การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์
เนินพระวิหาร หรือ อัลฮะเราะมุชชะรีฟ สถานที่เกิดการปะทะ
วันที่5 เมษายน พ.ศ. 2566; 12 เดือนก่อน (2566-04-05) (ก่อนรุ่งอรุณ)
สถานที่เนินพระวิหาร/ฮะเราะมุชชะรีฟ เยรูซาเลม
คู่ขัดแย้ง
ชาวปาเลสไตน์
ความสูญเสีย
  • บาดเจ็บ 1 นาย[1]
  • บาดเจ็บ 50 คน[1]
ชาวปาเลสไตน์ถูกจับกุม 400 คน

เกิดการประจันหน้าด้วยความรุนแรงหลายครั้งระหว่างชาวปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอลที่บริเวณมัสยิดอัลอักศอในกรุงเยรูซาเลมในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 หลังจากการละหมาดเดือนเราะมะฎอนในช่วงเย็น ชาวปาเลสไตน์ได้กักตัวเองภายในมัสยิด โดยพวกเขาได้รับแจ้งจากรายงานข่าวว่าชาวยิววางแผนที่จะบูชายัญแพะที่บริเวณนั้น (ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอิสราเอล) ต่อมาตำรวจอิสราเอลได้บุกเข้าไปในมัสยิดพร้อมอุปกรณ์ปราบจลาจล ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 50 ราย[1] และมีผู้ถูกจับกุม 400 คน

หลังจากการปะทะ กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์[2] ยิงจรวดเข้าใส่อิสราเอลจากฉนวนกาซาและประเทศเลบานอน ซึ่งได้รับการตีความว่าเป็นการตอบโต้ต่อเหตุการณ์ที่อัลอักศอ[3]

ภูมิหลัง[แก้]

การปะทะกันเกิดขึ้นในช่วงที่ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากใน พ.ศ. 2566 เดือนเราะมะฎอนของชาวมุสลิม เทศกาลปัสกาของชาวยิว และสัปดาห์อีสเตอร์ของชาวคริสเตียน เวียนมาถึงในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน[4]

นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเราะมะฎอนเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ผู้ละหมาดชาวมุสลิมได้พยายามที่จะสวดมนต์ข้ามคืนในมัสยิดอัลอักศอ ซึ่งปกติแล้วจะอนุญาตให้ทำได้เฉพาะในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือน (ในปี 2566 คือวันที่ 11–21 เมษายน) ตำรวจอิสราเอลได้เข้าไปในมัสยิดเพื่อขับไล่ผู้ละหมาดทุกคืนในช่วงเดือนดังกล่าว[2]

เมื่อวันที่ 3 เมษายน ตำรวจอิสราเอลได้จับกุมนักเคลื่อนไหวชาวยิวคนหนึ่งโดยฝ่ายบริหารของเนินพระวิหารพยายามที่จะสกัดกั้นความต้องการของกลุ่มชาวยิวที่จะฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชาวยิวสวดมนต์ในบริเวณมัสยิดอัลอักศอ และประกอบพิธีกรรมบูชายัญในเทศกาลปัสกา ซึ่งจะเริ่มขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 4 เมษายน[5] ในวันเดียวกันนั้น อิตามาร์ เบน-กวีร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอล ได้สนับสนุนให้กลุ่มชาวยิวไปที่เนินพระวิหารในช่วงเทศกาลปัสกา แต่งดเว้นพิธีกรรมบูชายัญ[6] ตามสภาพการณ์ปัจจุบันชาวยิวได้รับอนุญาตให้เข้าชมบริเวณเนินพระวิหารแต่ไม่ให้สวดมนต์ที่นั่น[7]

เหตุการณ์[แก้]

การเผชิญหน้าเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 4 เมษายน เมื่อชาวปาเลสไตน์สองสามร้อยคนขังตัวเองอยู่ในมัสยิดอัลอักศอหลังจากการละหมาดในเดือนเราะมะฎอน ท่ามกลางความกังวลว่าชาวยิวอาจมุ่งหน้าไปที่เนินพระวิหาร เพื่อประกอบพิธีกรรมบูชายัญแม้ว่าจะมีข้อห้ามก็ตาม[8] ตำรวจอิสราเอลตอบสนองสถานการณ์โดยบุกเข้าไปในมัสยิดพร้อมอุปกรณ์ปราบจลาจล ชาวปาเลสไตน์ในเหตุการณ์ระบุว่า ตำรวจได้ขว้างระเบิดแสง ยิงกระสุนยาง และทุบตีชาวปาเลสไตน์บนพื้นด้วยกระบอง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 50 คน และผู้ถูกจับกุม 400 คน ตามการระบุของตำรวจอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ได้ขว้างก้อนหินและจุดพลุดอกไม้ไฟใส่ตำรวจ วีดิทัศน์ที่เผยแพร่โดยตำรวจอิสราเอลแสดงให้เห็นว่ามีการใช้ดอกไม้ไฟภายในมัสยิด และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ[1][8] เหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มความตึงเครียดระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ และดึงดูดความสนใจจากนานาชาติต่อความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในภูมิภาคนี้[3]

คืนถัดมา ผู้ละหมาดชาวปาเลสไตน์กักกันตัวเองในมัสยิดอีกครั้ง และได้ถูกตำรวจอิสราเอลกวาดต้อนออกไป[2]

ปฏิกิริยา[แก้]

หนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ออฟอิสราเอล รายงานการประเมินของเจ้าหน้าที่อาวุโสของอิสราเอลระบุว่า ตำรวจ "ทำเกินกว่าเหตุ" ในการปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ จากการให้น้ำหนักว่าอัลอักศอกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการเรียกชุมนุม ซึ่งเป็นการสนับสนุนศัตรูของอิสราเอลและทำให้ชื่อเสียงของอิสราเอลเสียหาย ผู้ประเมินเรียกให้ตรวจสอบแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ซึ่งพวกเขาถูกสั่งให้ปฏิบัติด้วยความยับยั้งชั่งใจ อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่าตำรวจถูกบังคับให้เข้าไปในมัสยิดหลังจากได้รับข่าวว่าชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเก็บอาวุธไว้ที่นั่นโดยมีจุดประสงค์เพื่อโจมตีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและพลเรือนชาวอิสราเอล เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอิสราเอลอีกคนหนึ่งกล่าวโทษองค์กรเยรูซาเลมวักฟ์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากจอร์แดนในการดูแลมัสยิดอัลอักศอว่าไม่มีมาตรการที่เพียงพอในการจัดการกับผู้ก่อการจลาจลชาวปาเลสไตน์[9] ทางการปาเลสไตน์และฮามาสประณามการกระทำของตำรวจอิสราเอล ซึ่งพวกเขาอธิบายว่าเป็นการก่ออาชญากรรม ทางการอิสราเอลปกป้องการกระทำของตนว่าเป็นการกระทำเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน[10]

ปีเตอร์ สตาโน โฆษกหัวหน้าฝ่ายกิจการภายนอกของสหภาพยุโรปกล่าวว่า สหภาพยุโรป "กังวลอย่างยิ่ง" ต่อความรุนแรงที่มัสยิดอัลอักซอในกรุงเยรูซาเลม และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายแสดงความยับยั้งชั่งใจในช่วงวันหยุดทางศาสนา[11]

เคมัล คือลึชดาโรลู ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของตุรกีประณามการโจมตีดังกล่าว[12]

นาวาฟ อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์ เจ้าผู้ครองนครรัฐคูเวต ทรงประณามการรุกรานของอิสราเอลต่อมัสยิดอัลอักศอ

นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด แสดงความกังวลและเรียกร้องให้ลดความรุนแรงลง[13]

แถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ "ประณามอย่างรุนแรงต่อการบุกโจมตีมัสยิดอัลอักศอโดยตำรวจอิสราเอล ... และย้ำว่าผู้ละหมาดไม่ควรกักกันตัวเองภายในมัสยิดและสถานที่สักการะโดยมีอาวุธและวัตถุระเบิด"[14]

กระทรวงการต่างประเทศโอมานออกแถลงการณ์ประณามและกล่าวโทษการโจมตีมัสยิดอัลอักศอของกองกำลังยึดครองของอิสราเอล[15]

นอกจากนี้ การกระทำของตำรวจอิสราเอลยังถูกประณามในแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศของกาตาร์,[16] ตุรกี,[17] จอร์แดน,[18] ซาอุดิอาระเบีย,[19] บาห์เรน,[20] อิหร่าน,[21] โมร็อกโก,[22] แอลจีเรีย,[23] ปากีสถาน,[24] อัฟกานิสถาน,[25] บังกลาเทศ[26] และมาเลเซีย[27]

ผลที่ตามมา[แก้]

หลังเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์เตือนถึงการเผชิญหน้ากันที่จะตามมา[2] กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) กล่าวว่ามีการยิงจรวดเก้าลูกจากฉนวนกาซาสู่อิสราเอล[3]

เมื่อวันที่ 6 เมษายน กองกำลังป้องกันประเทศระบุว่ามีการยิงจรวดบางส่วนจากเลบานอน[28] มีรายงานว่าจรวดดังกล่าวถูกยิงโดยกลุ่มปาเลสไตน์[2][28] ไม่มีความเห็นในทันทีจากกองทัพเลบานอน[28] ในแถลงการณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร กองกำลังชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในเลบานอน (UNIFIL) กล่าวถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า "ร้ายแรงอย่างยิ่ง" และเรียกร้องให้มีความยับยั้งชั่งใจ โดยระบุว่า อารอลโด ลาซาโร (Aroldo Lazaro) ผู้บัญชาการ UNIFIL กำลังติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย[29]

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มฮามาสได้เปิดฉากการโจมตีครั้งใหญ่ต่ออิสราเอลด้วยการรุกรานและโจมตีด้วยจรวด โมฮัมเมด เดอิฟ ผู้บัญชาการกองพลน้อยอิซซ์ อัดดิน อัลกัสซาม อ้างว่าการโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้ต่อ "การดูหมิ่นมัสยิดอัลอักศอ"[30]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Al-Aqsa mosque: Violence as Israeli police raid Jerusalem holy site". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2023.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Debre, Isabel (5 เมษายน 2023). "Violence erupts at Jerusalem holy site for a 2nd night". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2023.
  3. 3.0 3.1 3.2 Salma, Abeer; Tawfeeq, Mohammed; Hauser, Jennifer (5 เมษายน 2023). "Israeli police storm al-Aqsa mosque during Ramadan prayers, sparking rocket fire from Gaza". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
  4. Gritten, David; Lukov, Yaroslav (5 เมษายน 2023). "Jerusalem: Clashes erupt at al-Aqsa mosque". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
  5. Williams, Dan (3 เมษายน 2023). "Israel detains Passover sacrifice campaigner as Al Aqsa tensions simmer". Reuters – โดยทาง www.reuters.com.
  6. Obel, Ash (3 เมษายน 2023). "Police minister: Jews must go to Temple Mount on Passover — but no animal sacrifice". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2023.
  7. ToI Staff (9 เมษายน 2023). "Hundreds of Jews tour tense Temple Mt.; Jordan warns against violations of status quo". The Times of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2023.
  8. 8.0 8.1 "Ramadan and Passover raise tensions at Jerusalem holy site". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 5 เมษายน 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
  9. "Top Israeli official admits police overreacted in beating Palestinians inside al-Aqsa". The Times of Israel. 9 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2023.
  10. "Israeli forces storm Al-Aqsa, attack worshippers during Ramadan". Al Jazeera. 5 เมษายน 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
  11. "EU 'deeply concerned' by violence at Jerusalem's Al-Aqsa Mosque". www.aa.com.tr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
  12. "Kılıçdaroğlu'ndan tepki: Mescid-i Aksa'daki saldırıyı şiddetle lanetliyorum". www.cumhuriyet.com.tr (ภาษาตุรกี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
  13. Raycraft, Richard. "Trudeau calls for peace following Israeli raid of mosque". Canadian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2023.
  14. "UAE condemns storming of Al-Aqsa Mosque by Israeli police". www.mofaic.gov.ae. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2023.
  15. "Oman denounces occupation forces' storming of Al Aqsa Mosque". Foreign Ministry of Oman. 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2023.
  16. "Qatar condemns in the strongest terms the Israeli occupation forces storming of Al-Aqsa Mosque and attacking worshippers". www.mofa.gov.qa. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  17. Republic of Türkiye Ministry of Foreign Affairs (5 เมษายน 2023). "Press Release Regarding the Attacks and Provocations On Al-Aqsa Mosque". สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  18. الأردن يحذر من استمرار اعتداءات شرطة الاحتلال الإسرائيلي على المصلين. mfa.gov.jo (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  19. توضح وزارة الخارجية أن المملكة العربية السعودية تتابع بقلقٍ بالغ اقتحام قوات الاحتلال الإسرائيلي لباحات المسجد الأقصى الشريف، والاعتداء على المصلين، واعتقالها عددٍ من المواطنين الفلسطينيين. www.mofa.gov.sa (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  20. "Bahrain condemns Israeli police raiding Al-Aqsa Mosque". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  21. "Tweet of the Foreign Ministry spokesman". Ministry of Foreign Affairs of the Islamic Republic of Iran (ภาษาอังกฤษ). 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  22. "Statement". Ministry of Foreign Affairs, African Cooperation and Moroccan Expatriates (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  23. "Algeria condemns storming of Al-Aqsa Mosque by the Israeli occupation authority". Ministry of Foreign Affairs and National Community Abroad. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  24. "Pakistan strongly condemns Israeli raid on Al-Aqsa Mosque – Ministry of Foreign Affairs" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
  25. "د ااا د بهرنیو چارو وزارت په الاقصی جومات کي په بې دفاع لمونځ کوونکو د اسرائیلي ځواکونو ظالمانه برید په کلکو ټکو غندي". mfa.gov.af. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023. (ในภาษาปาทาน).
  26. "Ministry of Foreign Affairs". Ministry of Foreign Affairs- Bangladesh. 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2023.
  27. "Malaysia strongly condemns the attacks by Israeli occupation forces on worshippers in the Al-Aqsa mosque". Ministry of Foreign Affairs - Malaysia. 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2023.
  28. 28.0 28.1 28.2 "Israel intercepts rocket fire from southern Lebanon". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2023.
  29. "UNIFIL urges restraint after Israel intercepts rockets fired from southern Lebanon". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2023.
  30. חלבי, עינב (7 ตุลาคม 2023). "מוחמד דף על מתקפת הרקטות: ישראל חיללה את אל-אקצא, קורא לערביי ישראל להצטרף". Ynet. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2023. (ในภาษาฮีบรู).