กุรบาน
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
|
กุรบานี (อาหรับ: قربانى) กุรบาน (قربان) บ้างก็สะกดว่า กุรบ่าน (มลายู: Kurban, มลายูปาตานี: "ฆรือแบ, Gerbae") หรือในกฎหมายอิสลามเรียกว่า อุฎฮียะฮ์ (أضحية) เป็นพิธีการเชือดพลีปศุสัตว์ในช่วงอีดิลอัฎฮา[1][2]
แนวคิดและคำอธิบายของศัพท์นี้มาจากอัลกุรอาน และมีความคล้ายกับkorbanในศาสนายูดาห์ และkourbaniaในศาสนาคริสต์ ถึงแม้ว่าคำศัพท์และแนวคิดจะมีความคล้ายกับศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ แต่มีการต่อต้านเครื่องเผาบูชาอย่างชัดเจน[3] แต่จะนำส่วนที่ผ่านการเชือดมาแจกจ่ายเป็นอาหารแก่ผู้ยากไร้และครอบครัวของผู้ที่ทำการเชือดเพื่อบริโภค สัตว์ที่ใช้เป็นสัตว์พลีนั้นได้แก่ อูฐ แพะ แกะ และวัว
กุรอานและฮะดีษ
[แก้]ศัพท์ กุรบาน ปรากฏในอัลกุรอานสามครั้ง: มีหนึ่งครั้งที่กล่าวถึงการเชือดพลีตัตว์ และสองครั้งกล่าวถึงการเชือดในความหมายทั่วไปที่ว่าการกระทำใด ๆ อาจนำพาผู้หนึ่งเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า ในทางตรงกันข้าม ษะบีฮะฮ์สื่อถึงการเชือดพลีทั่วไปของศาสนาอิสลามในช่วงนอกวันอุฎฮียะฮ์ ส่วนในฮะดีษมักใช้สลับกันระหว่างอุฎฮียะฮ์กับกุรบาน
ฮาบีลและกอบีล
[แก้]ศัพท์แรกในอัลกุรอานที่กล่าวถึงเรื่องนี้อยู่ในเรื่องราวการถวายของอาเบลและคาอิน (ฮาบีลและกอบีล)[1]
และเจ้าจงอ่านให้พวกเขาฟัง ซึ่งข่าวคราวเกี่ยวกับบุตรชายสองคน [ฮาบีล (อาเบล) และกอบีล (คาอิน)] ของอาดัมตามความเป็นจริง ขณะที่ทั้งสองได้กระทำการพลีซึ่งสิ่งพลีอยู่นั้น แล้วสิ่งพลีนั้นก็ถูกรับจากคนหนึ่งในสองคน และมันมิได้ถูกรับจากอีกคนหนึ่ง เขา (กอบีล) จึงได้กล่าวว่า "แน่นอน ข้าจะฆ่าเจ้าให้ได้" เขา (ฮาบีล) กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮ์จะทรงรับจากหมู่ผู้มีความยำเกรงเท่านั้น
— กุรอาน 5:27[4]
อิบรอฮีมและอิสมาอีล
[แก้]การกุรบานมักมีความเกี่ยวโยงกับเรื่องราวทางศาสนาของอิบรอฮีม (อัครบิดรอับราฮัม) ที่ฝันว่าตนเองเชือดอิสมาอีล (อิชมาอิล) ลูกชายของท่าน ตามคำบรรยายในอัลกุรอาน ลูกชายของท่านยอมที่จะให้ตนเองถูกเชือดเพื่ออัลลอฮ์ แต่ก่อนที่ท่านจะเชือดลูกชาย อัลลอฮ์ทรงสั่งให้หยุดและประทานให้เชือดแกะแทน
เนื้อที่ผ่านการเชือดจะแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยหนึ่งส่วนสามให้แก่ครอบครัวที่ทำการเชือดพลี ส่วนที่เหลือแจกจ่ายให้กับผู้ที่ต้องการและคนยากจน[5]
เงื่อนไขการทำกุรบาน
[แก้]สำหรับมุสลิมส่วนใหญ่ การเชือดพลีกุรบานในช่วงอีดิลอัฎฮาถือมักเน้นย้ำถึงความสำคัญทางศาสนา แต่ไม่ถือเป็นฟะรีเฎาะฮ์ (فريضة; ข้อบังคับ) ยกเว้นสำนักฮะนะฟี[6]
การเชือดพลีสัตว์จะทำได้ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 10 ถึงช่วงดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 13 ซุลฮิจญะฮ์ เดือนที่ 12 ในปฏิทินอิสลาม[7][8] ในวันนั้น มุสลิมทั่วโลกจะทำการกุรบาน ซึ่งหมายถึงการเชือดพลีสัตว์ในวันที่กำหนด เงื่อนไขสัตว์ที่จะนำมาเชือด มีทั้งแกะ แพะ วัว (ควาย, โค) หรืออูฐ (ซึ่งตรงกันข้ามกับศาสนายูดาห์) สัตว์ที่จะเชือดต้องมีสุขภาพที่ดี ปราศจากโรค และไม่ตาบอดหรือบอดข้างเดียว ไม่พิกลพิการ หางหรือหูขาด (การตัดหูหรือหางสัตว์เป็นสิ่งที่ต้องห้าม) และต้องเชือดตามมาตรฐานษะบีฮะฮ์ สำนักฟิกฮ์ส่วนใหญ่อนุญาตให้สัตว์ที่เชือดต้องเป็นสัตว์เลี้ยง[9] นอกจากนี้ กฎหมายอิสลามยังห้ามทำให้สัตว์ที่จะเชือดสลบ เพื่อให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอไหลออกมาได้โดยไม่ต้องใช้ยาสลบ[10]
เนื้อที่ผ่านการเชือดจะแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งให้กับผู้ที่ต้องการและคนยากจน อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนเชือด และอีกส่วนให้แก่ครอบครัว โดยส่วนที่สามสามารถให้ใครก็ได้ตามที่ต้องการ[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 กุรอาน: 5:27
- ↑ International Islamic University of Malaysia, Kitab Al-Adhiya (Book of Sacrifices) Translation of Sahih Muslim book 22, https://www.iium.edu.my/deed/hadith/muslim/022_smt.html Accessed 9/28/21
- ↑ The Qur'an Saheeh International Translation, https://quran.com/22/34-43
- ↑ "ซูเราะฮ์ อัลมาอิดะฮ์: 27".
- ↑ 5.0 5.1 "Id al-Adha". Oxford Islamic Studies Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11.
- ↑ "Rules of Qurbani: All Your Questions Answered | Muslim Hands UK".
- ↑ "The Complete Story of Qurbani: Qurbani in the Qur'an and Hadith | Muslim Hands UK". muslimhands.org.uk. 17 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
- ↑ "Rules of Qurbani: All Your Questions Answered | Muslim Hands UK". muslimhands.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
- ↑ "Rules of Qurban - MAA International".
- ↑ "Up to 99 million animals 'needlessly killed without stunning' every year". Independent.co.uk. 24 December 2021.