โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี

พิกัด: 13°48′49.4″N 100°24′48.8″E / 13.813722°N 100.413556°E / 13.813722; 100.413556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 86 หมู่ที่ 2 ถนนบางคูเวียง ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
พิกัด13°48′49.4″N 100°24′48.8″E / 13.813722°N 100.413556°E / 13.813722; 100.413556
ข้อมูล
ชื่อเดิมโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญน สิยา โลกวฑฺฒโน
(ไม่ควรเป็นคนรกโลก)
สถาปนา20 มีนาคม พ.ศ. 2520 (47 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1012230155
ผู้อำนวยการโรงเรียนณัฐธนพงษ์ ทองพลับ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
สี  เขียว
  เหลือง
เพลง • "อโหกุมาร"
 • "มาร์ชโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี"
ดอกไม้รำเพย
เว็บไซต์www.tsn.ac.th

โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 บ้านคลองขื่อขวาง ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 มีการเรียนการสอนในระบบปกติ, Gifted และ Mini English Program ปัจจุบันเป็นหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์ 11 แห่ง

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กประจำตำบลซึ่งชุมชนในท้องถิ่นได้ริเริ่มขอจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยมีร้อยเอก สัญญา จูรัตน์ เป็นประธาน และนายวิจิตร แจ่มใส ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ให้การสนับสนุน อีกทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากพระมหาแสวง โชติปาโล เจ้าอาวาสวัดศรีประวัติ และพระครูนนทศิริวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดศรีเรืองบุญ มอบที่ดินของวัดให้สร้างโรงเรียนประมาณ 15 ไร่ ขณะนั้นกรมสามัญศึกษาเห็นว่าโรงเรียนมีเนื้อที่จัดตั้งน้อยเกินไป แต่ชุมชนได้พยายามขอจัดตั้งจนในที่สุดก็ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งได้ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2520 ชุมชนได้ร่วมกันจัดหาทุนเพื่อสร้างอาคารเรียนและหาซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนเป็นเงินจำนวน 191,207 บาท และได้นายเติม โทพิลา ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนศรีบุณยานนท์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่คนแรกในปีการศึกษา 2522

ต่อมากรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกผ่านโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม โดยอาคารเรียนอยู่ตรงกลางแนวถนนที่จะตัดผ่านพอดี โรงเรียนจึงต้องหาที่จัดสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ เจ้าอาวาสวัดแพรกได้แนะนำที่วัดกลางสวน (ร้าง) ซึ่งอยู่ห่างจากแนวถนน 40 เมตร และมีผู้เช่าทำกินเดิมอยู่ 8 ราย แต่ทั้งหมดก็ยินยอมยกที่ดินให้โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ในการรื้อถอนใช้เวลาทั้งสิ้น 1 เดือน โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการศึกษา ผู้อุปการะโรงเรียน และครู–อาจารย์ โดยได้สร้างเป็นอาคารชั่วคราว 2 หลัง และในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 จึงได้เปิดการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาใน พ.ศ. 2532 นายประสงค์ ท่าพริก อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอดุลศาสนกิจศึกษา รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม ได้ดำเนินการขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคมเป็น โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี โดยได้รับความยินยอมและสนับสนุนอย่างดีจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ชุมชน คณะกรรมการศึกษา ครู-อาจารย์ และสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนดังกล่าว[1]

อาคารและสถานที่[แก้]

สถานที่[แก้]

  • เรือนรำเพย
  • ศาลาหลวงพ่อวัดกลางสวน
  • พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
  • สนามฟุตซอล
  • ลานกีฬาโมลยานุสรณ์[2]
  • โรงอาหาร
  • โรงฝึกงาน
  • สระบัว[2]

อาคาร[แก้]

  • อาคารวัฒนโชติศรีบุญญาคม (อาคาร 1) อาคาร 3 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องเรียน, ห้องเทพเป็นหนึ่ง, ร้านถ่ายเอกสาร, สหกรณ์

ชั้น 2 : ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ, ห้องเรียน

ชั้น 3 : ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องนาฏศิลป์, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ, ห้องเรียน

  • อาคารนนทศิริวัฒน์ (อาคาร 2) อาคาร 5 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องสำนักงานผู้อำนวยการ, ห้องกลุ่มบริหารงบประมาณและแผน, ห้องกลุ่มบริหารวิชาการ, ห้องสุขศรีการ, ห้องพัสดุ, ห้องประชุม 72 พรรษาฯ,ห้องทะเบียน สำนักงานโครงการห้องเรียนพิเศษ

ชั้น 2 : ห้องสมุด, ห้องโสด, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ชั้น 3 : ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศโมลยานุสรณ์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องพักครูฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา)

ชั้น 4 : ห้องเรียน, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์)

ชั้น 5 : ห้องเรียน, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (เคมี)

หน้าอาคาร : ลานม้าหินอ่อน

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา
  • อาคารอัจฉริยะประสิทธิ์ (อาคาร 3) อาคาร 5 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องแผนงาน, ห้องแนะแนว, ห้องศูนย์คณิตศาสตร์

ชั้น 2 : ห้องเรียนพิเศษ MEP, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ชั้น 3 : ห้องเรียนพิเศษ, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้น 4 : ห้องเรียน, ห้องเรียนพิเศษ, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ชั้น 5 : ห้องเรียน, ห้องเรียนพิเศษ,

ภาพปริทัศน์ของโรงเรียนเมื่อมองจากชั้น 5 อาคารอัจฉริยะประสิทธิ์ พ.ศ. 2555
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี (อาคาร 4) อาคาร 4 ชั้น

ชั้น 1 : ศูนย์ภาษาฝรั่งเศส, ห้องเรียน, ห้องพักครูกลุ่มสาระการงานอาชีพ

ชั้น 2 : ห้องเรียน, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ห้องคอมพิวเตอร์

ชั้น 3 : ห้องเรียน,

ชั้น 4 : ห้องเรียน, ห้องจริยธรรม

  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา (อาคาร 5) อาคาร 7 ชั้น

หน้าอาคาร : ลานภมราภิรมย์

ชั้น 1 : ห้องบริการ

ชั้น 2 : ห้องประชุมกษีรทัศน์ ห้องประชุมธงชัย เย็นประเสริฐ

ชั้น 3–7 : ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

  • อาคาร6 (อาคาร 6) อาคาร 5 ชั้น

ชั้น 3-5 ห้องเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

  • อาคารโชติปาโล (หอประชุม) อาคาร 2 ชั้น

ชั้น 1 : โรงอาหาร, ห้องอาหารภิรมย์สโมสร

ชั้น 2 : หอประชุม

  • อาคาร ท่อน้ำไทย 56 ปี

ชั้น 1 ห้องพยาบาล

ชั้น 2-4 ห้องเรียนดาราศาสตร์

รายชื่ออาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการ[3][แก้]

ลำดับที่ ชื่อ ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายเติม โทพิลา อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2520–2528
2 นายกุศล ทวีบุตร ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2528–2532
3 นายปลองยุทธ อินทพันธุ์ ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2535
4 นายประสงค์ ท่าพริก ผู้อำนวยการ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 14 เมษายน พ.ศ. 2536
5 นายสินชัย วัฒนพงษ์ ผู้อำนวยการ 15 เมษายน พ.ศ. 2536 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2541
6 นายบรรเจิด ภิรมย์ ผู้อำนวยการ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2544
7 นายปรเมษฐ์ โมลี ผู้อำนวยการ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 12 มกราคม พ.ศ. 2553
8 นายเกษียร มีแต้ม ผู้อำนวยการ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
9 นายสมชาย ปิ่นทอง ผู้อำนวยการ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
10 นายเธียรชัย แสงชาตรี[4] ผู้อำนวยการ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 14 ตุลาคม พ.ศ.2564
11 ว่าที่ร้อยเอกณัฐธนพงษ์ ทองพลับ ผู้อำนวยการ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2564-ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติโรงเรียน - โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี | Debsirin Nonthaburi School".
  2. 2.0 2.1 "อาคารสถานที่ - โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี | Debsirin Nonthaburi School".
  3. "ทำเนียบผู้บริหาร - โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี | Debsirin Nonthaburi School".
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ 2018-11-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]