กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ หรือ สุสานราชตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นสุสานหลวงที่เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระบรมอัฐิ และพระอัฐิของเจ้าหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ครองนครเชียงใหม่มาประดิษฐานรวมกัน ณ บริเวณลาน วัดสวนดอก (พระอารามหลวง) โดยเกิดจากพระดำริเมื่อปี พ.ศ. 2452 พระราชชายาดารารัศมีทรงพิจารณาเห็นว่า (กู่) อนุสาวรีย์เจ้าผู้ครองนครและพระญาติพระวงศ์ทั้งหลายตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันตกนั้น (ตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุ) ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงคิดที่จะหาที่ใหม่ซึ่งก็คือบริเวณวัดสวนดอกในปัจจุบันที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ภายหลังเมื่อเจ้าดารารัศมี พระราชชายา สิ้นพระชนม์ ได้อัญเชิญแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือแห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ในสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร)
ปัจจุบันกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478[1]
การนำพระอัฐิและอัฐิของผู้ใดไปประดิษฐานในบริเวณกู่แห่งนี้ นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ดูแลรับผิดชอบ 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายสายตระกูล ณ เชียงใหม่ และฝ่ายวัดสวนดอก โดยความเห็นชอบของเจ้าอาวาส จะถือหลักปฏิบัติว่าต้องเป็นอัฐิบุคคลที่เป็นลูกหลานและเครือญาติของเจ้าหลวง[2]
ลำดับกู่
[แก้]กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ประกอบไปด้วยกู่จำนวนมาก ซึ่งภายในกู่จะบรรจุอัฐิเชื้อพระวงศ์ที่สำคัญ ดังนี้
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
- ↑ เจ้าน้อยศุขเกษมกับนางมะเมีย เก็บถาวร 2011-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก นิตยสารเข็มทิศเชียงใหม่