ฮาร์บิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาร์บิน

哈尔滨市

, ᡥᠠᡵᠪᡳᠨ
สถานที่ต่าง ๆ ในนครฮาร์บิน
สถานที่ต่าง ๆ ในนครฮาร์บิน
สมญา: 
เมืองน้ำแข็ง, ปารีสแห่งบูรพาทิศ, มอสโกแห่งบูรพาทิศ, ไข่มุกบนคอหงส์
ฮาร์บินตั้งอยู่ในประเทศจีน
ฮาร์บิน
ฮาร์บิน
ที่ตั้งภายในประเทศจีน
พิกัด: 45°45′N 126°38′E / 45.750°N 126.633°E / 45.750; 126.633พิกัดภูมิศาสตร์: 45°45′N 126°38′E / 45.750°N 126.633°E / 45.750; 126.633
ประเทศจีน
มณฑลเฮย์หลงเจียง
เขตการปกครอง18 เขต[1] รวม 9 เมือง, 2 เขต และ 7 อำเภอ
ตั้งถิ่นฐานก่อน ค.ศ. 1115
จัดตั้งเป็น
 -เมือง

ค.ศ. 1898
 -เขต31 ตุลาคม ค.ศ. 1905
 -เทศบาล5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921
การปกครอง[2]
 • ผู้ว่าการซ่ง ซีปิน (宋希斌)
พื้นที่[3]
 • นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล53,068 ตร.กม. (20,490 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง4,640.4 ตร.กม. (1,791.7 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล10,204.8 ตร.กม. (3,940.1 ตร.ไมล์)
ความสูง150 เมตร (488 ฟุต)
ประชากร
 (2010)[4]
 • นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล10,635,971 คน
 • ความหนาแน่น200 คน/ตร.กม. (520 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง5,282,083 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง1,100 คน/ตร.กม. (2,900 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล6,704,573 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล660 คน/ตร.กม. (1,700 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์150000
รหัสพื้นที่451
ป้ายทะเบียนรถA,L
GDP (2013)CNY 501 พันล้าน
 - เติบโตเพิ่มขึ้น 8.9%
 - ต่อหัวCNY 49,565
GDP (PPP)2013
 - รวมUS$117.99 พันล้าน
 - ต่อหัวUS$ 11,671
ดอกไม้ประจำนครไลลัก
เว็บไซต์www.harbin.gov.cn/english.htm

ฮาร์บิน[5] (แมนจู: , ᡥᠠᡵᠪᡳᠨ ) หรือภาษาจีนกลางเป็นที่รู้จักว่า ฮาเอ่อร์ปิน[5] (จีนตัวย่อ: 哈尔滨; จีนตัวเต็ม: 哈爾濱; พินอิน: Hā'ěrbīn) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเฮย์หลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน[6] ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำซงหัว ฮาร์บินเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต และยังเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสารคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จึงถือได้ว่าเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของจีนและของเอเชียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ[7]

คำว่า ฮาร์บิน เป็นคำในภาษาแมนจู มีความหมายว่า "สถานที่ตากแห (จับปลา)"

  • จำนวนประชากร: 9.54 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตเมือง 4.64 ล้านคน
  • พื้นที่: 53,775 ตารางกิโลเมตร เขตเมืองมีพื้นที่ 7,086 ตารางกิโลเมตร
  • GDP: 183.04 พันล้านหยวน (22.88 พันล้านเหรีญสหรัฐ) ใน พ.ศ. 2548

ฮาร์บินมีสมญานามว่า 'ไข่มุกบนคอหงส์' เนื่องจากสัญฐานของมณฑลเหยหลงเจียงมีลักษณะคล้ายหงส์ ส่วนสมญานามอื่น ๆ คือ 'มอสโกแห่งตะวันออก' หรือ 'ปารีสแห่งตะวันออก' เนื่องจากลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนในเมืองคล้ายกับในมอสโกหรือปารีส และฮาร์บินยังเป็นที่รู้จักในชื่อ 'เมืองแห่งน้ำแข็ง' เพราะมีฤดูหนาวที่ยาวนานและหนาวเย็นมาก

เขตการปกครองย่อย[แก้]

8 เขต:

  • เขตเต้าหลี่ (道里区)
  • เขตหนานกั่ง (南岗区)
  • เขตเซียงฟัง (香坊区)
  • เขตเต้าว่าย (道外区)
  • เขตซงเป่ย (松北区)
  • เขตฮูหลาน (呼兰区)
  • เขตอาเฉิง (阿城区)
  • เขตต้งหลี้ (群力区)

3 นครระดับอำเภอ:

  • นครซั่งจื้อ (尚志市)
  • นครชวงเฉิง (双城市)
  • นครอู่ฉาง (五常市)

7 อำเภอ:

  • ฟางเจิ้ง (方正县)
  • ปิน (宾县)
  • อยีหลาน (依兰县)
  • ปาย่าน (巴彦县)
  • ทงเหอ (通河县)
  • มู่หลาน (木兰县)
  • หยานโช่ว (延寿县)

ประวัติศาสตร์[แก้]

ตำแหน่งของเมืองฮาร์บิน

ประวัติการตั้งถิ่นฐานในบริเวณเมืองฮาร์บินสามารถย้อนหลังไปได้อย่างน้อยถึง 2,200 ปีก่อนคริสตกาล (ปลายยุคหิน) ในขณะนั้นบริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า Pinkiang

ในปี พ.ศ. 2441 หมู่บ้านเล็กๆถูกพัฒนาและขยายเป็นเมืองสมัยใหม่ พร้อมกับการเริ่มต้นการสร้างทางรถไฟจีนสายตะวันออก (KWZhD) โดยรัสเซีย และการขยายเส้นทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ซึ่งช่วยย่นระยะทางไปสู่วลาดีวอสตอคและเชื่อมโตเส้นทางไปสู่เมืองท่า Dairen (Dalnii) และฐานทัพเรือรัสเซีย Port Arthur

หลังจากที่รัสเซียพ่ายแพ้ในสงครามกับญี่ปุ่น (2447-2448) อิทธิพลและอำนาจของรัสเซียก็เสื่อมถอยลง ทำให้มีผู้คนหลายพันเชื้อชาติจาก 33 ประเทศ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฝรั่งเศสรวมอยู่ด้วย เดินทางเข้ามายังฮาร์บิน มี 16 ประเทศก่อตั้งสถานกงสุล และสร้างบริษัททางด้านอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการเงินหลายร้อยแห่งขึ้นในฮาร์บิน ทางจีนเองก็ได้ริเริ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมด้านการผลิตเหล้า อาหาร และสิ่งทอ การเจริญเติบโตเช่นนี้ทำให้ฮาร์บินมีสถานะเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเป็นเมืองธุรกิจระดับนานาชาติ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2461 ระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย กองกำลัง White Guards ของรัสเซียซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ ได้รวมตัวกับผู้ลี้ภัย หลบหนีมายังฮาร์บิน ทำให้ฮาร์บินเป็นศูนย์กลางของผู้ลี้ภัยรัสเซียฝ่ายขาว และกลายเป็นชุมชนชาวรัสเซียที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่นอกอาณาเขตรัสเซีย ต่อมาชาวรัสเซียเชื้อสายยิวได้ก่อตั้งชุมชนชาวยิวขึ้นในฮาร์บิน และรับเอาชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่หลบหนีจากนาซีเยอรมันมารวมตัวด้วยเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2478-2482 นอกจากนี้ ชาวรัสเซียในฮาร์บินยังได้วางระบบโรงเรียนตามแบบรัสเซียขึ้น และมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษารัสเซียวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปในเมือง

ในปี พ.ศ. 2478 หลังจากที่ทางรถไฟสาย KWZhD ถูกขายให้แก่ญี่ปุ่น ฮาร์บินได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ แมนจูกัว ในอาณัติของญี่ปุ่น ต่อมาหลังปี พ.ศ. 2489 ฮาร์บินตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจเหนือภูมิภาคแถบนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2493-2497 กลุ่มชาวยุโรปที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งมีทั้งชาวรัสเซีย เยอรมัน โปแลนด์ กรีก และอื่น ๆ ได้อพยพออกจากเมืองไปยังออสเตรเลีย บราซิล และสหรัฐอเมริกา บางส่วนก็ถูกส่งตัวกลับประเทศเดิม ขณะที่ชาวรัสเซียอีกหลายพันคนที่หลบหนีจากกองกำลังคอมมิวนิสต์ก่อนเกิดสงครามได้ถูกสังหารโดยทหารโซเวียต และมีอีกจำนวนมากที่ถูกส่งตัวไปยังสหภาพโซเวียต จนถึงปี พ.ศ. 2531 ชุมชนชาวรัสเซียเดิมมีผู้อาศัยอยู่เพียง 30 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้สูงอายุทั้งสิ้น

เหตุการณ์สารพิษรั่วไหลที่โรงงานผลิตเบนซีน[แก้]

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โรงงานผลิตเบนซีนที่ตั้งอยู่ในเมืองจีหลิน ทางด้านต้นน้ำแม่น้ำซงหัว ได้เกิดระเบิดขึ้น ระดับของเบนซีนได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 100 เท่าของระดับปกติ ทำให้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในฮาร์บินต้องปิดเส้นทางน้ำ ผู้อยู่อาศัยในเมืองบางส่วนได้อพยพออกจากเมือง ขณะที่อีกบางส่วนต้องรีบเร่งไปซื้อน้ำบรรจุขวดเก็บไว้สำหรับดื่ม ต่อมาอีก 2-3 วัน น้ำในแม่น้ำได้รับการชำระสารเคมีเรียบร้อย โดยระหว่างนั้นทางผู้บริหารเมืองฮาร์บินได้ให้เหตุผลในการปิดเส้นทางน้ำว่าเพื่อตรวจสอบระบบการกักเก็บและจ่ายน้ำ และยังได้ปฏิเสธรายงานการรั่วไหลของสารเคมี โดยอ้างว่าเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม[แก้]

ถนนหัวเอ๋อในเขตเต้าหลี่
จัตุรัสหงโป๋

ฮาร์บินเป็นหนึ่งในเมืองที่สวยงามที่สุดของจีน โดยเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากรัสเซียและยุโรป แต่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว

ถนนจงหยางเป็นถนนย่านธุรกิจสายหนึ่งในฮาร์บิน มีความยาว 1.4 กิโลเมตร ทอดตัวอยู่ในเขตเต้าหลี่ เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ทั้งลวดลายการตกแต่งอาคารแบบบารอคและไบแซนไทน์ อาคารสถาปัตยกรรมแบบยิว ร้านค้าเล็กๆแบบรัสเซีย บ้านเรือนแบบฝรั่งเศส ศูนย์อาหารแบบอเมริกัน และภัตตาคารญี่ปุ่น ในเขตเต้าหลี่นี้ยังเป็นที่ตั้งของวิหารเซนต์โซเฟีย ซึ่งเป็นโบสถ์คริสต์นิกายรัสเซียออร์ธอดอกซ์อีกด้วย

วิหารเซนต์โซเฟียใช้เวลาสร้างอยู่ 9 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2475 ปัจจุบันได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายของฮาร์บิน

อิทธิพลของรัสเซีย[แก้]

วิหารเซนต์โซเฟีย

ทุกวันนี้ฮาร์บินยังคงมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมรัสเซียเหมือนเมื่อครั้งอดีต ในอดีตเคยเป็นเมืองภายใต้การควบคุมของรัสเซีย ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายกับรัสเซีย

อิทธิพลจากวัฒนธรรมของรัสเซียเริ่มเผยแพร่เข้ามาเมื่อครั้งสร้างทางรถไฟสายจีนตะวันออกไกล และการขยายเส้นทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียน ในครั้งนั้นฮาร์บินซึ่งเคยเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง ได้เริ่มพัฒนาขึ้นจนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

กิจกรรมในฤดูหนาว[แก้]

ฮาร์บินเป็นเมืองหนึ่งที่มีวัฒนธรรมเกี่ยวกับหิมะและน้ำแข็ง โดยทางภูมิศาสตร์แล้ว ฮาร์บินตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในจุดที่ได้รับอิทธิพลจากลมหนาวในฤดูหนาวจากไซบีเรียโดยตรง ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 21.2 °C และในฤดูหนาวจะอยู่ที่ -16.8 °C บางครั้งอาจลดลงถึง -38.1 °C

เทศกาลงานแกะสลักหิมะและน้ำแข็งนานาชาติแห่งเมืองฮาร์บิน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม มีระยะเวลา 1 เดือน กิจกรรมในช่วงเวลาเทศกาลมีทั้งการแข่งขันสกี Yabuli Alpine การแข่งขันว่ายน้ำในแม่น้ำซงหัว และนิทรรศการโคมน้ำแข็งในสวนเจ้าหลิน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Administrative Divisions". Harbin Municipal Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ 14 September 2011.
  2. "Leader Information" (ภาษาจีน). harbin.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02.
  3. "Survey of the City". Basic Facts. Harbin Municipal Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-30. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
  4. 2010年哈尔滨市第六次全国人口普查主要数据公报 [Sixth National Population Census of the People's Republic of China] (ภาษาจีน). National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  6. "Illuminating China's Provinces, Municipalities and Autonomous Regions-Heilongjiang". PRC Central Government Official Website. 2001. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  7. 最新中国城市人口数量排名(根据2010年第六次人口普查) (ภาษาจีน). www.elivecity.cn. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-05-27.