ข้ามไปเนื้อหา

คอรานิซึม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กุรอานิซึม)

คอรานิซึม (อังกฤษ: Quranism;[1] อาหรับ: القرآنية อัลกุรอานิยะฮ์ มีชื่อเรียกอื่นว่า อิสลามที่ตามอัลกุรอานเท่านั้น (Quran-only Islam)[2] หรือ อิสลามแบบกุรอาน (Quranic Islam)[3]) เป็นสาขาของศาสนาอิสลามที่มีมุมมองความเชื่อว่าหมอสอนศาสนาได้ทำลายศาสนา และทางนำของศาสนาอิสลามต้องตามอัลกุรอานอย่างเดียวเท่านั้น จึงเป็นการต่อต้านสิทธิ์ ความน่าเชื่อถือของฮะดีษ[4][5] นักคอรานิซึมเชื่อว่าโองการในอัลกุรอานนั้นกระจ่างชัดและสมบูรณ์ และเป็นที่เข้าใจได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องใช้อ้างอิงข้อมูลจากภายนอก[6] พวกเขาอ้างว่าฮะดีษส่วนใหญ่ถูกแต่งขึ้นและตัวอัลกุรอานได้วิจารณ์ฮะดีษทั้งในเชิงเทคนิคและทั่วไป[7][4][8][9][10][11]

ในเรื่องของความเชื่อ นิติศาสตร์ และนิติบัญญัติ นักคอรานิซึมมีความแตกต่างจากซุนนีและชีอะฮ์ที่ถือว่าฮะดีษ ความเห็นของนักวิชาการ ความเห็นของเศาะฮาบะฮ์ อิจญ์มาอ์ และกิยาส เป็นอำนาจนิติบัญญัติในเรื่องของกฎหมายและความเชื่อเพิ่มเติมจากอัลกุรอาน[12][13] แต่ละนิกายที่ใช้ฮะดีษของศาสนาอิสลามมีชุดสะสมฮะดีษที่แตกต่างกันของตนเอง แต่นิกายอื่นมักปฏิเสธชุดฮะดีษของตน[14] ในขณะที่นักคอรานิซึมปฏิเสธชุดฮะดีษทั้งหมด[11][15][16] ระเบียบวิธีที่แตกต่างกันสร้างความแตกต่างในเรื่องเทววิทยาและกฎหมาย เช่นเดียวกันกับการเข้าใจอัลกุรอานระหว่างคอรานิซึมกับซุนนีและชีอะฮ์[11][17] นักคอรานิซึมอ้างว่าทั้งซุนนีและชีอะฮ์ได้บิดเบือนความหมายของอัลกุรอานเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตน[18][19]

คอรานิซึมมีขบวนการที่คล้ายกับกลุ่มในศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ เช่น ขบวนการแคไรต์ในศาสนายูดาห์ และมุมมอง โซลาสกรีปตูลา ของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

หลักคำสอน

[แก้]

นักคอรานิซึมเชื่อว่าพระดำรัสของพระเจ้าในอัลกุรอานนั้นกระจ่างชัดและสมบูรณ์ และเป็นที่เข้าใจได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องใช้อ้างอิงข้อมูลจากภายนอก โดยใช้โองการอย่าง 6:38, 12:111, 16:89, 7:185, 77:50, 68:37, 45:6 และ 6:114 เพื่อสนับสนุนความเชื่อของตน:[20]

فَبِأَيِّ حَدِيثٍ بَعْدَهُ يُؤْمِنُونَ

ดังนั้น คำบอกเล่าอันใดเล่าหลังจากอัลกุรอานที่พวกเขาจะศรัทธากัน?

—77:50

وَمَا مِن دَآبَّةٍ فِى ٱلْأَرْضِ وَلَا طَآٰئِرٍ يَطِيرُ بِجَنَاحَيْهِ إِلَّآ أُمَمٌ أَمْثَالُكُم مَّا فَرَّطْنَا فِى ٱلْكِتَاٰبِ مِن شَىْءٍ ثُمَّ إِلَىاٰ رَبِّهِمْ يُحْشَرُونَ

และไม่มีสัตว์ใด ๆ ในแผ่นดิน และไม่มีสัตว์ปีกใด ๆ ที่ยินด้วยสองปีกของมัน นอกจากประหนึ่งเป็นประชาชาติ เยี่ยงพวกเจ้านั้นเอง เรามิได้ให้บกพรองแต่อย่างใดในคัมภีร์ แล้วยังพระเจ้าของพวกเขานั้น พวกเขาจะถูกนำไปชุมนุม

—6:38


تِلْكَ ءَايَاٰتُ ٱللَّهِ نَتْلُوهَا عَلَيْكَ بِٱلْحَقِّ فَبِأَىِّ حَدِيثٍۭ بَعْدَ ٱللَّهِ وَءَايَاٰتِهِ يُؤْمِنُونَ

นั่นคือสัญญาณต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ ซึ่งเราได้สาธยายสัญญาณเหล่านั้นแก่เจ้าด้วยความจริง ดังนั้น ด้วยคำบอกเล่าอันใดเล่า หลังจากอัลลอฮฺ และสัญญาณต่าง ๆ ของพระองค์ที่พวกเขาจะศรัทธากัน?

—45:6

أَفَغَيرَ اللَّهِ أَبتَغى حَكَمًا وَهُوَ الَّذى أَنزَلَ إِلَيكُمُ الكِتٰبَ مُفَصَّلًا وَالَّذينَ ءاتَينٰهُمُ الكِتٰبَ يَعلَمونَ أَنَّهُ مُنَزَّلٌ مِن رَبِّكَ بِالحَقِّ فَلا تَكونَنَّ مِنَ المُمتَرينَ

อื่นจากอัลลอฮ์กระนั้นหรือ ที่ฉันจะแสวงหาผู้ชี้ขาดทั้ง ๆ ที่พระองค์เป็นผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่พวกท่านในสภาพที่ถูกแจกแจงไว้อย่างละเอียด? และบรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขานั้น พวกเขารู้ดีว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นถูกประทานลงมาจากพระเจ้าของเจ้า ด้วยความเป็นจริง เจ้าอย่าได้อยู่ในหมู่ผู้สงสัยเป็นอันขาด

—6:114

لَقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِّأُوْلِي الأَلْبَابِ مَا كَانَ حَدِيثًا يُفْتَرَى وَلَكِن تَصْدِيقَ الَّذِي بَيْنَ يَدَيْهِ وَتَفْصِيلَ كُلَّ شَيْءٍ وَهُدًى وَرَحْمَةً لِّقَوْمٍ يُؤْمِنُونَ

โดยแน่นอนยิ่ง ในเรื่องราวของพวกเขา เป็นบทเรียนสำหรับบรรดาผู้มีสติปัญญา มิใช่เป็นเรื่องราวที่ถูกปั้นแต่งขึ้น แต่ว่าเป็นการยืนยันความจริงที่อยู่ต่อหน้าเขา และเป็นการแจกแจงทุกสิ่งทุกอย่าง และเป็นการชี้ทางที่ถูกต้อง และเป็นการเมตตาแก่หมู่ชนผู้ศรัทธา

—12:111

وَيَوْمَ نَبْعَثُ فِي كُلِّ أُمَّةٍ شَهِيدًا عَلَيْهِم مِّنْ أَنفُسِهِمْ وَجِئْنَا بِكَ شَهِيدًا عَلَى هَؤُلاء وَنَزَّلْنَا عَلَيْكَ الْكِتَابَ تِبْيَانًا لِّكُلِّ شَيْءٍ وَهُدًى وَرَحْمَةً وَبُشْرَى لِلْمُسْلِمِينَ

และวันที่เราจะตั้งพยานขึ้นจากทุกประชาชาติ (เพื่อเป็นพยาน) ต่อพวกเขาจากหมู่พวกเขาเอง และเราก็นำเจ้ามาเป็นพยานต่อเขาเหล่านั้นและเราได้ให้คัมภีร์แก่เจ้าเพื่อชี้แจงแก่ทุกสิ่ง และเพื่อเป็นทางนำและเป็นความเมตตา และเป็นข่าวดีแก่บรรดามุสลิม

—16:89

أَوَلَمْ يَنظُرُواْ فِي مَلَكُوتِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَمَا خَلَقَ اللّهُ مِن شَيْءٍ وَأَنْ عَسَى أَن يَكُونَ قَدِ اقْتَرَبَ أَجَلُهُمْ فَبِأَيِّ حَدِيثٍ بَعْدَهُ يُؤْمِنُونَ

และพวกเขามิได้มองดูในอำนาจทั้งหลายแห่งบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน และสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงบังเกิดขึ้นดอกหรือ? และแท้จริงอาจเป็นไปได้ว่า กำหนดเวลาแห่งความตายของพวกเขานั้นได้ใกล้มาแล้ว? แล้วก็ถ้อยคำใดเล่าที่พวกเขาจะศรัทธากันหลังจากอัลกุรอาน?

—7:185

مَا لَكُمْ كَيْفَ تَحْكُمُونَ
أَمْ لَكُمْ كِتَابٌ فِيهِ تَدْرُسُونَ

เกิดอะไรขึ้นแด่พวกเจ้า ทำไมพวกเจ้าจึงตัดสินเช่นนั้น? หรือว่าที่พวกเจ้ามีคัมภีร์ไว้สำหรับอ่าน?

—68:36-37

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brown, Rethinking tradition in modern Islamic thought, 1996: p.38-42
  2. Rab, Abdur (2014-02-11). Rediscovering Genuine Islam: The Case for a Quran-Only Understanding.
  3. Öztürk, Yaşar Nuri (1999). Kur'an'daki İslam.
  4. 4.0 4.1 Musa, Aisha Y. (2010). "The Qur'anists". Religion Compass. John Wiley & Sons. 4 (1): 12–21. doi:10.1111/j.1749-8171.2009.00189.x.
  5. Mansour, Ahmed Subhy (2018-03-02). Refaat, Amin (บ.ก.). How to Understand the Holy Quran. แปลโดย Fathy, Ahmed.
  6. Yuksel, Edip (2012-02-20). Running Like Zebras.
  7. al-Manar 12(1911): 693-99; cited in Juynboll, Authenticity, 30; cited in D.W. Brown, Rethinking tradition in modern Islamic thought, 1996: p.120
  8. Voss, Richard Stephen (April 1996). "Identifying Assumptions in the Hadith/Sunnah Debate". Monthly Bulletin of the International Community of Submitters. 12 (4). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2016. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
  9. admin. "19.org". 19.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
  10. "KUR'ANİ-BİLİMSEL-TEOLOJİ, BİLİMSEL-KUR'ANİ-TEOLOJİ VE KUR'ANİ-AHENKSEL-TEOLOJİ – Caner Taslaman" (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Hadis & Sünnet: Şeytani Bidatler". Teslimolanlar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  12. John L. Esposito, บ.ก. (2014). "Ahl al-Hadith". The Oxford Dictionary of Islam. Oxford: Oxford University Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-27. สืบค้นเมื่อ 2020-07-18.
  13. Dorman, Emre (2021). 101 Soruda Kur'an: Dini Konularda En Çok Merak Edilen Sorular.
  14. "Şia (Şiiler) hadis kitapları hakkında bilgi verir misiniz? Bizim hadis kaynaklarımızla onlarınki çok büyük farklılıklar gösteriyor; neden böyle farklılıklar var?. » Sorularla İslamiyet". Sorularla İslamiyet (ภาษาตุรกี). 2007-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
  15. Öztürk, Yaşar Nuri (2015). İslam Nasıl Yozlaştırıldı: Vahyin Dininden Sapmalar, Hurafeler, Bid’atlar.
  16. "Appendix 19, Hadith & Sunna: Satanic Innovations". www.masjidtucson.org. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
  17. Dorman, Emre (2016). Allah'a Öğretilen Din.
  18. Muhammad, A. "True Islam - Misinterpreted Verses". Quran-Islam. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. Yüksel, Edip (2017). Türkçe Kuran Çevirilerindeki Hatalar.
  20. Muhammad, A. "True Islam - Fully Detailed Scripture". Quran-Islam. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Aisha Y. Musa, Hadith as Scripture: Discussions on the Authority of Prophetic Traditions in Islam, New York: Palgrave, 2008. ISBN 0-230-60535-4.
  • Ali Usman Qasmi, Questioning the Authority of the Past: The Ahl al-Qur'an Movements in the Punjab, Oxford University Press, 2012. ISBN 0-195-47348-5.
  • Daniel Brown, Rethinking Tradition in Modern Islamic Thought, Cambridge University Press, 1996. ISBN 0-521-65394-0.