ข้ามไปเนื้อหา

ใครคือใคร Identity Thailand

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใครคือใคร Identity Thailand
พัฒนาโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
พิธีกรเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
จำนวนฤดูกาล2
การผลิต
กล้องMulti-camera
ความยาวตอน60 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
(กุมภาพันธ์ 2556 - ธันวาคม 2557)
ช่องเวิร์คพอยท์
ออกอากาศ7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 –
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ใครคือใคร Identity Thailand เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่มีรูปแบบของรายการจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ ชายด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผลิตรายการโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จนถึง 6 มกราคม พ.ศ. 2559 ออกอากาศช่วงกลางคืน ในปัจจุบันกลับมาออกอากาศโดยย้ายเวลาออกอากาศเป็นทุกวันเสาร์ 10.00 - 11.00 น. ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึง วันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ทางช่องเวิร์คพอยท์[1]

กติกา

[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันแก้ปริศนาของ 12 บุคคลปริศนา (7 เกมแรกของรายการ) ภายหลังเปลี่ยนเป็น 9 บุคคลปริศนา โดยที่ทุกคนจะมีตัวตน เช่น "เด็กหลังซองไวไว" ที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องจับคู่ให้ครบจึงจะได้เงินรางวัลสูงสุด 100,000 บาท ก่อนการแข่งขัน พิธีกรจะให้สิทธิ์แก่ผู้เข้าแข่งขันที่จะให้บุคคลปริศนาแนะนำตัวแก่ผู้เข้าแข่งขันได้ 3 คน และในการเล่นนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกตัวตนขึ้นมาทายทีละหนึ่งตัวตนจากทั้งหมด เมื่อเลือกตัวตนได้แล้วจะต้องเลือกหมายเลขของบุคคลปริศนาที่คิดว่าตรงกับตัวตนที่เลือกมาให้ถูกต้อง เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้ประทับฝ่ามือลงบนแท่นเป็นการยืนยันคำตอบ จากนั้น บุคคลปริศนาที่ผู้แข่งขันเลือกจะเฉลยคำตอบ หากตอบถูก เงินรางวัลจะสะสมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนี้

จับคู่ถูกคนที่ เทป
7 กุมภาพันธ์ - 21 มีนาคม 2556 21 มีนาคม 2556 - 13 กุมภาพันธ์ 2559
1
5,000
5,000
2
10,000
10,000
3
15,000
15,000
4
20,000
20,000
5
25,000
30,000
6
30,000
40,000
7
40,000
50,000
8
50,000
100,000
9
60,000
10
70,000
11
100,000

กรณีที่ตอบผิด ตัวช่วย "ตอบผิดได้ 1 ครั้ง" จะใช้งานโดยอัตโนมัติ หากตอบผิดเป็นครั้งที่ 2 เกมจะจบลง และผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้รับเงินรางวัลที่สะสมมา แต่ผู้เข้าแข่งขันสามารถ "หยุดเล่น" ได้ทุกเมื่อ และรับเงินรางวัลตามที่สะสมมา อย่างไรก็ตาม ตัวช่วยนี้จะไม่สามารถใช้ได้เมื่อเล่นในข้อสุดท้าย (เหลือ 2 ตัวตน) ซึ่งในข้อสุดท้ายนี้ หากตอบผิด จะไม่ได้เงินรางวัล ผู้เข้าแข่งขันสามารถพาเพื่อนมาเป็นที่ปรึกษาได้

ชื่อตัวช่วย คุณสมบัติ
ตอบผิดได้ 1 ครั้ง สามารถตอบผิดได้ 1 ครั้ง (ตัวช่วยอัตโนมัติ)
1 ใน 3 ที่ใช่ ตัดตัวเลือกบุคคลปริศนาให้เหลือ 3 คน
ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ 1 ครั้ง
ผู้เชี่ยวชาญ
  • สิทธิเดช คุ้มเศรณี นักจิตวิทยาพัฒนาการอิสระ
  • พ.ต.อ. ณัฐสกล อรรจนสุพพัติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาสอบสวน คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ผังรายการเดือนกุมภาพันธ์ 2559". Workpointtv.com. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]