กรมการขนส่งทหารเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมการขนส่งทหารเรือ
กรมการขนส่งทหารเรือ
ประเทศ ไทย
บทบาทดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่ง[1]
 • อำนวยการ[1]
 • ประสานงาน[1]
 • แนะนำ[1]
 • กำกับการ[1]
ซ่อมบำรุงยานพาหนะสายขนส่ง[1]
ส่งกำลังพัสดุสายขนส่ง[1]
วิจัยและพัฒนาการขนส่ง[1]
ให้การฝึกและศึกษาวิชาการขนส่ง[1]
กองบัญชาการกองบังคับการ กรมการขนส่งทหารเรือ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร[1]
วันสถาปนา3 มีนาคม พ.ศ. 2446; 121 ปีก่อน (2446-03-03)[1][2][3]
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[4]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมการขนส่งทหารเรือพลเรือตรี จรัสเกียรติ ไชยพันธุ์
ผบ. สำคัญหลวงพลพิฆาฎ (แว ไวณุนาวิน)[1][2][3]
พลเรือตรี อัศวิน หิญชีระนันทน์[2]
พลเรือตรี ชัชรินทร์ ชูศรี[2]
พลเรือตรี อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ[1]
พลเรือตรี อภิชัย อมาตยกุล[2][3]
พลเรือตรี สมประสงค์ นิลสมัย[2]
พลเรือตรี ทิวา ดาราเมือง[5]
พลเรือตรี สุชา เคี่ยมทองคำ[6]
พลเรือตรี เดชดล ภู่สาระ[7][8]
พลเรือตรี จงกล มีสวัสดิ์[9][10]

กรมการขนส่งทหารเรือ (อังกฤษ: Naval Transportation Department; อักษรย่อ: ขส.ทร.) เป็นหน่วยงานราชการของกองทัพเรือไทย ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่ง[1] ซึ่งมีเจ้ากรมการขนส่งทหารเรือคนปัจจุบันคือพลเรือตรี สมบัติ จูถนอม[11]รองเจ้ากรมได้แก่ นาวาเอก สามารถ โปษะกฤษณะ

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทหารเรือ ได้เป็นหนึ่งในกำลังพลที่เข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[12][13]

ประวัติ[แก้]

กรมการขนส่งทหารเรือ เป็นหน่วยงานที่มีประวัติอันยาวนาน โดยถือกำเนิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2446 ภายใต้ชื่อ "กองพาหนะ" ที่ขึ้นตรงต่อกรมบัญชาการทหารขึ้นบก ในสมัยที่กองทัพเรือไทยเป็นกรมทหารเรือ โดยมีหลวงพลพิฆาฎ (แว ไวณุนาวิน) เป็นผู้บังคับกองพาหนะคนแรก[1][3]

กองพาหนะในสมัยแรกได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น "กองรักษาเรือ" และ "กองทหาร" โดยมีหน้าที่ในการรักษาเรือ จัดกำลังพลประจำเรือ กระทั่งเปลี่ยนมาเป็นกรมการขนส่งทหารเรือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน[3]

เมื่อครั้งที่มีการประชุมเอเปค 2003 กรมการขนส่งทหารเรือได้มีบทบาทในการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค, การจัดพลขับรถสามล้อไฟฟ้าเข้ารับผู้นำเขตเศรษฐกิจเพื่อชมกระบวนเรือ, การแสดงเห่เรือประกอบการพายในเรือพระที่นั่งจำลอง[1]

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[แก้]

กรมการขนส่งทหารเรือ เป็นหนึ่งในหน่วยที่เข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[14]

ซึ่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ได้เกิดเหตุลอบวางระเบิดรถบัสของกรมการขนส่งทหารเรือ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นพลขับเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ 1 นาย รวมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 7 ราย ซึ่งเป็นคณะทหารเรือและกลุ่มแม่บ้าน ที่เดินทางกลับจากการเยี่ยมกำลังพลบาดเจ็บในอำเภอหาดใหญ่[15]

การฝึก[แก้]

กรมการขนส่งทหารเรือประกอบด้วย พลขับ, นายท้าย และช่างเครื่องยนต์ ที่ผ่านการฝึกจนเชี่ยวชาญได้มาตรฐาน และกรมการขนส่งทหารเรือ ยังเป็นแหล่งผลิตฝีพายกระบวนพยุหยาตราชลมารคเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย[2]

รวมถึงมีการฝึกยุทธวิธีทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา, การฝึกกู้ภัย[16] และการขนส่งทางยุทธวิธีสนับสนุนลำเลียงเรือจากทะเลฝั่งอ่าวไทยสู่ฝั่งอันดามัน[9]

กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]

ในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการขนส่งทหารเรือมีกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และการบริจาคโลหิต[1][3] ส่วนในปี พ.ศ. 2558 รองเจ้ากรมการขนส่งทหารเรือ ได้ให้การต้อนรับคณะเยาวชนและครูพี่เลี้ยงจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเยี่ยมชมการเห่เรือและทัศนศึกษาขบวนเรือ ในโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ ที่กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ[17]

และในปี พ.ศ. 2559 กรมการขนส่งทหารเรือได้นำชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าตลอดช่วงเข้าพรรษา[5] รวมถึงในปีเดียวกัน กรมการขนส่งทหารเรือได้อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ในการถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจัดให้มีรถโดยสารปรับอากาศขนาดใหญ่ ตลอดจนเรือด่วนและเรือข้ามฟากให้บริการ[18]

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทหารเรือได้ให้บริการตรวจสภาพรถยนต์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2560[6] และช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2561[8]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2558 : รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น – จากเครื่องถอดใส่ล้อยางรถยนต์ขนาดใหญ่ แบบโมบายล์พับได้ ในงานนาวีวิจัย 2015[19]
  • พ.ศ. 2560 : รางวัลระดับดีเลิศ – วันแห่งการจัดการความรู้ของกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2560 จากพลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ[20][21]
  • พ.ศ. 2560 : รางวัลชมเชยผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ – จากสมอบกเพิ่มกำลัง ในงานนาวีวิจัย 2017[22][23]

ยุทโธปกรณ์[แก้]

รถ[แก้]

รุ่น ภาพ ที่มา ผู้สร้าง ประเภท จำนวน หมายเหตุ
วอลโว่ เบีย11อาร์ ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน วอลโว่บัส รถบัส
วอลโว่ เบีย7อาร์ ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน วอลโว่บัส รถบัส
ฮีโน่ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ฮีโน่ รถบัส
นิสสัน ซิลฟี่ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น นิสสัน รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 60 คัน นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย มอบให้สำหรับกิจการภายในของกรม[24][25]
รถยนต์บรรทุกทางทหาร แบบ 6x6
ขนาด 3.5 ตัน
 ไทย พนัส แอสเซมบลีย์ รถบรรทุกทางทหาร
แบบ 6x6
6 คัน[26]
ยังไม่เปิดเผย  ไทย รถหุ้มเกราะล้อยาง
แบบ 4x4
ใช้ในการทำภารกิจสงครามเป็นหลัก[10]
แฟนทอม 380 เอ็กซ์-1[ไม่แน่ใจ ]  ไทย พนัส แอสเซมบลีย์ รถหุ้มเกราะล้อยาง
แบบ 4x4
2 คัน ใช้สำหรับภารกิจค้นหาลาดตระเวน, คุ้มครองประชาชน และภารกิจพิเศษ[27]

เรือ[แก้]

รุ่น ภาพ ที่มา ผู้สร้าง ประเภท จำนวน หมายเหตุ
แอร์โบ๊ทอัลทรามารีน  ไทย อัลทรามารีน เรือแอร์โบ๊ท สามารถใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ[7][16]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 กองทัพเรือ จัดงาน ๑๐๑ ปี กรมการขนส่งทหารเรือ - RYT9.com
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ราชนาวิกสภา
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ๑๐๗ ปี
  4. ทร.ส่งทหารพรานหญิงนาวิกโยธินชุดแรกลงชายแดนใต้ - News 1[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 กรมการขนส่งทหารเรือ ร่วมชุมชนทำกิจกรรม “พักตับครบพรรษา”
  6. 6.0 6.1 กองทัพเรือ โดยกรมการขนส่งทหารเรือ เปิดโครงการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเทศกาลวันสงกรานต์
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Tnews
  8. 8.0 8.1 "กรมการขนส่งทหารเรือ จัดโครงการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเทศกาลปีใหม่ 2561". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ๒๕๖๑
  10. 10.0 10.1 โชว์สเปครถเกราะล้อยาง 50 ล.กองทัพเรือใช้ภารกิจสงคราม-ผู้รับผิดชอบปัดแจงอ้างข้อมูลชั้นความลับ
  11. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  12. ไม่ใช่แค่ สวย แกร่ง เก่ง...แต่เสียสละสุด ๆ !! พร้อมแล้ว !! 121 "เหยี่ยวดำ" ทหารพรานหญิง นย.รุ่นแรกลงใต้.ผบ.ทร.ให้กำลังใจ และชื่นชมประดู่เหล็กหญิง
  13. "บ้านเมือง - แกร่งไม่แพ้ชาย! ทหารพรานหญิงคืนความสงบสุขภาคใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
  14. ทร.ส่งทหารพรานหญิงนาวิกโยธินกว่า 100 คน คืนความสงบสุขภาคใต้
  15. บึ้มรถบัสทหารเรือพลขับดับ-เจ็บ 7 ฮือฮาขุดหลุมฝังระเบิดถนนสายหลัก
  16. 16.0 16.1 "ข่าวฝึกยุทธวิธีทางน้ำในแผ่นดินกรมการขนส่งทหารเรือ - ข่าวช่อง 7HD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-17. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thairath
  18. บริการปชช.ถวายสักการะพระบรมศพ - ไทยรัฐ
  19. ทร.โชว์นวัตกรรมสุดยอดยุทโธปกรณ์ในงาน 'นาวีวิจัย 2015' - ไทยรัฐ
  20. ทร.ยกระดับขีดความสามารถกำลังพลในกิจกรรม 'วันแห่งการจัดการความรู้' - ไทยรัฐ
  21. หอประชุมกองทัพเรือ
  22. 'บิ๊กลือ' คว้ารางวัล 'นาวีวิจัย 2017' ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน - ไทยรัฐ
  23. ราชนาวี โชว์ศักยภาพผลงานวิจัยกองทัพเรือ – พล.ร.อ.ณะ มอบประกาศเกียรติคุณ - ข่าวสด
  24. นิสสัน ส่งมอบ นิสสัน ซิลฟี จำนวน 60 คัน ให้กรมการขนส่งทหารเรือ
  25. นิสสันส่งมอบ ซิลฟี จำนวน 60 คัน ให้กรมการขนส่งทหารเรือ - Siamsport
  26. กองทัพเรือ ทุ่มซื้อรถบรรทุกทหาร 6 คันรวด 48 ล. สืบราคากลางบ.พนัสฯ เจ้าเดียวอีกแล้ว
  27. กองทัพเรือทุ่ม 50 ล.ซื้อรถเกราะล้อยางใช้ภารกิจสงครามเพิ่ม-สืบราคาบ.เจ้าเดิมขายให้ 2 คันปี 58