2 พงศาวดาร 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 พงศาวดาร 4
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์14

2 พงศาวดาร 4 (อังกฤษ: 2 Chronicles 4) เป็นบทที่ 4 ของหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่ 2 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 4 ของ 2 พงศาวดารเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่รัชสมัยของซาโลมอน (2 พงศาวดาร 1 ถึง 9)[1] จุดเน้นของบทนี้คือการตกแต่งภายในของพระวิหารในเยรูซาเล็ม[4]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 22 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[6][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 2 พงศาวดาร 4:1–5: 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23–26[10]
  • 2 พงศาวดาร 4:6–8: 1 พงศ์กษัตริย์ 7:38–39[10]
  • 2 พงศาวดาร 4:11–18: 1 พงศ์กษัตริย์ 7:40–47[10]
  • 2 พงศาวดาร 4:19–22: 1 พงศ์กษัตริย์ 7:48–51[10]

แท่นบูชาทองสัมฤทธิ์และอ่างสาคร (4:1–5)[แก้]

เนื้อหาส่วนนี้บันทึกเกี่ยวกับการสร้างแท่นบูชาทองสัมฤทธิ์ (วรรค 1; เปรียบเทียบกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 8:64; 2 พงศ์กษัตริย์ 16:14–15; 2 พงศาวดาร 1:5; เอเสเคียล 43:13–17) และอ่างสาคร (วรรค 2–5; เปรียบเทียบกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23–26)[11][12] แท่นบูชามีขนาดใหญ่ อาจทำจากไม้และเคลือบด้วยทองสัมฤทธิ์ ตัวเลขขนาดของแท่นบูชาอาจหมายถึงส่วนฐาน[11][12]

วรรค 1[แก้]

พระองค์ทรงสร้างแท่นบูชาด้วยทองสัมฤทธิ์ ยาว 9 เมตร และกว้าง 9 เมตร สูง 4.5 เมตร[13] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
พระองค์ทรงสร้างแท่นบูชาด้วยทองสัมฤทธิ์ ยาวยี่สิบศอก และกว้างยี่สิบศอก สูงสิบศอก[14] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971)
  • "ศอก": หน่วยวัดความยาว มีค่าประมาณ 18 นิ้วหรือ 45 เซนติเมตร[15] ดังนั้น 20 ศอกจึงมีความยาวประมาณ 30 ฟุต (9.1 เมตร) (สำหรับทั้งความยาวและความกว้างของแท่นบูชา) และ 10 ศอกมีความยาวประมาณ 15 ฟุต (4.6 เมตร) (สำหรับความสูง)[16]

วรรค 2[แก้]

อ่างสาครของซาโลมอน ภาพโดยการตีความของศิลปินที่ตีพิมพ์ในสารานุกรมชาวยิว ค.ศ. 1906
ภาพวาดอ่างสาครในคัมภีร์ไบเบิลฉบับฮอลแมน ค.ศ. 1890
แล้วพระองค์ทรงหล่ออ่างสาคร เป็นทรงกลม วัดจากขอบหนึ่งไปถึงอีกขอบหนึ่งได้ 4.5 เมตร สูง 2.25 เมตร และวัดโดยรอบอ่างได้ 13.5 เมตร[17] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
แล้วพระองค์ทรงสร้างขันสาครหล่อ เป็นขันกลม วัดจากขอบหนึ่งไปถึงอีกขอบหนึ่งได้สิบศอก สูงห้าศอก และวัดโดยรอบได้สามสิบศอก[18] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971) หรือ
ทรงให้หล่อขันสาครทรงกลมด้วยโลหะสูง 5 ศอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ศอกและเส้นรอบวง 30 ศอก[19] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
  • การอ้างอิงข้าม: 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23
  • "ห้าศอก": ความยาวประมาณ 7½ ฟุตหรีืิอ 2.3 เมตร[20]
  • "สามสิบศอก": ประมาณ 45 ฟุตหรือ 14 เมตร[21]

ค่าโดยประมาณของค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ "π" ("พาย") ซึ่งเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมสามารถคำนวณได้จากวรรคนี้โดยนำ 30 ศอกหารด้วย 10 ศอกจึงได้ "3" อย่างไรก็ตาม Matityahu Hacohen Munk สังเกตการสะกดคำว่า "เส้น" ในภาษาฮีบรู โดยทั่วไปเขียนว่า קו qaw ใน 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23 เขียน (ketiv) ว่า קוה qaweh เมื่อแปลงคำให้เป็นตัวเลขด้วยวิธีเจมาเทรีย (gematria) qaweh ให้ค่า "111" ส่วน qaw ให้ค่า "106" ดังนั้นเมื่อนำมาคำนวณ ให้ผลลัพธ์เป็น π = "3.1415094" ซึ่งใกล้เคียงกับค่าโดยประมาณในสมัยใหม่ "3.1415926"[22][23] Charles Ryrie ให้อีกคำอธิบายหนึ่งตามวรรค 5 (เปรียบเทียบกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 7:26) ว่าอ่างสาครมีความหนา 1 คืบ (ประมาณ 4 นิ้วหรือ 10 เซนติเมตร) ดังนั้นเมื่อคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในโดยการนำ 10 ศอก (ประมาณ 180 นิ้วหรือ 4.6 เมตร) ลบด้วยสองเท่าของ 4 นิ้ว (2 คืบ) จะได้ค่า 172 นิ้ว (4.4 เมตร) นำมาหารด้วย π ได้ผลลัพธ์เป็น 540 นิ้ว (45 ฟุตหรือ 14 เมตรหรือ 30 ศอก) ซึ่งเป็นความยาวของเส้นรอบวงตามที่ระบุไว้ในวรรคที่ 1[24]

วรรค 5[แก้]

อ่างหนา 7.5 เซนติเมตร ขอบของมันทำเหมือนขอบถ้วย และเหมือนดอกพลับพลึงกำลังบาน อ่างนี้บรรจุได้ประมาณ 60,000 ลิตร[25] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
ขันสาครหนาหนึ่งคืบ ที่ขอบของมันทำเหมือนขอบถ้วย เหมือนอย่างดอกบัวบรรจุได้สามพันบัท[26] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971)
  • "คืบ": หน่วยวัดความยาว มีค่าประมาณ 3 นิ้วหรือ 7.5 เซนติเมตร[27][28]
  • "บัท": หน่วยวัดปริมาตร มีค่าประมาณ 6 แกลลอนหรือ 22 ลิตร[29] ดังนั้น "3000 บัท" มีค่าประมาณ 18,000 แกลลอนหรือ 66,000 ลิตร[30]

ภายในพระวิหาร (4:6–22)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: อพยพ 25, อพยพ 26, เลวีนิติ 24, กันดารวิถี 8, 1 พงศ์กษัตริย์ 6, 1 พงศ์กษัตริย์ 7, 1 พงศ์กษัตริย์ 8, 2 พงศ์กษัตริย์ 16, 1 พงศาวดาร 28
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[7][8][9]

    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. Mathys 2007, p. 284.
    5. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    6. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    7. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    8. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. 10.0 10.1 10.2 10.3 2 Chronicles 4 Berean Study Bible. Biblehub
    11. 11.0 11.1 Mathys 2007, p. 285.
    12. 12.0 12.1 Coogan 2007, p. 623 Hebrew Bible.
    13. 2 พงศาวดาร 4:1 THSV11
    14. 2 พงศาวดาร 4:1 TH1971
    15. หมายเหตุของ 2 พงศาวดาร 4:1 ใน ESV
    16. หมายเหตุของ 2 พงศาวดาร 4:1 ใน MEV
    17. 2 พงศาวดาร 4:2 THSV11
    18. 2 พงศาวดาร 4:2 TH1971
    19. 2 พงศาวดาร 4:2 TNCV
    20. หมายเหตุ [a] ของ 2 พงศาวดาร 4:2 ใน MEV
    21. หมายเหตุ [b] ของ 2 พงศาวดาร 4:2 ใน MEV
    22. Missler, Chuck. The Value of Pi: Hidden Codes in the Bible. April 1, 1998. This finding was also reported by Shlomo Edward G. Belaga, in the page by Boaz Tsaban "Rabbinical Math" and in the book by Grant Jeffrey, "The Handwriting of God", Frontier Research Publications, Toronto Ontario, 1997.
    23. Munk, Matityahu Hacohen. Three Geometric Problems in the Bible and Talmud. Sinai 51 (1962), 218-227 (in Hebrew); Munk, Matityahu Hacohen. The Halachic Way in Solving Special Geometric Problems. Hadarom 27 (1968), 115-133 (in Hebrew). Cited i: Tsaban, Boaz; Garber, David. On the Rabbinical Approximation of Pi เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Historia Mathematica 25 (1998), pp. 75-84.
    24. Ryrie, Charles (1986). Basic Theology. Wheaton, Illinois: SP Publications, p. 99.
    25. 2 พงศาวดาร 4:5 THSV11
    26. 2 พงศาวดาร 4:2 TH1971
    27. หมายเหตุ [a] ของ 2 พงศาวดาร 4:5 ใน ESV
    28. หมายเหตุ [a] ของ 2 พงศาวดาร 4:5 ใน MEV
    29. หมายเหตุ [b] ของ 2 พงศาวดาร 4:5 ใน ESV
    30. หมายเหตุ [b] ของ 2 พงศาวดาร 4:5 ใน MEV

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]