คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมือง
แห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน

中国共产党中央政治局常务委员会
ภาพรวม
เลขาธิการใหญ่สี จิ้นผิง
สมาชิก
ผู้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ขึ้นตรงต่อ กรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
สมาชิก7
ที่ประชุม
ฉินเจิ้งเตี้ยน จงหนานไห่
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน[1][2]
คณะกรรมาธิการถาวรประจํากรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
อักษรจีนตัวย่อ中国共产党中央政治局常务委员会
อักษรจีนตัวเต็ม中國共產黨中央政治局常務委員會
ความหมายตามตัวอักษรคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คำย่อ
อักษรจีนตัวย่อ中央政治局常委会
อักษรจีนตัวเต็ม中央政治局常委會
ความหมายตามตัวอักษรคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองกลาง

คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมือง (อังกฤษ: Politburo Standing Committee; PSC) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (อังกฤษ: Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee of the Communist Party of China) เป็นคณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในอดีตจะประกอบด้วยสมาชิก 5–11 คน แต่ในปัจจุบันมีสมาชิกเจ็ดคน วัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการคือ เพื่อดำเนินการหารือเกี่ยวกับนโยบายและตัดสินใจในประเด็นสำคัญ เมื่อคณะกรมการเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานตัดสินใจที่ใหญ่กว่าไม่อยู่ในการประชุม ตามรัฐธรรมนูญของพรรค เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมืองด้วย[3]

ตามรัฐธรรมนูญของพรรค คณะกรรมาธิการกลางพรรคจะเป็นผู้เลือกคณะกรรมาธิการถาวร อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินี่เป็นเพียงพิธีการเท่านั้น เนื่องจากวิธีการกำหนดสมาชิกนั้นพัฒนาไปตามกาลเวลา ในทางกลับกัน คณะกรมการเมืองจะเลือกคณะกรรมาธิการถาวรผ่านการเจรจาลับ คณะกรรมธิการถาวรทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจและความเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และมีสมาชิกตั้งแต่ 5–9 คน[4] ในยุคเหมา เจ๋อตง เหมาจะเลือกและปลดสมาชิกเอง และในยุคเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้อาวุโสของพรรคจะปรึกษาหารือเพื่อกําหนดสมาชิกพรรคในคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา สมาชิกภาพของคณะกรมการเมืองได้รับการพิจารณาผ่านการพิจารณาและการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการโดยสมาชิกปัจจุบันและในอดีตของทั้งคณะกรมการเมืองและคณะกรรมการถาวร[5][6]

ในทางทฤษฎี คณะกรรมาธิการถาวรจะขึ้นตรงต่อคณะกรมการเมือง ซึ่งจะขึ้นตรงต่อคณะกรรมาธิการกลางพรรคที่ใหญ่กว่าตามลำดับ แต่ในทางปฏิบัติ คณะกรรมาธิการถาวรจะมีอำนาจเหนือหน่วยงานที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ เนื่องจากจีนเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว การตัดสินใจของคณะกรรมาธิการถาวรจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย สมาชิกภาพได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิดจากทั้งสื่อระดับชาติและผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองในต่างประเทศ ในอดีต บทบาทของคณะกรรมาธิการถาวรมีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไป ตัวอย่างเช่น ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม คณะกรรมาธิการถาวรแทบจะไม่มีอำนาจเลย

สมาชิกของคณะกรรมาธิการถาวรได้รับการจัดอันดับตามลำดับผู้นำอย่างเคร่งครัด ในอดีต เลขาธิการ (หรือประธานพรรค) จะอยู่ในอันดับแรก การจัดอันดับของผู้นำคนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตั้งแต่ปีคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เลขาธิการใหญ่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่ง ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน เลขาธิการคณะกรรมาธิการสอบวินัยส่วนกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานต่อต้านการทุจริตของพรรค และเลขาธิการลำดับที่หนึ่งของสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองมาโดยตลอด[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "天道酬勤绘沧桑——著名山水画家张登堂". gallery.artron.net. 瀚雅画廊. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2018. สืบค้นเมื่อ 10 December 2018.
  2. Li (李), Nanyang (南央). "鲍彤再看六四(二):我是如何被抓进秦城的". cn.nytimes.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2018. สืบค้นเมื่อ 10 December 2018.
  3. "16th National Congress of the Communist Party of China, 2002". China Internet Information Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2007. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
  4. "The Chinese Communist Party". Council on Foreign Relations (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
  5. Li, Cheng (2016). Chinese Politics in the Xi Jinping Era: Reassessing Collective Leadership (ภาษาอังกฤษ). Brookings Institution Press. ISBN 9780815726937. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  6. Kang Lim, Benjamin (20 November 2017). "Exclusive: China's backroom powerbrokers block reform candidates - sources". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  7. "China's Next Leaders: A Guide to What's at Stake". China File. 13 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2013. สืบค้นเมื่อ 18 November 2012.