รายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกที่ครองราชย์สั้นที่สุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระมหากษัตริย์ที่ทรงราชย์น้อยกว่า 1 สัปดาห์[แก้]

พระมหากษัตริย์ พระอิสสริยยศ ราชวงศ์ เริ่มรัชกาล สิ้นรัชกาล รัชกาล สาเหตุในการทรงราชย์ สาเหตุที่สิ้นรัชกาล

พระเจ้าหลุยส์ที่ 19
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส บูร์บง 2 สิงหาคม 1830 14–20 นาที

(เป็นที่ถกเถียง)

การสละราชสมบัติของพระราชบิดา, ชาร์ลส์ที่ 10 หลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ทรงสละราชสมบัติตามแรงกดดันของพระราชบิดาด้วยความหวังที่จะให้มงกุฎถูกส่งต่อไปยัง อองรี เคานต์แห่งชองบอร์ด พระราชนัดดาวัย 9 ชันษา แม้ว่าจะมีการกล่าวว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ในทางเทคนิคสำหรับไม่กี่นาทีและระบุว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์โดยบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[1] แต่พระนาม "หลุยส์ที่ 19" ไม่เคยได้รับการประกาศ, การสละราชสมบัติของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ถูกประกาศในเอกสารฉบับเดียวกัน (ซึ่งอ้างถึงหลุยส์ในฐานะโดแฟงเท่านั้น),โดยไม่รู้ว่าใครลงนามก่อนหลัง [2]

ลูอิสที่ 2 ฟิลิเป
พระมหากษัตริย์โปรตุเกส บรากันซา 1 กุมภาพันธ์ 1908 25 นาที

(เป็นที่ถกเถียง)

การลอบปลงพระชนม์พระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 พระราชบิดา จากเหตุการลอบปลงพระชนม์ที่ลิสบอน พระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกสถูกลอบปลงพระชนม์ในเหตุการณ์การลอบปลงพระชนม์ที่ลิสบอนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1908 เจ้าชายรัชทายาทลูอิส ฟิลิเป พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ทรงได้รับบาดเจ็บสาหัสแต่สิ้นพระชนม์หลังพระราชบิดาประมาณ 25 นาที, ดังนี้ ในทางเทคนิคลูอิสจึงเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกส 25 นาที บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ระบุพระนามพระองค์ในฐานะ พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์พร้อมกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 19 แห่งฝรั่งเศส[3] อย่างไรก็ดี, ในทางจารีตทางการเมืองของโปรตุเกส, พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ต้องได้รับการประกาศโดยสภาคอร์เตส ทำให้รัชกาลของพระองค์ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ พระอนุชามานูเอล ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณืลอบปลงพระชนม์เสด็จขึ้นครองราชย์โดยได้รับการประกาศจากสภา
อเล็กซิออสที่ 5 จักรพรรดิแห่งเทรบิซอนด์ คอมเมนอส 22 เมษายน 1458 1 ชั่วโมง

(เป็นที่ถกเถียง)

การสวรรคตของ จอห์นที่ 4 พระราชบิดา ถูกถอดจากราชสมบัติโดยพระปิตุลาเดวิด รัชกาลของพระองค์เป็นที่ถกเถียงเพราะพระองค์ถูกกล่าวถึงในเอกสารฝรั่งเศสแต่ไม่ถูกกล่าวถึงในเอกสารกรีก
พระราชธิดาในจักรพรรดิเว่ย์เสี้ยวหมิง จักรพรรดิแห่งเว่ย เว่ยเหนือ 1 เมษายน 528 <5 ชั่วโมง ได้รับการสถาปนาโดยพระอัยยิกา พระพันปีหลวงหู ที่อ้างว่าพระนางเป็นพระราชกุมาร พระพันปีหลวงหูยอมรับว่าพระนางเป็นสตรีและสถาปนาหยวน เจาเป็นจักรพรรดิ นักประวัติศาสตร์ฉบับทางการไม่ยอมรับพระนางในฐานะจักรพรรดิ
พระสันตะปาปาเท็จฟิลิป พระสันตะปาปา คริสโตโฟรัส 31 กรกฎาคม 768 8 ชั่วโมง

(เป็นที่ถกเถียง)

ได้รับเลือกหลังพระสันตะปาปาพอลที่ 1 สวรรคต ผลการคัดเลือกได้รับการประกาศว่าเป็นโมฆะ
หวันเอี๋ยน เฉิงหลิน จักรพรรดิแห่งต้าจิน จิน 9 February 1234 12 ชั่วโมง

(เป็นที่ถกเถียง)

การสละราชสมบัติของจักรพรรดิจินไอจง ขณะมีการรุกรานของมองโกล ถูกปลงพระชนม์
พระสันตะปาปาเท็จเซเลสทีนที่ 2 พระสันตะปาปา 13 December 1124 14 ชั่วโมง

(เป็นที่ถกเถียง)

ได้รับเลือกหลังพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตัสที่ 2 สวรรคต สละราชสมบัติเพราะเหตุรุนแรงแตกแยกระหว่างพิธีแต่งตั้ง
มิฮาอิลที่ 2 จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง โรมานอฟ 15 March 1917 16 ชั่วโมง

(เป็นที่ถกเถียง)

การสละราชสมบัติของนิโคลัสที่ 2 ทรงมีเงื่อนไขในการรับราชสมบัติว่าต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาลชั่วคราวแห่งรัสเซีย ซึ่งขัดกับพระราชประสงค์ของซาร์นิโคลัสที่ 2 ผู้ทรงสละราชสมบัติโดยปราศจากการแจ้งให้สาธารณชนทราบ มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการมีอยู่ของ "รัชกาล" นี้ เรื่มอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือสิ้นสุดลง
มิน ชิน สอ พระมหากษัตริย์พม่า พุกาม 1167 18 ชั่วโมง การสวรรคตของพระเจ้าอลองสิธู พระราชบิดา ซึ่งถูกปลงพระชนม์โดยพระเจ้านะระตู, พระอนุชาในพระเจ้ามินชินสอ ถูกปลงพระชนม์ตามคำสั่งของพระเจ้านะระตู
พระสันตะปาปาเท็จวิกเตอร์ที่ 4 พระสันตะปาปา 24 March 1138 25 March 1138 1 วัน–2 เดือน[a] อ้างสิทธิ์หลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาเท็จอานาเคลตัสที่ 2. Through the influence of Bernard of Clairvaux, he was induced less than a day afterwards to make his submission to Pope Innocent II. Innocent II initially restored him as cardinal of SS. Apostoli, but in the Second Lateran Council of April 1139, all former adherents of Anacletus II were condemned and deposed. He then retired to the priorate of S. Eusebio in Fontanella. The date of his death is not recorded; his successor in the title of SS. Apostoli appears for the first time on 4 January 1157.
นิโคลอส คานาบอส จักรพรรดิไบแซนไทน์ คานาบอส 27 January 1204 28 January 1204 น้อยกว่า 1 วัน สถาปนาตนหลังการถอดจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 และจักรพรรดิไอแซกที่ 2 ได้รับการประกาศเป็นจักรพรรดิในวันที่ 25 มกราคม 1204 และ ราชาภิเษก 27 มกราคม 1204. ถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยอเล็กซิออสที่ 5 ถูกสำเร็จโทษ 8 กุมภาพันธ์ 1204
ดูลเซ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเลออน ไอเวรอา 23 September 1230 24 September 1230 1 วัน อ้างสิทธิหลังพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 พระราชบิดาสวรรคต พระชนนีเทเรซ่าถอดจากราชสมบัติและถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าเฟรนันโดที่ 3 แห่งกัสตียา
ซันซา
พระเจ้าวีระพาหุที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งโปลอนนารุวะ กาลิงคะ 1196 1 วัน การสวรรคตของ พระเจ้านิสสันกะ มัลละ พระราชบิดา ถูกปลงพระชนม์
คอนสแตนตินที่ 11 ลาสการิส จักรพรรดิไบแซนไทน์ ลาสคาริส 12 April 1204 13 April 1204 1 วัน

(เป็นที่ถกเถียง)

ได้รับเลือกโดยกองทัพแห่งไบแซนไทน์ฮาเยียโซเฟีย, หลังจากจักรวรรดิละตินทำลายกำแพงคอนสแตนติโนเปิลและการลี้ภัยของจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 5 หลบหนีจากคอนสแตนติโนเปิลและ ไปสวามิภักดิ์ต่อพระอนุชา, เทโอดอร์ที่ 1 จักรพรรดิแห่งไนเซีย การครองราชย์ของพระองค์ยังเป็นที่ถกเถียง

ไมเคิลที่ 1

(ครั้งแรก)

จักรพรรดิแห่งเทรบิซอนด์ คอมเนนอส 30 July 1341 30 or 31 July 1341 ราว 1 วัน ได้รับการสวมมงกุฎหลังเสด็จมาถึงพร้อมเจตจำนงที่จะอภิเษกสมรสกับไอรีน พาไลโอโลจนา, ผู้ถูกโค่นอำนาจโดยแอนนาแห่งเทรบิซอนด์ขณะเสด็จประพาส ถูกถอดจากราชสมบัติและถูกคุมขัง พระองค์กลับมาครองราชย์ใน 1344 และครองราชย์ต่อมาอีก 5 ปี
นโปเลียนที่ 2

(ครั้งแรก)

จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส โบนาปาร์ต 4 April 1814 6 April 1814 2 วัน การสละราชสมบัติของ นโปเลียนที่ 1 พระราชบิดา จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับคำที่จะสละราชสมบัติ, แทนที่ด้วยการสละสิทธิส่วนบุคคลทั้งหมดในบัลลังก์และให้มีผลถึงทายาทของพระองค์ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ถูกล้มเลิกและแทนที่ด้วยราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ฟิลิปที่ 7 พระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส ออร์เลอองส์ 24 February 1848 26 February 1848 2 วัน

(เป็นที่ถกเถียง)

การสละราชสมบัติของพระอัยกาพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิปที่ 1 สถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2
คอลิด บิน บัลกาช สุลต่านแห่งแซนซิบาร์ อัล-ซะอีด 25 August 1896 27 August 1896 2 วัน การสวรรคตของฮามัด บิน ทูไวนี พระญาติ คาดว่าถูกปลงพระชนม์โดยคอลิด ลี้ภัยหลังสงครามอังกฤษ-แซนซิบาร์
จอห์น เจ้าชายแห่งมอลดาเวีย 4–12 September 1552 2–3 วัน การลอบปลงพระชนม์เจ้าชายสตีเฟนที่ 6 โดยเหล่าโบยาร์ ไม่ปรากฏ, รับราชสมบัติโดยอเล็กซานดรูที่ 4
ฉินเซี่ยวเหวิน กษัตริย์แคว้นฉิน ฉิน 251 BC 3 วัน การสวรรคตของพระเจ้าฉินเจ้าเซียง พระราชบิดา ไม่ปรากฏ, สันนิษฐานว่าสาเหตุธรรมชาติ
สุก ดึ๊ก จักรพรรดิแห่งด่ายนาม เหงียน 20 July 1883 23 July 1883 3 วัน การสวรรคตของจักรพรรดิตือ ดึ๊ก พระราชบิดาบุญธรรม ถูกถอดจากราชสมบัติและถูกคุมขัง,เป็นไปได้ว่าถูกสำเร็จโทษ
อินายาตุลลาห์ ข่าน พระมหากษัตริย์อัฟกานิสถาน บารักไซ 14 January 1929 17 January 1929 3 วัน การสละราชสมบัติและลี้ภัยของพระเชษฐา, พระเจ้าอมานุลเลาะห์, ระหว่างการก่อกบฏนำโดยฮาบีบุลลาห์ คาลาคานี สละราชสมบัติให้คาลาคานีหลังถูกจับที่คาบูล
สมเด็จพระราชาธิบดีทิเปนทรา พีร พิกรม ศาหะเทวะ พระมหากษัตริย์เนปาล ศาหะ 1 June 2001 4 June 2001 <56 ชั่วโมง

(3 วัน)

ได้รับการประกาศเป็นพระมหากษัตริย์ภายหลังลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทรา พีร พิกรม ศาหะเทวะ พระราชบิดา และพระประยูรญาติในการสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล, แล้วทรงพยายามอัตนิวิบาตกรรมจนได้รับบาดเจ็บสาหัส สวรรคตหลังทรงบาดเจ็บสาหัสและไม่รู้สึกพระองค์
ว่าที่พระสันตะปาปาสตีเฟนที่ 2 พระสันตะปาปา 23 March 752 26 March 752 3 วัน ได้รับเลือกหลังการสวรรคตของพระสันตะปาปาซาคารี สิ้นพระชนม์ด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก การดำรงตำแหน่งของพระองค์ยังเป็นที่คลุมเครือเพราะพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนการสังฆราชาภิเษกอันเป็นจุดเริ่มรัชกาลที่แท้จริงโดยโบราณราชประเพณี; ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้พระนามของพระองค์ถูกถอดจากรายพระนามพระสันตะปาปา ฉบับทางการในค.ศ. 1961, และ พระสันตะปาปาสตีเฟนที่ 3 ได้รับการออกพระนามว่า "สตีเฟนที่ 2" ใน ค.ศ. 1975 the Holy See ruled that the pontificate begins with the Pope's acceptance prior to the consecration; but it did not restore Stephen to the list, and considers him only Pope-elect.
เล ตรุง ตง จักรพรรดิแห่งด่าย โค เวียต เลตอนต้น October 1005 3 วัน การสวรรคตของจักรพรรดิเล ดั่ย หั่ญ ถูกปลงพระชนม์โดยคำสั่งของเล ลง ดินห์, ผู้เสวยราชย์ต่อมา
เล กวาง ตรี จักรพรรดิแห่งด่ายเวียต เหิ่วเล May 1516 3 วัน การลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิเล เตือง สึก ถูกปลงพระชนม์
คราเตอูอัส พระมหากษัตริย์แห่งมาซิโดเนีย อาร์เกอัด 399 BC 4 วัน

(เป็นที่ถกเถียง)

การลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอาร์เคลัสที่ 1โดยสร้างสถานการณ์ว่าเป็นอุบัติเหตุในการล่าสัตว์ ไม่ปรากฏ นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า คราเตอูอัสเป็นเพียงหนึ่งในผู้สมรู้ร่วมคิดหลายคนในการลอบปลงพระชนม์อาร์เคลัสที่ 1 และมีการอ้างว่าคราเตอูอัสครองบัลลังก์ต่อจากพระองค์เป็นเรื่องแต่ง[4]
มหินทร์ที่ 6 พระมหากษัตริย์แห่งโปลอนนารุวะ วิชัยพาหุ 1187 5 วัน ปลงพระชนม์พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 2 ถูกปลงพระชนม์โดยนิสสันนกะ มัลละ
ฌองที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ กาเปต์ 15 November 1316 20 November 1316 5 วัน เสด็จพระราชสมภพหลังการสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 10 สวรรคต
พระเจ้าพองกาซา หม่องหม่อง พระมหากษัตริย์พม่า โก้นบอง 5 February 1782 11 February 1782 6 วัน ชิงราชสมบัติพระเจ้าจิงกูจา ถูกถอดจากราชสมบัติและสำเร็จโทษโดยพระปิตุลาพระเจ้าปดุง

พระมหากษัตริย์ที่ทรงราชย์น้อยกว่า 1 เดือน[แก้]

พระรูป พระมหากษัตริย์ พระอิสสริยยศ ราชวงศ์ เริ่มรัชกาล สิ้นรัชกาล รัชกาล สาเหตุในการทรงราชย์ สาเหตุที่สิ้นรัชกาล
ศิมรี กษัตริย์อิสราเอล ศิมรี 885 BC or 876 BC 7 วัน การปลงพระชนม์พระเจ้าเอลาห์ ทรงอัตนิวิบาตกรรม ขณะถูกปิดล้อมโดยออมรี ผู้อ้างงสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ชื่อของเขากลายเป็นฉายาสำหรับคนทรยศ
ซีเกอริก กษัตริย์แห่งชาววิสิกอธ อามาลี 16 August 415 22 August 415 7 วัน การลอบปลงพระชนม์อาเทาฟ์ ถูกลอบปลงพระชนม์
ชีปอน กษัตริย์เมาะตะมะ April–May 1330 7 วัน การลอบปลงพระชนม์พระเจ้ารามมะไตย ถูกปลงพระชนม์โดยนางจันทะมังคะละ พระมเหสีในพระเจ้ารามมะไตย
สมเด็จพระเจ้าทองลัน พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา สุพรรณภูมิ 1388–1389 7 วัน การสวรรคตของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 พระราชบิดา ถูกถอดจากราชสมบัติและสำเร็จโทษโดยสมเด็จพระราเมศวร
อองรีที่ 5 พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส บูร์บง 2 August 1830 9 August 1830 7 วัน
(disputed)
การสละราชสมบัติของพระราชอัยกา, ชาร์ลส์ที่ 10 และพระปิตุลา หลุยส์ที่ 19 หลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม การประกาศเป็นกษัตริย์อย่างฉับพลันโดยผู้สำเร็จราชการ หลุยส์ ฟิลิป ดยุคแห่งออร์เลออง ที่เลือกที่จะไม่ประกาศตามที่ฝ่ายบูร์บงคาดหวังไว้ สมัชชาแห่งชาติสถาปนาหลุยส์ ฟิลิปเป็นกษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศสขณะที่อองรีเป็นอันต้องลี้ภัย
มูฮัมหมัด อัล-บาดร์ พระมหากษัตริย์เยเมน คอซิมิด 19 September 1962 26 September 1962 8 วัน การสรรคตของอะหมัด บิน ยะห์ยา พระราชบิดา ราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
ซาอัด อัลอับดุลเลาะห์ อัลซาเล็ม อัศเศาะบาห์ เจ้าผู้ครองรัฐคูเวต อัล-เศาะบาห์ 15 January 2006 24 January 2006 9 วัน การสวรรคตของเชคญาบิร อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์ สมัชชาแห่งชาติเชิญพ้นจากราชสมบัติเพราะปัญหาพลานามัย
ไอรีนา โกดูนอฟนา ซาร์แห่งรัสเซีย โกดูนอฟ 17 January 1598 26 January 1598 9 วัน
(disputed)
อ้างสิทธิ์หลังการสวรรคตของพระเจ้าซาร์เฟโอดอร์ที่ 1 พระสวามี สละราชสมบัติให้พระเชษฐาบอริส โกดูนอฟ
เจน เกรย์ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ ทิวดอร์ 10 July 1553 19 July 1553 9 วัน
(disputed)
ได้รับการประกาศ ณ หอคอยแห่งลอนดอน ตามพระราชพินัยกรรมในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกถอดจากราชสมบัติและสำเร็จโทษโดยพระเชษฐภคินีในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1
อองรีที่ 2 พระมหากษัตริย์เฮติ คริสตอฟ 8 October 1820 18 October 1820 10 วัน
(disputed)
การอัตนิวิบาตกรรมของ พระเจ้าอองรีที่ 1 พระราชบิดา ถูกปลงพระชนม์ก่อนประกาศตนอย่างเป็นทางการ ราชอาณาจักรถูกยุบรวมเป็นสาธารณรัฐเฮติ
อีกอร์ที่ 2 แกรนด์ปรินซ์แห่งเคียฟ รูริค 2 August 1146 13 August 1146 11 วัน การสิ้นพระชนม์ของวีเซโวลอดที่ 2 ถูกบังคับให้สละราชสมบัติ อิซยาสลาฟ เอ็มติสลาวิชรับราชสมบัติต่อ
ซวนถ่ง
(second reign)
จักรพรรดิแห่งต้าชิง ชิง 1 July 1917 12 July 1917 11 วัน การฟื้นฟูราชวงศ์โดยขุนศึกกษัตนิย์นิยมจางซวิน การฟื้นฟูราชวงศ์ล้มเหลวเนื่องจากขาดแรงสนับสนุน
พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 7 พระสันตะปาปา กาสตัญญา 15 September 1590 27 September 1590 12 วัน ได้รับเลือกตั้งหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5 สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมาลาเรีย เป็นพระสันตะปาปาที่ทรงราชย์สั้นที่สุดและได้รับการรับรองจากสันตะสำนัก
ลุดวิกที่ 2 พระมหากษัตริย์ฮอลแลนด์ โบนาปาร์ต 1 July 1810 13 July 1810 13 วัน การสละราชสมบัติและลี้ภัยของพระเจ้าลุดวิกที่ 1 ภายใต้การบังคับของนโปเลียน ราชอาณาจักรถูกผนวกโดยนโปเลียน
เอเลนอร์ที่ 1 สมเด็จพระราชินีนาถแห่งนาวาร์ ตรัสตามารา 28 January 1479 12 February 1479 14 วัน ได้รับการประกาศเป็นสมเด็จพระราชินีนาถหลังการสวรรคตของพระเจ้าฆวนที่ 2 พระราชบิดา สวรรคต
พระสันตะปาปาโบนิเฟซที่ 6 พระสันตะปาปา April 896 15 วัน ได้รับเลือกตั้งหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาฟอร์โมซัส ไม่แน่ชัดว่าเพราะสิ้นพระชนม์จากโรคเกาต์หรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ผลการเลือกตั้งของเขาถูกประกาศเป็นโมฆะใน ค.ศ. 898
อาลี อะหมัด ข่าน อีเมียร์แห่งอัฟกานิสถาน บารักไซ 17 January 1929 1 February 1929 15 วัน ได้รับการประกาศเป็นอีเมียร์จาลาลาบัดในการประท้วงการสละราชสมบัติของพระเจ้าอินายาตุลเลาห์ ข่านให้แก่ฮาบีบุลลาห์ กาลากานี ถูกจับกุมและเรียกค่าไถ่โดยคาลาคานี ต่อมาถูกสำเร็จโทษ
เอลฟ์เวียร์ด กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ เวสเซกซ์ 17 July 924 2 August 924 16 วัน
(disputed)
การสวรรตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส พระราชบิดา สวรรคต. May have reigned in dispute with his elder brother Æthelstan, who succeeded him.
พระสันตะปาปาเซเลสทีนที่ 4 พระสันตะปาปา Castiglione 25 October 1241 10 November 1241 16 วัน ได้รับเลือกตั้งหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 สิ้นพระชนม์
นโปเลียนที่ 2
(second reign)
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส โบนาปาร์ต 22 June 1815 7 July 1815 16 วัน การสละราชสมบัติของนโปเลียนที่ 1 พระราชบิดา จักรวรรดิถูกล้มเลิกและแทนที่โดยราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ถังชาง จักรพรรดิถัง ถัง 8 July 710 25 July 710 17 วัน การลอบปลงพระชนม์พระเจ้าถังจงจง พระราชบิดาโดยจักรพรรดินีเหวยและพระราชธิดาหลีกั่วเอ๋อร์ผู้ต้องการหนุนให้ถังชางเป็นหุ่นเชิด ถูกถอดจากราชสมบัติ;จักรพรรดินีเหวยและหลีกั่วเอ๋อร์ถูกสำเร็จโทษ นักประวัติศาสตร์จารีตไม่นับพระองค์ในรายพระนามจักรพรรดิ ขณะที่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ยอมรับพระองค์
อนิกังกะ พระมหากษัตริย์แห่งโปลอนนารุวะ 1209 17 วัน การลอบปลงพระชนม์ พระเจ้าธรรมาโศก พระราชโอรส ถูกลอบปลงพระชนม์
กินติลลุส จักรพรรดิโรมัน 270 17–177 วัน การสวรรคตของจักรพรรดิคลอดิอุส โกทิคุส ถูกปลงพระชนม์หรืออัตวินิบาตกรรม
โรแบร์ที่ 1 เคานต์แห่งอิเอมัวส์ [fr] นอร์มองดี July 19, 1027 August 6, 1027 18 วัน ได้รับพระราชทานดินแดนจากริชาร์ดที่ 3 ดยุคแห่งนอร์มองดี พระเชษฐา พระเชษฐาสิ้นพระชนม์, ทรงรับตำแหน่งดยุคแห่งนอร์มองดี
พระสันตะปาปาซิซินนิอุส พระสันตะปาปา 15 January 708 4 February 708 20 วัน ได้รับเลือกตั้งหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาจอห์นที่ 7 สิ้นพระชนม์
พระสันตะปาปาธีโอดอร์ที่ 2 พระสันตะปาปา December 897 20 วัน ได้รับเลือกตั้งหลังการถอดถอนพระสันตะปาปาโรมานุส สิ้นพระชนม์
มูอาวิยะห์ที่ 2 เคาะลีฟะฮ์อิสลาม อุมัยยะห์ 683 684 20 วัน ถึง 4 เดือน การสิ้นพระชนม์ของยะซีดที่ 1 พระราชบิดา สิ้นพระชนม์
กอร์เดียนที่ 2 จักรพรรดิโรมัน กอร์เดียน 22 March 238 12 April 238 21 วัน Father and son co-emperors proclaimed in rebellion against Maximinus Thrax, who had himself assassinated his predecessor Alexander Severus, in the so-called Year of the Six Emperors. ถูกปลงพระชนม์ใน ยุทธการที่คาร์เธจ
กอร์เดียนที่ 1 ทรงอัตนิวิบาตกรรมหลังทรงทราบข่าวการสวรรคตของจักรพรรดิกอร์เดียนที่ 2
พระสันตะปาปามาร์เซลลุสที่ 2 พระสันตะปาปา เซอร์วินิ 9 April 1555 1 May 1555 23 วัน ได้รับเลือกตั้งหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 3 สิ้นพระชนม์
เซมสุลต่าน สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ออตโตมัน 28 May 1481 20 June 1481 23 วัน
(disputed)
ตั้งตนเป็นสุลต่านอนาโตเลีย ภายหลังการสวรรคตของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 พระราชบิดา หนีไปยังมัมลุค อียิปต์หลังปราชัยให้สุลต่านบาเยซิดที่ 2
พระสันตะปาปาดามาซุสที่ 2 พระสันตะปาปา กูราญอนี 17 July 1048 9 August 1048 24 วัน ได้รับการแต่งตั้งโดยจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์หลังการถอดถอนพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 9 สิ้นพระชนม์จากมาเลเรียหรือถูกวางยาพิษ
ร็อกนวาลด์ โอลาฟซอน กษัตริย์แห่งเกาะแมน โครวาน 6 May 1249 30 May 1249 24 วัน การสวรรคตของฮาราลดร์ โอลาฟซอนจากเรืออัปปาง ถูกปลงพระชนม์โดยฮาราลดร์ กัวโรอาร์ซอน
คอนสแตนตินที่ 1 จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง โรมานอฟ 1 December 1825 25 December 1825 24 วัน ทรงได้รับสิทธิภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงปฏิเสธสิทธิในการสืบราชสันตติวงศ์เพราะทรงสละสิทธิอย่างลับ ๆ ใน 1823 เพื่ออภิเษกสมรสกับโจอันนา กรุดซินสกา พระอนุชารับราชวมบัติต่อเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1
มิลาน ออร์เบโนวิกที่ 2 เจ้าชายแห่งเซอร์เบีย ออร์เบโนวิก 25 June 1839 8 July 1839 26 วัน การสละราชสมบัติของมิลอส โอเบรโนวิช สิ้นพระชนม์จากวัณโรค
พระสันตะปาปาปิอุสที่ 3 พระสันตะปาปา พิกโกโลมีนี 22 September 1503 18 October 1503 27 วัน ได้รับเลือกหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 สิ้นพระชนม์จากภาวะพิษเหตุติดเชื้อในบาดแผลที่ขา
พระสันตะปาปาลีโอที่ 11 พระสันตะปาปา เมดิชี 1 April 1605 27 April 1605 27 วัน ได้รับเลือกตั้งหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 สิ้นพระชนม์
หลิว เฮ่อ จักรพรรดิแห่งต้าฮั่น ฮั่นตะวันตก 74 BC 27 วัน ฮั่วกวง ผู้สำเร็จราชการแต่งตั้ง ฮั่วกวงถอดจากราชสมบัติ
จักรพรรดิไท่ชาง จักรพรรดิแห่งต้าหมิง หมิง 28 August 1620 26 September 1620 29 วัน การสวรรคตของจักรพรรดิว่านลี่ พระราชบิดา ประชวรสวรรคต
มาร์ตินุส จักรพรรดิโรมันตะวันออก เฮราคลิอาน September–October 641 <1 เดือน ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมกับจักรพรรดิเฮราคลิอุสที่โดยจักรพรรดินีมาร์ตินา พระชนนี จักรพรรดิคอนสแตนซ์ที่ 2 ถอดจากราชสมบัติ
ทิเบเรียส September–October 641


อ้างอิง[แก้]

  1. "Shortest reign of a monarch".
  2. De Coustin, F. (2017) Louis XIX, duc d'Angoulême. Place des éditeurs, 443 pages.
  3. "Shortest reign of a monarch".
  4. Carney, E. (2015) King and Court in Ancient Macedonia: Rivalry, Treason and Conspiracy. ISD LLC, 400 pages.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน