หอคอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตเกียวสกายทรี เป็นหอคอยที่สูงที่สุดของโลก

หอคอย (อังกฤษ: tower) เป็นอาคารสูงที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สำหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์ หอคอยมักสร้างขึ้นในลักษณะทางสูงและสามารถยืนอยู่ด้วยโครงสร้างของตัวเอง

ประวัติ[แก้]

มนุษย์ได้สร้างหอคอยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หอคอยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งสร้างในลักษณะเป็นหอคอยหินวงกลมในกำแพงของ Neolithic Jericho (8000 BC) หอคอยในยุคแรก ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่อย่างเช่น ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์ ที่เป็นหอคอยรูปทรงกรวย ซึ่งก็เป็นตัวอย่างให้กับวัฒนธรรมฟีนิเชียนและโรมันในเวลาต่อมา ที่ใช้หอคอยในรูปแบบป้อมปราการและที่เฝ้ายาม อีกตัวอย่างคือ หอคอยสังเกตการณ์ที่พบใน Mogador ในต้นศตวรรษแรก ที่ได้รับอิทธิพลมาจากฟีนิเชียนและคาร์เทจ ส่วนโรมันใช้รูปแบบหอคอยแปดเหลี่ยม[1] และจากองค์ประกอบของพระราชวัง Diocletian ในโครเอเชีย ที่มีอายุราว คริสต์ศักราช 300 ขณะที่กำแพงเซอร์เวียน (ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล) และกำแพง Aurelian (ในศตวรรษที่ 3) ที่เป็นหอคอยสี่เหลี่ยม ส่วนในจีนหอคอยเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองจีน ในสมัยราชวงศ์ฉิน

ส่วนหอคอยที่สร้างไม่เสร็จ คือหอคอย Hassan ในโมร็อกโก และยังคงยืนหยัดมาจนถึงปัจจุบัน[2] อีกหอคอยที่เป็นที่รู้จักคือหอเอนเมืองปีซ่า ในเมืองปีซ่า ประเทศอิตาลี ก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1173 ถึง 1372 และหอคอยในทิเบต Himalayan Towers คาดว่าก่อสร้างราวศตวรรษที่ 14 ถึง 15[3]

สถิติหอคอย[แก้]

ซีเอ็นทาวเวอร์ เป็นหอคอยที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

อันดับหอคอยที่สูงที่สุดในโลก มีดังนี้ (ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2556)

อันดับ ชื่อ เมือง ประเทศ ความสูง ปีที่สร้างเสร็จ
1 โตเกียวสกายทรี โตเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 634 ม. 2,080 ฟุต 2012
2 แคนตันทาวเวอร์ กวางเจา ธงของประเทศจีน จีน 600 ม. 2,000 ฟุต 2010
3 ซีเอ็นทาวเวอร์ โตรอนโต ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 553.3 ม. 1,815 ฟุต 1976
4 หอออสตันคิโน มอสโก ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 540.1 ม. 1,772 ฟุต 1967
5 หอไข่มุกตะวันออก เซี่ยงไฮ้ ธงของประเทศจีน จีน 468 ม. 1,535 ฟุต 1994
6 Milad Tower เตหะราน ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน 435 ม. 1,427 ฟุต 2007
7 หอคอยกัวลาลัมเปอร์ กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 421 ม. 1,381 ฟุต 1994
8 Tianjin Radio and Television Tower เทียนจิน ธงของประเทศจีน จีน 415.2 ม. 1,362 ฟุต 1991
9 Central Radio and TV Tower ปักกิ่ง ธงของประเทศจีน จีน 405 ม. 1,329 ฟุต 1992
10 หอคอยเจิ้งหยวน เจิ้งโจว ธงของประเทศจีน จีน 388 ม. 1,273 ฟุต 2009
11 Kiev TV Tower เคียฟ ธงของประเทศยูเครน ยูเครน 385 ม. 1,263 ฟุต 1973
12 Tashkent Tower ทาชเคนต์ ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 374.9 ม. 1,230 ฟุต 1985
13 หอคอยลิเบอเรชัน คูเวตซิตี ธงของประเทศคูเวต คูเวต 372 ม. 1,220 ฟุต 1996
14 Almaty Tower อัลมาเตอ ธงของประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถาน 371.5 ม. 1,219 ฟุต 1983
15 Riga Radio and TV Tower รีกา ธงของประเทศลัตเวีย ลัตเวีย 368.5 ม. 1,209 ฟุต 1987
16 Berliner Fernsehturm เบอร์ลิน ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 368 ม. 1,207 ฟุต 1969
17 Stratosphere Tower ลาสเวกัส  สหรัฐ 350.2 ม. 1,149 ฟุต 1996
18 West Pearl Tower เฉิงตู ธงของประเทศจีน จีน 339 ม. 1,112 ฟุต 2004
19 Macau Tower มาเก๊า ธงของมาเก๊า มาเก๊า 338 ม. 1,109 ฟุต 2001
20 Europaturm แฟรงก์เฟิร์ต ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 337.5 ม. 1,107 ฟุต 1979
21 Dragon Tower ฮาร์บิน ธงของประเทศจีน จีน 336 ม. 1,102 ฟุต 2000
22 โตเกียวทาวเวอร์ โตเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 332.6 ม. 1,091 ฟุต 1958
23 Emley Moor TV Tower Huddersfield  สหราชอาณาจักร 330.4 ม. 1,084 ฟุต 1970
24 WITI TV Tower Shorewood  สหรัฐ 329 ม. 1,079 ฟุต 1962
25 Sky Tower อ็อคแลนด์ ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 328 ม. 1,076 ฟุต 1997
26 Vilnius TV Tower วิลนีอุส ธงของประเทศลิทัวเนีย ลิทัวเนีย 327 ม. 1,073 ฟุต 1980
27 St. Petersburg TV Tower เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 326 ม. 1,070 ฟุต 1962
28 หอไอเฟล ปารีส ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 324 ม. 1,063 ฟุต 1889
29 WHDH-TV Tower Newton  สหรัฐ 323.8 ม. 1,062 ฟุต 1994
30 Rameswaram TV Tower Rameswaram ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 323 ม. 1,060 ฟุต 1995
31 หอคอยซิดนีย์ ซิดนีย์ ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 309.ม 1.041.ฟุต 1981

แผนผัง[แก้]

แผนภาพของหอโทรทัศน์ที่สูงที่สุด

สถิติหอคอยที่สูงที่สุดในโลกในอดีต ถึงปัจจุบัน[แก้]

ระยะเวลาที่รักษาสถิติ ชื่อ เมือง ประเทศ ความสูง
280 BC - 1180 AD Pharos Lighthouse อะเล็กซานเดรีย ธงของประเทศอียิปต์ อียิปต์ 122 ม.
1180 - 1240 Malmesbury Abbey Tower Malmesbury  สหราชอาณาจักร 131.3 ม.
1240 - 1311 Tower of Old St Paul's Cathedral ลอนดอน  สหราชอาณาจักร 150 ม.
1311 - 1549 Tower of Lincoln Cathedral ลิงคอล์น, อังกฤษ  สหราชอาณาจักร 159.7 ม.
1549 - 1647 Tower of St Mary's church ชตราลซุล ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 151 ม.
1647 - 1874 Tower of Strasbourg Cathedral สทราซบูร์ ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 142 ม.
1874 - 1876 Tower of St. Nikolai ฮัมบวร์ค ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 147 ม.
1876 - 1880 Tower of Rouen Cathedral รูอ็อง ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 151 ม.
1880 - 1889 Tower of Cologne Cathedral โคโลญ ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 157.38 ม.
1889 - 1958 หอไอเฟล ปารีส ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 312.3 ม.
1958 - 1967 โตเกียวทาวเวอร์ โตเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 332.6 ม.
1967 - 1976 หอออสตันคิโน มอสโก ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 540.1 ม.
1976 - 2010 ซีเอ็นทาวเวอร์ โตรอนโต ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 553.33 ม.
2010 - 2012 แคนตันทาวเวอร์ กวางเจา ธงของประเทศจีน จีน 600 ม.
2012 - 2022 โตเกียวสกายทรี โตเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 634 ม.
2022 - ปัจจุบัน ดูไบครีกทาวเวอร์ ดูไบ ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1,345 ม.

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. C.Michael Hogan, "Diocletian's Palace", The Megalithic Portal, A. Burnham ed, Oct 6, 2007
  2. Justin McGuinness, Morocco Handbook, 2003, Footprint Travel Guides: Morocco, 560 pages ISBN 1-903471-63-X
  3. http://msnbc.msn.com/id/3474951 Dana Thomas, Towers to the Heavens, Newsweek, 2003-11-15

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]