ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2020

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2020
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20
วันที่23 สิงหาคม ค.ศ. 2020 (2020-08-23)
สนามอิชตาดีอูดาลุช, ลิสบอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
กีงส์แล กอมาน (ไบเอิร์นมิวนิก)[1]
ผู้ตัดสินดานิเอเล โอร์ซาโต (อิตาลี)[2]
ผู้ชม0 คน[note 1]
สภาพอากาศกลางคืนสดใส
25 °C (77 °F)
ความชื้นสัมพัทธ์ 53%[3]
2019
2021

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2020 เป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019–20 ฤดูกาลที่ 65 ของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรลำดับแรกของยุโรป จัดขึ้นโดยยูฟ่า และเป็นฤดูกาลที่ 28 นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจากยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพมาเป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดนี้จะลงเล่นในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ที่ อิชตาดีอูดาลุช ใน ลิสบอน, ประเทศโปรตุเกส, ระหว่างสโมสรจากฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง, ในนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพครั้งแรกของพวกเขา, และสโมสรจากเยอรมัน ไบเอิร์นมิวนิก. แมตช์นี้ไม่แน่นอนที่จะลงเล่นในรูปแบบ หลังปิดประตู, ถึงแม้ว่าผู้ชมจะได้รับอนุญาตขึ้นอยู่กับการทบทวนสถานการณ์และการตัดสินใจของรัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่น.

นัดชิงชนะเลิศตามโปรแกรมเดิมจะต้อลงเล่นที่ สนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค ใน อิสตันบูล, ประเทศตุรกี ในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2020.[4] อย่างไรก็ตาม, ยูฟ่าได้ประกาศไปเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2020 ว่านัดชิงชนะเลิศได้ถูกเลื่อนการแข่งขันเนื่องจาก การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป.[5] เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการบริหารของยูฟ่าเลือกที่จะย้ายที่ตั้งของรอบชิงชนะเลิศไปเป็นลิสบอน.[6] แมตช์นี้จะเป็นครั้งแรกสำหรับนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพ/แชมเปียนส์ลีก ที่จะลงเล่นในวันอาทิตย์, และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 2009 ที่ไม่ได้ลงเล่นในวันเสาร์. นอกจากนี้จะเป็นครั้งแรกสำหรับนัดชิงชนะเลิศของการแข่งขันที่จะลงเล่นหลังเดือนมิถุนายน.

ทีมชนะเลิศจะได้รับสิทธิ์ที่จะเล่นพบกับทีมชนะเลิศของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2019–20 ใน ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2020. พวกเขายังมีสิทธิ์ได้เข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มของ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2020–21.[7]

ทีม[แก้]

ในตารางด้านล่างนี้, นัดชิงชนะเลิศจนถึงปี ค.ศ. 1992 จะเป็นยุคสมัยยูโรเปียนคัพ, นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 จะเป็นในยุคยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก.

ทีม การเข้าร่วมครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาหมายถึงทีมชนะเลิศ)
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ไม่เคย
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 10 (1974, 1975, 1976, 1982, 1987, 1999, 2001, 2010, 2012, 2013)

สนามแข่งขัน[แก้]

สนาม อิชตาดีอูดาลุช ใน ลิสบอน จะเป็นเจ้าภาพในนัดชิงชนะเลิศ.

คณะกรรมการบริหารยูฟ่าได้เลือกสนามแข่งขัน – รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ อิชตาดีอู ดู สปอร์ต ลิสโบอา อี เบนฟิกา – ที่การประชุมของพวกเขาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2020.[6] นี่เป็นนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกครั้งที่สองที่เป็นเจ้าภาพที่สนามกีฬาแห่งนี้; ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2014, ในขณะที่ เรอัลมาดริด สามารถรักษาแชมป์สมัยที่ 10 ของพวกเขาโดยการเอาชนะ อัตเลติโกเดมาดริด 4–1 ในนัดชิงชนะเลิศครั้งแรกระหว่างทีมจากเมืองเดียวกัน.

สนามเหย้าของทีมจากโปรตุกีส พรีไมรา ลีกา ไบฟีกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003, ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันถึงห้านัดของ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004, รวมไปถึง นัดชิงชนะเลิศ. ก่อนการรื้อถอนในปี ค.ศ. 2003, เพื่อหาหนทางสำหรับเพิ่มความจุสนามใหม่อยู่ที่ 65,000 คน, ดั้งเดิม อิชตาดีอูดาลุช เป็นเจ้าภาพใน ยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ 1992 นัดชิงชนะเลิศ, แวร์เดอร์เบรเมิน ชนะ มอนาโก 2–0, และเลกที่สองของ ยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ 1983, อันเดอร์เลคต์ รักษาผลเสมอ 1–1 กับไบฟีกาเพื่อยกถ้วยรางวัล.[8]

ลิสบอนเคยผ่านการจัดรอบชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพมาแล้วในปี ค.ศ. 1967, เมื่อทีมจากสกอตแลนด์ เซลติก ชนะ อินเตอร์มิลาน จากอิตาลี 2–1 ที่ อิชตาดีอู นาซิโอนัล. เมืองหลวงของโปรตุเกสยังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ 2005 ที่ อิชตาจีอูโชเซอัลวาลาเด, บ้านของคู่ปรับท้องถิ่นของทีมไบฟีกาและคู่ชิงชนะเลิศ สปอร์ติงลิสบอน, พ่ายแพ้ต่อ 3–1 ให้กับ ซีเอสเคเอ มอสโก.[8]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

หมายเหตุ: ในผลการแข่งขันทั้งหมดด้านล่างนี้, ผลของทีมที่ได้เข้าชิงชนะเลิศจะเป็นชื่อแรก (H: เหย้า; A: เยือน; N: กลาง).

ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง รอบ เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
สเปน เรอัลมาดริด 3–0 (H) นัดที่ 1 เซอร์เบีย เรด สตาร์ เบลเกรด 3–0 (H)
ตุรกี กาลาทาซาไร 1–0 (A) นัดที่ 2 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 7–2 (A)
เบลเยียม กลึบบรึคเคอ 5–0 (A) นัดที่ 3 กรีซ โอลิมเบียโกส 3–2 (A)
เบลเยียม กลึบบรึคเคอ 1–0 (H) นัดที่ 4 กรีซ โอลิมเบียโกส 2–0 (H)
สเปน เรอัลมาดริด 2–2 (A) นัดที่ 5 เซอร์เบีย เรด สตาร์ เบลเกรด 6–0 (A)
ตุรกี กาลาทาซาไร 5–0 (H) นัดที่ 6 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 3–1 (H)
ชนะเลิศ กลุ่ม A
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 ฝรั่งเศส ปารี แซ็ง-แฌร์แม็ง 6 16
2 สเปน เรอัลมาดริด 6 11
3 เบลเยียม กลึบบรึคเคอ 6 3
4 ตุรกี กาลาทาซาไร 6 2
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
ตารางคะแนน ชนะเลิศ กลุ่ม B
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 6 18
2 อังกฤษ ทอตนัม ฮอตสเปอร์ 6 10
3 กรีซ โอลิมเบียโกส 6 4
4 เซอร์เบีย เรด สตาร์ เบลเกรด 6 3
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง รอบแพ้คัดออก คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง
เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 3–2 1–2 (A) 2–0 (H) รอบ 16 ทีมสุดท้าย อังกฤษ เชลซี 7–1 3–0 (A) 4–1 (H)
อิตาลี อาตาลันตา 2–1 (N) รอบก่อนรองชนะเลิศ สเปน บาร์เซโลนา 8–2 (N)
เยอรมนี แอร์เบ ไลพ์ซิช 3–0 (N) รอบรองชนะเลิศ ฝรั่งเศส ลียง 3–0 (N)

ก่อนการแข่งขัน[แก้]

ดานิเอเล โอร์ซาโต ชาวอิตาเลียนจะเป็นผู้ตัดสินสำหรับนัดชิงชนะเลิศ.

ทูต[แก้]

ทูตสำหรับนัดชิงชนะเลิศเดิมที่อิสตันบูลเป็นอดีตนักเตะทีมชาติตุรกี ฮามิท อัลทึนโทพ,[9] ผู้ที่เคยประสบความสำเร็จในฐานะทีมรองชนะเลิศใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2009–10 กับ ไบเอิร์นมิวนิก เช่นเดียวกับการชนะ 2003 และ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ 2004 กับ ชัลเคอ 04.

ผู้ตัดสิน[แก้]

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2020, ยูฟ่าได้เปิดเผยชื่อ ดานิเอเล โอร์ซาโต ในฐานะผู้ตัดสินสำหรับนัดชิงชนะเลิศ. โอร์ซาโตเคยเป็น ผู้ตัดสินฟีฟ่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010, และก่อนหน้านี้เขาเคยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินที่สี่ใน ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2019.เขายังเคยเป็นผู้ช่วยของผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอใน ฟุตบอลโลก 2018 รอบชิงชนะเลิศ. เขาเคยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินเพิ่มเติม ที่ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 และ ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ ที่ ฟุตบอลโลก 2018. เขามีส่วนร่วมโดยเพื่อนร่วมชาติของเขาสี่คน, กับ โลเรนโซ มันกาเนลลี และ อาเลสซันโดร จิอัลลาตินี ในฐานะผู้ช่วยผู้ตัดสิน, มัสซิมิเลียโน เอียร์ราติ ในฐานะผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ และ มาร์โค กุยดา ในฐานะผู้ช่วยผู้ตัดสินวีเออาร์. ผู้ตัดสินที่สี่เป็น โอวิดิอู ฮาเทกัน ของโรมาเนีย, ในขณะที่สแปนิช โรเบร์โต ดิอัซ เปเรซ เดล ปาโลมาร์ และ อาเลฆันโดร เอร์นันเดซ เอร์นันเดซ รับหน้าที่ในฐานะล้ำหน้าวีเออาร์ และทีมผู้ตัดสินสนับสนุนวีเออาร์, ตามลำดับ.[2]

นัด[แก้]

รายละเอียด[แก้]

ทีม "เจ้าบ้าน" (สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดการ) จะได้รับการกำหนดขึ้นโดยการจับสลากเพิ่มเติมเกิดขึ้นในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (หลังจากเสร็จสิ้นการจับสลากรอบก่อนรองชนะเลิศและรอบรองชนะเลิศ) ที่สำนักงานใหญ่ยูฟ่าในเมืองนียง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง[3]
ไบเอิร์นมิวนิก[3]
GK 1 คอสตาริกา เกย์ลอร์ นาบัส
RB 4 เยอรมนี ทีโล เคเรอร์
CB 2 บราซิล ชียากู ซิลวา (กัปตัน) โดนใบเหลือง ใน 83 นาที 83'
CB 3 ฝรั่งเศส แพร็สแนล กีมแปมเบ
LB 14 สเปน ฆวน เบร์นัต Substituted off in the 80 นาที 80'
CM 21 สเปน อันเดร์ เอร์เรรา Substituted off in the 72 นาที 72'
CM 5 บราซิล มาร์กิญญุส
CM 8 อาร์เจนตินา เลอันโดร ปาเรเดส โดนใบเหลือง ใน 52 นาที 52' Substituted off in the 65 นาที 65'
RF 11 อาร์เจนตินา อังเฆล ดิ มาริอา Substituted off in the 80 นาที 80'
CF 7 ฝรั่งเศส กีลียาน อึมบาเป
LF 10 บราซิล เนย์มาร์ โดนใบเหลือง ใน 81 นาที 81'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 16 สเปน เซร์ฆิโอ ริโก
GK 30 โปแลนด์ มาร์ตซิน บุวกา
DF 20 ฝรั่งเศส แลวีน กูร์ซาวา โดนใบเหลือง ใน 86 นาที 86' Substituted on in the 80 minute 80'
DF 22 ฝรั่งเศส อับดู ดิอัลโล
DF 25 เนเธอร์แลนด์ มิตแชล บัคแคร์
DF 31 ฝรั่งเศส คอลิน ดักบา
MF 6 อิตาลี มาร์โก แวร์รัตตี Substituted on in the 65 minute 65'
MF 19 สเปน ปาโบล ซาราเบีย
MF 23 เยอรมนี ยูลีอาน ดรัคส์เลอร์ Substituted on in the 72 minute 72'
MF 27 เซเนกัล อีดรีซา แกย์
FW 17 แคเมอรูน เอริก มักซิม ชูโป-โมติง Substituted on in the 80 minute 80'
FW 18 อาร์เจนตินา เมาโร อิการ์ดิ
ผู้จัดการทีม:
เยอรมนี โทมัส ทุคเคิล
GK 1 เยอรมนี มานูเอ็ล น็อยเออร์ (กัปตัน)
RB 32 เยอรมนี โยซูอา คิมมิช
CB 17 เยอรมนี เฌโรม โบอาเท็ง Substituted off in the 25 นาที 25'
CB 27 ออสเตรีย ดาวิด อาลาบา
LB 19 แคนาดา อัลฟอนโซ เดวีส์ โดนใบเหลือง ใน 28 นาที 28'
CM 6 สเปน เตียโก Substituted off in the 86 นาที 86'
CM 18 เยอรมนี เลอ็อน โกเร็ทซ์คา
RW 22 เยอรมนี แซร์ช กนาบรี โดนใบเหลือง ใน 52 นาที 52' Substituted off in the 68 นาที 68'
AM 25 เยอรมนี โทมัส มึลเลอร์ โดนใบเหลือง ใน 90+4 นาที 90+4'
LW 29 ฝรั่งเศส กีงส์แล กอมาน Substituted off in the 68 นาที 68'
CF 9 โปแลนด์ รอแบร์ต แลวันดอฟสกี
ผู้เล่นสำรอง:
GK 26 เยอรมนี สเว็น อุลไรช์
GK 39 เยอรมนี ร็อน-ทอร์เบิน ฮ็อฟมัน
DF 2 สเปน อัลบาโร โอดริโอโซลา
DF 4 เยอรมนี นิคคลัส ซือเลอ โดนใบเหลือง ใน 56 นาที 56' Substituted on in the 25 minute 25'
DF 5 ฝรั่งเศส แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์
DF 21 ฝรั่งเศส ลูกัส แอร์น็องแดซ
MF 8 สเปน ฆาบิ มาร์ติเนซ
MF 10 บราซิล ฟีลีปี โกชิญญู Substituted on in the 68 minute 68'
MF 11 ฝรั่งเศส มีกาแอล กุยซ็องส์
MF 14 โครเอเชีย อิวัน เพริชิช Substituted on in the 68 minute 68'
MF 24 ฝรั่งเศส กอร็องแต็ง ตอลีโซ Substituted on in the 86 minute 86'
FW 35 เนเธอร์แลนด์ โยชัว เซิร์คซี
ผู้จัดการทีม:
เยอรมนี ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
กีงส์แล กอมาน (ไบเอิร์นมิวนิก)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[2]
โลเรนโซ มันกาเนลลี (อิตาลี)
อาเลสซันโดร จิอัลลาตินี (อิตาลี)
ผู้ตัดสินที่สี่:[2]
โอวิดิอู ฮาเทกัน (โรมาเนีย)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:[2]
มัสซิมิเลียโน เอียร์ราติ (อิตาลี)
ผู้ช่วยของผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:[2]
มาร์โค กุยดา (อิตาลี)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอล้ำหน้า:[2]
โรเบร์โต ดิอัซ เปเรซ เดล ปาโลมาร์ (สเปน)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอสนับสนุน:[2]
อาเลฆันโดร เอร์นันเดซ เอร์นันเดซ (สเปน)

ข้อมูลในการแข่งขัน[11]

  • แข่งขันเวลาปกติ 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษไปอีก 30 นาที เมื่อทั้งสองทีมเสมอกันในเวลาปกติ
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกจุดโทษ เพื่อหาผู้ชนะ
  • มีชื่อรายชื่อผู้เล่นสำรอง 12 คน
  • การเปลี่ยนตัวผู้เล่นสูงสุดห้าคน, กับอนุญาตเปลี่ยนผู้เล่นคนที่หกได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ[note 2]

สถิติ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 ส่วนที่เหลือของการแข่งขันจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 จะลงเล่นโดยปิดประตูเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป.[10]
  2. แต่ละทีมจะได้รับสิทธิ์สามครั้งที่จะได้เปลี่ยนตัวผู้เล่น, กับโอกาสครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ, ไม่นับรวมการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่เกิดชึ้นในช่วงพักครึ่งแรก, ก่อนที่จะเริ่มต้นของช่วงต่อเวลาพิเศษและช่วงพักครึ่งเวลาแรกในการต่อเวลาพิเศษ.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Paris 0–1 Bayern: Coman strikes gold". UEFA.com. Union of European Football Associations. 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "Referee team appointed for UEFA Champions League final in Lisbon". UEFA.com. Union of European Football Associations. 19 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Tactical Line-ups – Final – Sunday 23 August 2020" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  4. "Istanbul to host 2020 UEFA Champions League Final". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 May 2018.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "UEFA Club Finals postponed". UEFA.com. Union of European Football Associations. 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 23 March 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "UEFA competitions to resume in August". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  7. "Champions League and Europa League changes next season". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  8. 8.0 8.1 "Finals in Lisbon". UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2014.
  9. "EURO 2008 spotlight: How brilliant was Turkey's Hamit Altıntop?". UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 20 June 2020. ...Turkish Football Federation's Executive Committee members planning the UEFA Champions League 2020 final in Istanbul. Hamit is a UEFA ambassador for the city.
  10. "Venues for Round of 16 matches confirmed". UEFA.com. Union of European Football Associations. 9 July 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
  11. "Regulations of the UEFA Champions League: 2019/20 Season" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2020. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  12. 12.0 12.1 12.2 "Team statistics" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]