2 พงศาวดาร 14

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 พงศาวดาร 14
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์14

2 พงศาวดาร 14 (อังกฤษ: 2 Chronicles 13) เป็นบทที่ 14 ของหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่ 2 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 14 ของ 2 พงศาวดารเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่ราชอาณาจักรยูดาห์จนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวบาบิโลนภายใต้กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และการเริ่มต้นฟื้นฟูใหม่ภายใต้กษัตริย์ไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซีย (2 พงศาวดาร 10 ถึง 36)[1] จุดเน้นของบทนี้คือรัชสมัยของอาสากษัตริย์แห่งยูดาห์[4]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 15 วรรคในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ แต่แบ่งเป็น 14 วรรคในคัมภีร์ฮีบรู ดังการเปรียบเทียบเลขวรรคต่อไปนี้:[5]

การกำหนดเลขวรรคของ 2 พงศาวดาร 13 และ 14
ไทย/อังกฤษ ฮีบรู
14:1 13:23
14:2-15 14:1-14

บทความนี้อิงตามกำหนดเลขวรรคในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยและภาษาอังกฤษของศาสนาคริสต์โดยทั่วไป

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[7][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 2 พงศาวดาร 14:1–15: 1 พงศ์กษัตริย์ 15:9–15[11]

อาสากษัตริย์แห่งยูดาห์ (13:1–2)[แก้]

ความสำเร็จทางศาสนาของอาสา (14:3–8)[แก้]

สงครามระหว่างอาสาและเศ-ราห์ชาวเอธิโอเปีย (14:9–15)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 1 พงศ์กษัตริย์ 15, 1 พงศาวดาร 6, 1 พงศาวดาร 18, 1 พงศาวดาร 22, 1 พงศาวดาร 29, 2 พงศาวดาร 6, ฮาบากุก 3
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[8][9][10]

    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. Mathys 2007, p. 290.
    5. หมายเหตุ [a] ของ 2 พงศาวดาร 14:1 ใน NET Bible
    6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    8. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    9. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    10. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    11. 2 Chronicles 14 Berean Study Bible. Biblehub

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]