไม่ยักจะเจอ (พวกเทิร์นโปรอย่างผมถึงได้ปล่อยไก่ ซะงั้น แหะๆ)

  • พูดแล้วก็ขอนอกเรื่องหน่อย ลักษณะทำนองนี้เชื่อว่าคงไม่ได้มีแค่ผมคนเดียว ท่านผู้เชี่ยวชาญอาจเคยเจอ "ผู้ไม่รู้" ทำไม่เป๊ะกับที่เคยมีเคยตกลง ประเด็นนี้ผมเคยแนะเสนอว่า น่าจะประชาสัมพันธ์คือมีหน้า "วิกิพีเดีย:ความช่วยเหลือระดับก้าวหน้า" (สำหรับผู้ใช้ที่เริ่มเชี่ยวชาญและต้องการพัฒนาระดับลึก รวมถึงความสามารถที่ยังไม่ได้แนะนำในความช่วยเหลือขั้นต้นแก่มือใหม่)

โดยทำลิงก์ทางเข้าไว้ล่างๆ ของหน้า วิกิพีเดีย:ความช่วยเหลือ .. เรื่องนี้ไม่รีบแค่แนะ เผื่อในอนาคต

  • กลับเข้าเรื่องต่อ งั้นเรื่องหน้านี้ผมก็เสนอใหม่ว่า แม่แบบตัวนี้ก็ประยุกต์เข้ากับโครงการเดิมเสียเลย อาจจะเปลี่ยนชื่อ ทำลิงก์ให้เป็น {{แม่แบบทดสอบ2}} ,{{แม่แบบทดสอบ3}}, {{แม่แบบทดสอบ4}} ฯลฯ เป็นตัวเลือกเพื่อปลดปัญหา ลองแม่แบบแล้ว แก้ชนกัน อีก 3-4 วัน 7-8 วัน หรือท่านๆเห็นสมควร ผมจะขอแก้ปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของที่มีอยู่เดิมแล้ว หรือถ้าท่านๆเห็นว่า เสนอลบ เพราะตัวช่วยเพียงพอ ก็เห็นด้วยตามนั้น และยังรอรับฟังความเห็นอื่นด้วย ขอความเห็นเพิ่มหน่อยครับ -- Sirius (Teetaweepo) 16:31, 7 เมษายน 2551
หน้าพิเศษช่วยทดลองเขียนแม่แบบ

สวัสดีครับ แว๊บมาพอดี ไม่แน่ใจคุณ Teetaweepo เคยใช้หน้านี้ยังครับ พิเศษ:ExpandTemplates เป็นหน้าทดลองเขียนแม่แบบเหมือนกัน (อาจจะไม่ตรงกันพอดีเท่าไร) --Manop | พูดคุย 05:34, 7 เมษายน 2551

ขอบคุณมากครับ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ ขอลองศึกษาวิธีใช้ก่อนนะครับ ..

ผมเข้าใจถูกไหมครับว่า ใส่ชื่อข้างล่าง ใส่โค้ดข้างล่าง เพื่อไม่ต้องสร้างตัวบทความแม่แบบจริง ประมาณว่า แม่แบบเสมือนจริง แล้วเราก็ไปลองใช้ (พิมพ์{{ชื่อแม่แบบ}}) ที่หน้าอื่น มันจะมาดึงจากหน้านี้โดยเสมือนว่ามีแม่แบบถูกสร้างแล้ว แบบนี้ก็สะดวกกว่า {{ทดลองเขียนแม่แบบ}}

อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ปลดปัญหา แก้การลองแม่แบบชนกัน -- Sirius (Teetaweepo) 16:31, 7 เมษายน 2551


โค้ด +เทคนิค +บอต +เรื่องเกี่ยวข้อง

เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ด้วยบอต

สวัสดีครับ ไม่เจอซะนาน ^_^ เรียบร้อยครับ เปลี่ยนชื่อ หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาอิสลาม (มีบอตช่วยจัดการครับ) --Manop | พูดคุย 04:46, 27 มีนาคม 2551

สคริปต์จัดให้ ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ!

ขอขอบคุณที่ได้ใช้ และสนับสนุนสคริปต์จัดให้ตลอดมา ล่าสุดในรุ่น 5.5 เพิ่มความสามารถบริหารหมวดหมู่ พัฒนาเก็บกวาด โดยเพิ่มความสามารถอย่าง ย้ายโครงไปหลังหมวดหมู่ ปรับรูปแบบ ลบช่องว่าง เพิ่มช่องว่างระหว่างวงเล็บ และหลายๆอย่างเพื่อให้สคริปต์จัดให้ดีขึ้น ฉลาดขึ้น และช่วยเหลือคุณได้มากกว่าเดิม

วันนี้ผมมีความยินดีจะแจ้งว่าเราได้เริ่มโครงการกวาดล้างสระซ้อน ซึ่งสระซ้อนเป็นหนึ่งในปัญหาที่ได้เกิดขึ้นมาเวลานาน และด้วยวินโดวส์วิสตาที่ทำให้สามารถสังเกตเห็นสระซ้อนได้ชัดเจนขึ้น ทางสคริปต์จัดให้ ร่วมกับบอตคุง จึงได้เริ่มโครงการดังกล่าว เพื่อรวบรวมตัวอย่างรูปแบบสระซ้อนต่างๆ เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาสคริปต์ และโค้ดสำหรับการตรวจจับ และแก้ไข โดยมีเป้าหมายให้สามารถตรวจและแก้ไขได้อย่างน้อย 80% ของกรณีทั้งหมด คุณสามารถช่วยเราได้ ง่ายๆ เพียงแค่คัดลอกข้อความที่คุณพบเจอสระซ้อน หรือแจ้ง ยกตัวอย่างข้อความ หรือรูปแบบที่คุณเคยเจอก่อนหน้านี้ มาใส่ไว้ที่หน้าโครงการ ความช่วยเหลือของคุณจะช่วยพัฒนาสคริปต์จัดให้ สามารถแก้ไขปัญหาสระซ้อนได้ดีขึ้นกว่าเดิม สุดท้าย หากคุณมีปัญหา มีคำแนะนำ หรืออย่างไรก็อย่าลืมแวะมาคุยกันได้นะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 09:11, 20 พฤศจิกายน 2007

ปุ่มเพิ่มหัวข้อใหม่ในหน้าโครงการ

  • สวัสดีครับ ขอบคุณสำหรับความเห็นในหน้า วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ ตอนนี้ผมได้เพิ่มคำสั่งเรียบร้อยแล้ว (หน้านั้นจะมีปุ่ม + เพิ่มขึ้นมาแล้ว) เดี๋ยวจะไล่ใส่ในหน้าโครงการหน้าอื่น ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะครับผม
  • อีกอย่างนึงตอนนี้ผมลองเปิดเว็บบอร์ดที่ http://thaiwiki.itshee.com/ เผื่อให้ชาววิกิไทยได้แวะเวียนพูดคุยเล่น ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีกระทู้เท่าไร ถ้ามีเวลาแวะไปเยี่ยมชมได้ครับ --Manop | พูดคุย 05:11, 17 เมษายน 2551 (ICT)
ขอบคุณครับ ดีใจมากที่ไอเดียจะเป็นประโยชน์สำหรับหน้าวิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ#เพิ่มปุ่ม+และหน้า"คุยโครงการ"อื่นๆ
  • ที่แจ้งเรื่องเว็บบอร์ด ขอบคุณครับ add แล้ว ถ้าว่างจะไปคุย ทีนี้สงสัยว่า เป็นการแบ่งเบาสภากาแฟ หรือต่อไปจะไม่มีสภากาแฟ หรือมีหลักใช้งานต่างกัน (เช่น ซีเรียส/เรื่อยๆ ฯลฯ) ยังไงครับ -- Sirius (Teetaweepo) 08:26, 17 เมษายน 2551 (ICT)


โครงการ

วิกิพีเดีย vs วิธีใช้

เห็นท่าน Passawuth เปลี่ยนชื่อหน้า วิกิพีเดีย:... เป็น วิธีใช้:... เช่น วิธีใช้:การใส่ภาพ ฯลฯ (รวมถึงแก้ใน แม่แบบ:คู่มือ ด้วย) ไม่ทราบว่าเป็นนโยบายใหม่ หรือเปล่า จะได้ทำถูก หรือถ้าไม่ใช่ ถือว่านี้เป็นการเปิดประเด็นให้คุยกัน (ผมยังไงก็ได้ ทีนี้ผมมักตกข่าวบ่อยๆ ที่มาถามเพราะกลัวทำผิด) --Sirius (TeeTaweepo)

ก่อนอื่น ไม่ต้องเรียกว่าท่านหรอกครับ (ผมต่างหากที่ควรจะเรียก)...

เรื่องชื่อบทความ วิธีใช้:... นะครับ จะเป็นแบบพวกคู่มืออะไรอย่างนี้ ซึ่งวิกิฝรั่งเขาเปลี่ยนกันใช้ไปเยอะแล้วครับ แต่ของไทยเรายัง วิกิพีเดีย อยู่เลย โดย วิกิพีเดีย:... สำหรับเขา จะเป็นหน้า ลงความเห็น นโยบาย แนวทางปฏิบัติ เริ่มต้นต่างๆ แต่ถ้าหากเป็น วิธี... (แบบ... ใช้ sense เอาอ่ะครับ) ก็เปลี่ยนเป็น วิธีใช้: --Petje Bell (Passawuth)พูดคุย 08:28, 18 เมษายน 2551 (ICT)

ขอบคุณครับ ก่อนอื่นคุยเล่นก่อน ที่เรียก "ท่าน.." อยากให้เกียรติแต่ก็ไม่อยากให้ "คุณ.." ดูเป็นธุรกิจเกินไปยังไงไม่รู้ จะเรียกชื่อเฉยๆก็กระดากปาก ปกติไม่ค่อยเรียกชื่อใครเฉยๆ ถ้ารู้อายุจะเรียกพี่หรือน้องหรือสนิทก็ใช้ชื่อเล่น ทีนี้เป็นกลางๆก็เลยใช้ท่าน (และใช้เรียกกับทุกคนในเน็ตครับ) อย่างน้อยก็ดูไม่เป็นธุรกิจดี จนกลายเป็นว่าชินแล้ว ...

อะเข้าเรื่องนะครับ คือที่ถามคืออยากจะแน่ใจว่า ได้ปรึกษา+เห็นด้วยยอมรับ+รับทราบ กับท่านอื่นแล้ว ผมกลัวไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

สรุปว่าเป็น มติ แล้วนะครับ ถ้างั้นก็อย่าลืมทะยอยแก้ให้ครบนะครับ จะได้เป็นแบบแผนเดียวกัน ถ้าผมว่างอาจมาช่วยอีกแรง แต่ช่วงนี้คงแต่ได้เอาใจช่วยไปก่อน ^-^ เพราะยุ่งกับเขียนที่วิกิซอร์ซอยู่ วิกิซอร์ซไทยจะขาดอยู่มาก นอกจากสคริปต์ซึ่งท่าน Jutiphan สัญญาจะไปช่วยแล้ว ก็ยังมีบทความพวกคัมภีร์ทุกศาสนาหรือวรรณคดี เสร็จตรงนี้ถ้าไม่รู้จะทำอะไรว่างๆก็แวะไปเยี่ยมไปช่วยหรือบอกบุญต่อนะครับ -- Sirius (Teetaweepo)

ข้อตกลงปลีกย่อย +ความรู้ในวิชาเฉพาะทาง

การถอดเสียงภาษาอังกฤษนั้น ตัวอักษร C สามารถใช้ได้หลายแบบครับขึ้นอยู่กับเสียงที่ออก โดยถ้าเป็นคำขึ้นต้น จะเป็นเสียง [k] และ [s] เช่น cost [k] (c ตามด้วย a, o, u) หรือ cell [s] (c ตามด้วย e, i) ซึ่งกรณีแรกใช้ "ค" ส่วนกรณีหลังใช้ "ซ" ซึ่ง carbon จะเป็น "ค" ส่วนตัวสะกดอักษร c ก็มีหลายเสียงเช่นกันคือ [k] และ [s] --คุยกับผู้ใช้:Manop 20:54, 6 ตุลาคม 2007