ขันติพงษ์ ต.พิทักษ์กลการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขันติพงษ์ ต.พิทักษ์กลการ
(Kantipong Tor Phithakkolkarn)
ชื่อจริงสันติ เกื้อกูลพงษ์
ฉายาศอกโลหิต[1][2]
เกิด27 ตุลาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
ไทย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช[3]
ค่ายมวยลูกทัพอากาศ[3]

ขันติพงษ์ ต.พิทักษ์กลการ หรือ ขันติพงษ์ ลูกทัพอากาศ หรือ ครูวี เป็นอดีตนักมวยไทยชาวไทย เจ้าของฉายา "ศอกโลหิต"[4] ซึ่งเป็นแชมป์รุ่น 28 กก. เวทีมวยรังสิต และแชมป์รุ่น 115 ปอนด์ เวทีมวยสยามอ้อมน้อย[3]

ประวัติ[แก้]

ขันติพงษ์ เกิดที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มแข่งขันมวยไทยเมื่ออายุ 7 ขวบ โดยใช้ชื่อพรทวี เดชนิรันดร์ ต่อมา ได้ย้ายตามครอบครัวของเขาซึ่งมาทำสวนที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแข่งกว่า 200 ไฟต์ และแพ้เพียง 6 ครั้ง[3]

ครั้นสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็ได้มาอยู่ที่ค่ายลูกทัพอากาศ ของ น.อ.ยอดวันเผด็จ สุวรรณวิจิตร กระทั่งได้แชมป์รุ่น 28 กก. ที่เวทีมวยรังสิต จากการเป็นฝ่ายชนะดาราจิ๋ว ศิษย์รุ่งทรัพย์[3]

จากนั้น เขาก็เป็นฝ่ายชนะพรชัย ลูกพระบาท, ไผ่ตัน พลอยศักดา และอมรน้อย ศิษย์พวงทอง แล้วจึงแข่งขันที่สนามมวยเวทีลุมพินีเป็นครั้งแรก โดยเป็นฝ่ายชนะน็อกนพฤทธิ์ เกียรตินภดล (ก้องฟ้า อู๊ดดอนเมือง) ในยกแรก[3]

ขันติพงษ์ ยังเคยเป็นฝ่ายชนะสายฝน ม.อจลบุญ (ส.สุกัญญา) และได้เป็นแชมป์รุ่น 115 ปอนด์ ของเวทีมวยสยามอ้อมน้อย จากการเป็นฝ่ายชนะวันหน้า แก่นนรสิงห์ รวมถึงเป็นรองแชมป์มวยรอบเชลล์ ริมูล่า ซึ่งเขาเป็นฝ่ายแพ้วันเฉลิม ศิษย์ซ้อน้อง[3]

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551 ขันติพงษ์ เป็นฝ่ายแพ้เยตคิน ออสคูล (Yetkin Özkul)[5]

นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นฝ่ายชนะนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงอย่างแสนชัย จิระเกรียงไกร, แสนเชิงเล็ก จิระเกรียงไกร, อนุวัฒน์ แก้วสัมฤทธิ์, ธนูชัย พรบุญมี และมนต์สวรรค์ ลูกคลองจั่น กระทั่งได้มีโอกาสปะทะกับยอดซุปเปอร์ นราตรีกุล โดยได้รับค่าตัวไฟต์นี้ที่ 1.2 แสนบาท[3]

จากนั้น เขาเป็นฝ่ายแพ้กังวาลเล็ก เพชรยินดี ก่อนที่จะเดินทางสู่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อปะทะกับนักชกชาวญี่ปุ่น โดยขันติพงษ์เป็นฝ่ายชนะ แล้วจึงแขวนนวมในวัย 29 ปี[3]

ขันติพงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกริก และระดับปริญญาโทจากคณะรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[3]

เกียรติประวัติ[แก้]

  • แชมป์รุ่น 28 กก. เวทีมวยรังสิต[3]
  • แชมป์รุ่น 115 ปอนด์ เวทีมวยสยามอ้อมน้อย[3]
  • รองแชมป์ มวยรอบเชลล์ ริมูล่า[3]

มรดกสืบทอด[แก้]

หลังจากการแขวนนวม ขันติพงษ์ได้รับการชักชวนจาก ผศ.นนทชัย โมรา ซึ่งเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยและมวยสากลสมัครเล่นแก่มหาวิทยาลัย ทั้งทีมชายและทีมหญิง[1][2][3]

ตลอดจนเป็นผู้ฝึกสอนให้แก่สุรชัย นาคแถม ซึ่งเป็นนักมวยไทยสมัครเล่น เจ้าของเหรียญเงินจากการแข่งขันกีฬามวยในซีเกมส์ 2017 ที่ประเทศมาเลเซีย[3]

สถิติการแข่งขัน[แก้]

วันที่ ผล คู่ชก รายการ สถานที่จัด วิธีชนะ ยก
ไม่ทราบปี ชนะ ญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นไม่ทราบชื่อ ประเทศญี่ปุ่น
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย กังวาลเล็ก เพชรยินดี
ไม่ทราบปี ไทย ยอดซุปเปอร์ นราตรีกุล
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย มนต์สวรรค์ ลูกคลองจั่น
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ธนูชัย พรบุญมี
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย อนุวัฒน์ แก้วสัมฤทธิ์
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย แสนเชิงเล็ก จิระเกรียงไกร
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย แสนชัย จิระเกรียงไกร
8 มีนาคม พ.ศ. 2551 แพ้ ตุรกี เยตคิน ออสคูล ไฟต์ไนต์อินดึสเซิลดอร์ฟ ดึสเซิลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี การตัดสิน 5
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย วันเฉลิม ศิษย์ซ้อน้อง มวยรอบเชลล์ ริมูล่า
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย วันหน้า แก่นนรสิงห์ เวทีมวยสยามอ้อมน้อย
8 มีนาคม พ.ศ. 2549 ชนะ ไทย วันหน้า แก่นนรสิงห์ ศึกยอดวันเผด็จ สนามมวยราชดำเนิน ชนะน็อก 3 [6]
18 มกราคม พ.ศ. 2548 แพ้ ไทย มนต์สวรรค์ ลูกคลองจั่น ศึกเกียรติเพชร สนามมวยเวทีลุมพินี แพ้คะแนน[7]
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย สายฝน ม.อจลบุญ (ส.สุกัญญา)
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ชนะ ไทย เดชปราการ ป.ปรีชา ศึกจ้าวมังกร สนามมวยเวทีลุมพินี ชนะคะแนน
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย นพฤทธิ์ เกียรตินภดล (ก้องฟ้า อู๊ดดอนเมือง) สนามมวยเวทีลุมพินี ชนะน็อก 1
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย อมรน้อย ศิษย์พวงทอง
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ไผ่ตัน พลอยศักดา
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย พรชัย ลูกพระบาท
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ดาราจิ๋ว ศิษย์รุ่งทรัพย์ เวทีมวยรังสิต
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย กายสิทธิ์ ศักดิ์เมืองแกลง คู่เอก ศึกยอดวันเผด็จ สนามมวยฐานทัพเรือสงขลา แพ้คะแนน
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย อนุวัฒน์ แก้วสัมฤทธิ์ แพ้คะแนน (เป็นเอกฉันท์)

อ้างอิง[แก้]