ข้ามไปเนื้อหา

กรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
中国共产党中央委员会政治局
ภาพรวม
เลขาธิการสี จิ้นผิง
ผู้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการกลางพรรค
ขึ้นตรงต่อ คณะกรรมาธิการกลางพรรค
สมาชิก24 คน
ที่ประชุม
หฺวายเหรินถาง จงหนานไห่
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน[1]
กรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
อักษรจีนตัวย่อ中国共产党中央委员会政治局
อักษรจีนตัวเต็ม中國共產黨中央委員會政治局
ความหมายตามตัวอักษรคณะกรรมการการเมืองของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
กรมการเมือง
ภาษาจีน政治局
ความหมายตามตัวอักษรกรมการเมือง

กรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (อังกฤษ: Politburo of the Chinese Communist Party) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (อังกฤษ: Political Bureau of the Central Committee of the Communist Party of China) เป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ปัจจุบัน คณะกรรมการการเมืองประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูง 24 คน ซึ่งทำหน้าที่ดูแลพรรคและรัฐบาลกลาง โดยมีเลขาธิการพรรคเป็นผู้นำ และมีความแตกต่างจากกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ตรงที่อำนาจภายในคณะกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นจะกระจุกตัวมากขึ้นในคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมือง (Politburo Standing Committee) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคล 7 คนในคณะกรมการเมือง

แม้คณะกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะได้รับการเลือกตั้งโดยคณะกรรมาธิการกลางพรรคอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติ นักวิชาการด้านการเมืองระดับสูงของจีนเชื่อว่า กรมการเมืองเป็นองค์กรที่สืบทอดอำนาจกันเอง โดยสมาชิกใหม่ทั้งของคณะกรมการเมืองและคณะกรรมาธิการถาวรจะถูกเลือกผ่านการปรึกษาหารือระหว่างสมาชิกกรมการเมืองปัจจุบันและสมาชิกคณะกรรมาธิการถาวรที่เกษียณอายุแล้ว สมาชิกคณะกรมการเมืองทั้งชุดปัจจุบันและอดีตจะทำการสำรวจความคิดเห็นแบบไม่เป็นทางการ (straw polls) หลายครั้ง เพื่อประเมินระดับความสนับสนุนของสมาชิกใหม่แต่ละคน กระบวนการคัดเลือกสมาชิกคณะกรมการเมืองชุดใหม่จะเริ่มต้นด้วยการประชุมปิดลับของคณะกรรมาธิการถาวรชุดปัจจุบันในเมืองเป่ย์ไต้เหอ ในช่วงฤดูร้อนก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะเริ่มต้นขึ้น[2][3]

อำนาจของกรมการเมืองส่วนใหญ่มาจากความจริงที่ว่าโดยทั่วไปสมาชิกของกรมการเมืองจะดำรงตำแหน่งในรัฐบาล และควบคุมการแต่งตั้งบุคลากรที่กรมการเมืองและสำนักเลขาธิการมีอยู่ การควบคุมการแต่งตั้งบุคลากรนี้ ทำให้กรมการเมืองสามารถมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของรัฐบาล นอกจากนี้ สมาชิกกรมการเมืองบางคนยังดำรงตำแหน่งสำคัญในระดับภูมิภาคอีกด้วย แม้ว่าวิธีการทำงานภายในของกรมการเมืองจะไม่ชัดเจน แต่ดูเหมือนว่าคณะกรมการเมืองจะทำการประชุมกันเดือนละครั้ง และคณะกรรมาธิการถาวรจะประชุมกันทุกสัปดาห์ เชื่อกันว่าการประชุมดังกล่าวน้อยกว่าการประชุมของกรมการเมืองของอดีตสหภาพโซเวียตอย่างมาก วาระการประชุมถูกควบคุมโดยเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน การตัดสินใจมักจะทำโดยฉันทามติมากกว่าการลงคะแนนเสียงข้างมาก[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wang, Jun (15 June 2013). "中央政治局如何开会". qikan.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  2. Li, Cheng (2016). Chinese Politics in the Xi Jinping Era: Reassessing Collective Leadership (ภาษาอังกฤษ). Brookings Institution. ISBN 9780815726937. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  3. Kang Lim, Benjamin (20 November 2017). "Exclusive: China's backroom powerbrokers block reform candidates - sources". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  4. Miller, H. "Hu Jintao and the Party Politburo" (PDF). China Leadership Monitor. Hoover Institution. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-13. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.