โจวันนี ตราปัตโตนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจวันนี ตราปัตโตนี
ตราปัตโตนีในฐานะผู้จัดการทีมสาธารณรัฐไอร์แลนด์เมื่อ ค.ศ. 2013
ข้อมูลส่วนตัว
วันเกิด (1939-03-17) 17 มีนาคม ค.ศ. 1939 (85 ปี)
สถานที่เกิด กูซาโนมีลานีโน ราชอาณาจักรอิตาลี
ส่วนสูง 175 ซม.
ตำแหน่ง เซ็นเตอร์แบ็ก
กองกลางตัวรับ
สโมสรเยาวชน
ค.ศ. 1953–1959 มิลาน
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
ค.ศ. 1959–1971 มิลาน[1] 274 (3)
ค.ศ. 1971–1972 วาเรซี[2] 10 (0)
รวม 284 (3)
ทีมชาติ
ค.ศ. 1960–1964 อิตาลี[3] 17 (1)
จัดการทีม
ค.ศ. 1972–1974 มิลาน (เยาวชน)
ค.ศ. 1974 มิลาน
ค.ศ. 1975–1976 มิลาน
ค.ศ. 1976–1986 ยูเวนตุส
ค.ศ. 1986–1991 อินเตอร์ มิลาน
ค.ศ. 1991–1994 ยูเวนตุส
ค.ศ. 1994–1995 ไบเอิร์นมิวนิก
ค.ศ. 1995–1996 คัลยารี
ค.ศ. 1996–1998 ไบเอิร์นมิวนิก
ค.ศ. 1998–2000 ฟีออเรนตีนา
ค.ศ. 2000–2004 อิตาลี
ค.ศ. 2004–2005 บัวอีไบฟีกา
ค.ศ. 2005–2006 เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
ค.ศ. 2006–2008 เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค
ค.ศ. 2008–2013 สาธารณรัฐไอร์แลนด์
ค.ศ. 2010 นครรัฐวาติกัน
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

โจวันนี ตราปัตโตนี (อิตาลี: Giovanni Trapattoni; เสียงอ่านภาษาอิตาลี: [dʒoˈvanni trapatˈtoːni]; 17 มีนาคม ค.ศ. 1939 – ) บางครั้งรู้จักกันแพร่หลายในชื่อ "ตรัป" (Trap) หรือ "อิลตรัป" (Il Trap) เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอิตาลีและอดีตผู้เล่น ซึ่งถือว่าเป็นผู้ฝึกสอนสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของฟุตบอลอิตาลี[4] เขาเป็นอดีตกองกลางตัวรับ ในฐานะผู้เล่น เขาใช้เวลาเกือบตลอดอาชีพในสโมสรร่วมกับเอซี มิลาน ซึ่งเขาคว้าแชมป์ลีกเซเรียอาสองสมัย (ฤดูกาล 1961–62 และ1967–68) และยูโรเปียนคัพสองสมัย ในฤดูกาล 1962–63 และ 1968–69 ส่วนในระดับนานาชาติ เขาเล่นให้แก่ทีมชาติอิตาลี โดยลงเล่น 17 นัด และเป็นส่วนหนึ่งของทีมในฟุตบอลโลก 1962 ที่ประเทศชิลี

เขาเป็นหนึ่งในผู้จัดการทีมที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอล[5] ตราปัตโตนีเป็นหนึ่งในผู้ฝึกสอนเพียงห้าคน ร่วมกับการ์โล อันเชลอตตี, แอ็นสท์ ฮัพเพิล, โชเซ มูรีนโย และโทมิสลาฟ อีวิช ที่คว้าแชมป์ลีกในสี่ประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งโดยรวมแล้ว ตราปัตโตนีคว้าแชมป์ลีกในประเทศอิตาลี, เยอรมนี, โปรตุเกส และออสเตรีย 10 รายการ นอกเหนือจากอูโด ลาเทค และโชเซ มูรีนโย เขาเป็นหนึ่งในสามผู้ฝึกสอนที่ชนะการแข่งระดับสโมสรยุโรปที่สำคัญทั้งสามรายการ (ได้แก่ ยูโรเปียนคัพ, ยูฟ่าคัพ, ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ) และเป็นคนเดียวที่ทำได้กับสโมสรเดียวกัน (ซึ่งคือยูเวนตุส)[6] นอกจากนี้ เขาเป็นคนเดียวที่ชนะการแข่งอย่างเป็นทางการของสโมสรระดับทวีปและระดับโลกทั้งหมด โดยทำได้กับยูเวนตุสในช่วงแรกที่เขาอยู่กับสโมสร[7] เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่คว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพ, คัพวินเนอร์สคัพ และอินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ ทั้งในฐานะผู้เล่นและผู้จัดการทีม

ตราปัตโตนีได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ติดสอยห้อยตามที่มีชื่อเสียงและคงเส้นคงวาที่สุดของเนเรโอ รอกโก[5] เขาเป็นผู้ฝึกสอนทีมชาติอิตาลีบ้านเกิดของเขาในการแข่งฟุตบอลโลก 2002 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 แต่ไม่สามารถเลียนแบบความสำเร็จระดับสโมสรของเขากับอิตาลีได้ ทำให้ต้องออกจากการแข่งขันก่อนกำหนดในการแข่งขันทั้งสองรายการ โดยประสบปัญหาการออกก่อนกำหนดในการแข่งทั้งสองรายการ เมื่อไม่นานมานี้ ตราปัตโตนีได้เป็นผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ เขาได้พาทีมดังกล่าวคว้าแชมป์ยุโรปครั้งแรกในรอบ 24 ปี และประสบความสำเร็จในศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 รอบคัดเลือก สิ่งนี้ตามมาด้วยการพลาดในฟุตบอลโลก 2010 อย่างหวุดหวิด หลังจากที่ทีมของเขาถูกทีมชาติฝรั่งเศสเขี่ยตกรอบซึ่งก่อให้เกิดการโต้แย้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Homepage - AC Milan". acmilan.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007.
  2. "Club Italia – FIGC". FIGC – Federazione Italiana Giuoco Calcio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ธันวาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2007.
  3. Di Maggio, Roberto (13 April 2003). "Giovanni Trapattoni – International Appearances". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 12 February 2009.
  4. "Trapattoni wants Italy deal". BBC Sport. 30 March 2004. สืบค้นเมื่อ 15 October 2008.
  5. 5.0 5.1 James Horncastle (6 August 2013). "Greatest Managers, No. 12: Trapattoni". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.
  6. "Giovanni Trapattoni". Union des Associations Européennes de Football. 31 May 2010. สืบค้นเมื่อ 27 December 2010.
  7. "Football Philosophers" (PDF). The Technician. Union des Associations Européennes de Football. 46: 5. May 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]