การบังคับให้ฆ่าตัวตาย
การบังคับให้ฆ่าตัวตาย (อังกฤษ: forced suicide) เป็นวิธีการลงโทษโดยผู้ถูกลงโทษมีโอกาสเลือกระหว่างการฆ่าตัวตายเอง หรือการตายด้วยวิธีอื่นที่อาจจะได้รับการทรมานมากกว่า, หรือการจำขังสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือการเผชิญหน้าต่อความอัปยศต่าง ๆ
ในสมัยกรีกและโรมันโบราณ
[แก้]การบังคับให้ฆ่าตัวตายเป็นวิธีการลงโทษที่ใช้กันบ่อยในสมัยกรีก และโรมันโบราณ การลงโทษด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการลงโทษที่ให้เกียรติแก่ผู้ถูกลงโทษที่สงวนไว้สำหรับผู้มียศถาบรรดาศักดิ์สูงๆ ผู้มีโทษถึงตายเท่านั้น ผู้มีโทษอาจจะเลือกดื่มยาพิษที่ทำจากเฮ็มล็อก (Conium) หรือล้มลงไปบนดาบของตนเอง ในสมัยโรมันโบราณบางครั้งวิธีการฆ่าตัวตายเช่นที่ว่านี้ก็เป็นผลมาจากเศรษฐกิจ ในสมัยนั้นผู้มีโทษถึงตายจะถูกยึดทรัพย์โดยรัฐบาล ผู้มีโทษก็อาจจะพยายามเลี่ยงการถูกยึดทรัพย์เพื่อให้ทรัพย์สมบัติตกไปเป็นของลูกหลานแทนที่โดยชิงฆ่าตัวตายเสียก่อนที่จะถูกจับ
การบังคับให้ฆ่าตัวตายที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือการการฆ่าตัวตายของนักปรัชญาโสกราตีสผู้ดื่มยาพิษหลังจากการพิจารณาของศาลในข้อหาว่าสร้างความเสื่อมโทรมทางความคิดแก่เยาวชนชาวเอเธนส์ อีกกรณีหนึ่งก็เมื่อเซเนกานักปรัชญาลัทธิสโตอิกฆ่าตัวตายตามคำขอร้องของจักรพรรดิเนโรผู้เป็นลูกศิษย์ผู้ต่อมาก็ถูกบังคับให้ฆ่าตัวตายเช่นกัน การบังคับให้ฆ่าตัวตายอื่นๆ ก็ได้แก่การตายของบรูตุส, มาร์ค แอนโทนี และจักรพรรดิโอโธ
ในเอเชีย
[แก้]การบังคับให้ฆ่าตัวตายเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์จีน เช่นในกรณีที่แม่ทัพหรือผู้นำทางทหารนำความเสียหายมาสู่บ้านเมือง ก็จะได้รับคำสั่งให้ฆ่าตัวตาย นอกจากนั้นก็ยังเป็นวิธีที่ใช้บ่อยในการสังหารอาชญากรสตรีที่ถือว่าเป็นวิธีที่ทารุณน้อยกว่าการตัดหัว
ในอินเดียวัฒนธรรมการสตีหรือการกระโดดเข้ากองไฟเผาตัวตายตามสามี[1][2][3] ไม่ถือว่าเป็นยโศโฆษาฆาต (honor killing) หรือการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ แต่เป็นการถูกบังคับตามประเพณีให้ฆ่าตัวตาย[4][5] แต่การจะกล่าวว่าการกระโดดเข้ากองไฟจะเป็นการกระทำโดยความตั้งใจของผู้กระทำเองหรือถูกบังคับให้ทำก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะตกลงกันได้ เช่นในกรณีเมื่อไม่นานมานี้ของรูพ คานวาร์[6] ที่สงสัยกันว่าเป็นการบังคับให้ทำสตี[7] นอกจากกรณีนี้แล้วก็ยังมีกรณีอื่นๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการสืบสวน[8] แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดใดที่สนับสนุนว่าเป็นการบังคับ[9][10][11]
ประเพณีเซ็ปปุกุของญี่ปุ่นก็อยู่ในข่าย “การบังคับให้ฆ่าตัวตาย” หรือประเพณีบูชิโดที่ปฏิบัติโดยซามูไรที่ต้องฆ่าตัวตายเมื่อพบว่าขาดความจงรักภักดี ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้ไดเมียวหรือโชกุนไม่ต้องเสียเกียรติในการที่จะต้องฆ่าผู้ติดตามด้วยตนเอง ที่ปฏิบัติกันโดยเฉพาะในยุคเอะโดะที่เห็นได้จากตัวอย่างในกรณีของ อาซาโนะ นางาโนริ (Asano Naganori)
ในยุโรป
[แก้]กรณีที่มีชื่อเสียงอีกกรณีหนึ่งของ “การบังคับให้ฆ่าตัวตาย” คือการฆ่าตัวตายของจอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) แม่ทัพของกองทัพเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อรอมเมลแสดงความขาดความเชื่อมั่นว่าเยอรมันจะชนะสงครามและถูกต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมในแผนการลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เพราะความที่เป็นที่นิยมของประชาชนเยอรมันรอมเมลจึงถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย ฮิตเลอร์ให้รอมเมลเลือกระหว่างการลงโทษโดยการกินไซยาไนด์ (cyanide) หรือโดยการลงโทษครอบครัวและผู้ที่ทำงานกับรอมเมลให้ได้รับความอัปยศ รอมเมลจึงเลือกวิธีแรก นอกจากกรณีนี้แล้วก็ยังมีผู้นำทางการทหารอีกหลายคนในรัฐบาลของฮิตเลอร์ที่ถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมีเหตุการณ์เกี่ยวกับ “การบังคับให้ฆ่าตัวตาย” หลายครั้งในระบบการทหารของสตาลิน เช่นที่แสดงในภาพยนตร์เรื่อง “Burnt by the Sun” ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีเกียรติกว่าการถูกขึ้นศาลทหาร
วิธีแทนที่การฆ่าเพื่อรักษาเกียรติยศ
[แก้]การบังคับให้ฆ่าตัวตายเองอาจจะเป็นวิธีที่ใช้แทนยโศโฆษาฆาต[คืออะไร?] เมื่อสตรีทำผิดประเพณีและนำความเสื่อมเสียมาให้แก่ครอบครัวหรือตระกูล บีบีซีรายงานว่า[12] สหประชาชาติกล่าวว่าในปี ค.ศ. 2006 พยายามสืบสวนกรณีการบังคับให้ฆ่าตัวตายของสตรีในตุรกี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hawley, John C. (1994). Sati, the blessing and the curse: the burning of wives in India. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. pp. 102, 166. ISBN 0-19-507774-1.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Smith, Bonnie G. (2004). Women's history in global perspective. Urbana: University of Illinois Press. p. 103. ISBN 0-252-02997-6.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Jörg Fisch (2005). Immolating Women: A Global History from Ancient Times to the Present. Orient Longman. p. 320. ISBN 81-7824-134-X.
- ↑ Rajeswari Sunder Rajan, Real and Imagined Women, Routledge, 1993.
- ↑ Lata Mani: Contentious Traditions: The Debate on Sati in Colonial India. Berkeley & Los Angeles, 1998
- ↑ "Self-immolation of a widow: India's best kept secret about women". helium.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
- ↑ Douglas James Davies and Lewis H. Mates (eds.), Encyclopedia of Cremation, p371, Ashgate Publishing, 2005.
- ↑ Mani, Lata; (Kim, Seung-Kyung and McCann, Carole R., eds.) (2003). "Multiple Mediations" in Feminist theory reader: local and global perspectives. New York: Routledge. pp. 373–4. ISBN 0-415-93152-5.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Woman commits Sati in Uttar Pradesh". rediff.com. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
- ↑ "Woman dies after jumping into husband's funeral pyre". rediff.com. สืบค้นเมื่อ 2006-08-22.
- ↑ "Visitors flock to 'sati' village". bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
- ↑ "UN probes Turkey 'forced suicide", BBC News, 05-24-2006.