ข้ามไปเนื้อหา

คีตา เรคคอร์ดส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คีตาแผ่นเสียงและเทป)
คีตา เรคคอร์ดส
โลโก้ในยุคคีตา เอ็นเตอร์เทนเมนต์
ก่อตั้ง24 ตุลาคม 2529 (2529-10-24)
แนวเพลงป็อป
ประเทศต้นกำเนิดไทย

คีตา เป็นชื่อของอดีตค่ายเพลงค่ายหนึ่งในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2529 โดยบุคลากรจากเจเอสแอล 3 คน คือ สมพงษ์ วรรณภิญโญ, ลาวัลย์ ชูพินิจ และจำนรรค์ อัษฎามงคล และยังมีวรชัย ธรรมสังคีติ จากบริษัท เมโทรแผ่นเสียงและเทป และประภาส ชลศรานนท์ มาร่วมเป็นหุ้นส่วน บริหารงานโดยสมพงษ์และประภาส ขณะนั้นใช้ชื่อว่า บริษัท คีตา แผ่นเสียงและเทป จำกัดโดยมีสัญลักษณ์ของบริษัทเป็นรูปนาฬิกาทราย ซึ่งอัลบั้มชุดแรกของค่ายออกวางแผงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2530 คืออัลบั้ม ดนตรีออกเดิน ของหนุ่มเสก - เสกสรร ชัยเจริญ และสำนักงานแห่งแรกตั้งอยู่ที่อาคารสยามคอนโดมิเนียม ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สตูดิโอแอคทีฟของเจเอสแอลเมื่อต้นปี พ.ศ. 2530[1]

ในช่วงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 คีตาแยกตัวจากเจเอสแอล มาบริหารเอง และย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ซอยศูนย์วิจัย 2 ใกล้กับโรต้ากรุ๊ป[1] จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น คีตา เรคคอร์ดส ในยุคของประภาสและสมพงษ์ ภายหลังทั้งคู่ลาออกไปก่อตั้งเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ร่วมกับปัญญา นิรันดร์กุล ที่ลาออกจากเจเอสแอลมาเช่นกัน ก่อนที่สมพงษ์จะแยกไปก่อตั้งทีวี ธันเดอร์ ในภายหลัง[1] จึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ในยุคแสงชัย อภิชาติวรพงษ์ และ คีตามิวสิค ในยุควิโรจน์ ปรีชาว่องไวกุล และ ไพวงษ์ เตชะณรงค์ ในช่วงสั้น ๆ ไม่กี่เดือน ก่อนจะปิดกิจการไปตามลำดับ (ในสมัยนั้นประเทศไทยจะมีค่ายเพลงใหญ่ อยู่ 4 ค่าย คือ แกรมมี่ คีตา อาร์เอส และ นิธิทัศน์)

และในวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2537 คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ได้จัดการแสดงรถบิ๊กฟุตขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่สนามกีฬากองทัพบก และมีการแสดงคอนเสิร์ตโดยศิลปินร็อกในสังกัด คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ บิลลี่ โอแกน[2]

ปัจจุบัน คีตามิวสิค ได้ปิดกิจการลงไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2541,2542 โดยได้ขายลิขสิทธิ์เพลงของคีตาให้กับ บริษัท ไรท์บียอนด์ จำกัด เป็นผู้จัดแทน

ศิลปินในค่ายที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "JSL / WP 20 ปีที่แยกทาง (จบในตอน)". โอเคเนชั่น. 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. บิ๊กฟุตที่จะมาแสดงที่เมืองไทย 2537

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]