ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
เกิด27 เมษายน พ.ศ. 2496 (71 ปี)
 ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัล
ผลงานสำคัญ
  • สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ รพ.รามาธิบดี,
  • อาคารมหิตลาธิเบศร์ จุฬาฯ
  • อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา รพ.ศิริราช
  • หมู่บ้านเด็กกำพร้าโสสะ (บางปู,หนองคาย,เวียงจันทร์,เชียงราย)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี

ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (เกิด 27 เมษายน พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร) เป็น ราชบัณฑิต [1] สถาปนิกชาวไทย ปัจจุบันเป็นกรรมการอำนวยการของบริษัท Inter PAC ผู้ริเริ่มและพิธีกรปกิณกะทางโทรทัศน์ รายการ "หมอบ้าน" และรายการวิทยุ F.M.96.5 MHz รายการ "คุยกับหมอบ้าน"

เป็นอาจารย์และนักเขียน เป็นครูอาสาสอนหนังสือหลากหลายสถาบัน และเขียนหนังสือทางวิชาการและปรัชญาไว้หลายเล่ม และเป็นนักกิจกรรมวิชาชีพที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วกัน

เป็นน้องชายของ ศ.ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ[2]

ประวัติการศึกษา[แก้]

อาจารย์ยอดเยี่ยม เข้าเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2514 รุ่นเดียวกับ รศ. ดร. ทิพย์สุดา ปทุมานนท์, อ.เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี

กิตติคุณประกาศ[แก้]

ราชบัณฑิตสถาปัตยกรรม ราชบัณฑิตยสภา, ได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2562, ดุษฎีบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในปี 2551, และสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สถาปนิกดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, นิสิตเก่าดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ส่งเสริมวิชาการวิศวกรรมดียิ่ง สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, Honorable Member J.I.A. (Japan Institute of Architects), นักศึกษาดีเด่น University of Illinois (Bradly&Bradly Award,Gargoyle Honor, Phi Keppa Phi), Merit Award R.S.U.,ฯลฯ

บางส่วนของคำประกาศเกียรติคุณในงานรับพระราชทานดุษฎีบัณฑิตฯ ตอนหนึ่งว่า

... นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ เป็นนักวิชาการที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถยิ่ง และเป็นอาจารย์พิเศษ ผู้ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการศึกษาในวิชาชีพสถาปัตยกรรม ให้สอดคล้องกับความเป็นไปของโลกยุคปัจจุบัน โดยการนำความรู้ในการปฏิบัติวิชาชีพจริงมาสู่ห้องเรียน ในฐานะผู้ประสิทธิประสาทวิชาให้แก่นักศึกษา โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสและเพิ่มศักยภาพให้นักศึกษาในภูมิภาคให้มีความรู้ ทั้งเป็นผู้ที่อุทิศความรู้และเป็นวิทยากร ที่ปรึกษาโครงการของหน่วยงานต่างๆ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างในรายการ “หมอบ้าน” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์และการเขียนหนังสือวิชาการหลายเล่มที่ถ่ายทอดประสบการณ์วิชาชีพสถาปัตยกรรมอันเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาด้านวิศวกรรมก่อสร้างซึ่งยังประโยชน์แก่สังคมและประชาชนทั่วไป..

...นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ เป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับประเทศอุทิศตนให้แก่การทำงานจนเป็นที่ยอมรับ และถือเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งในวงการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นที่ปรากฏ ทั้งเป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้มีการก่อตั้งสภาสถาปนิกจนสำเร็จ ดำเนินการยกระดับการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมจนเป็นที่ยอมรับมาตรฐาน ทั้งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและกรรมการสำคัญของประเทศอีกหลายตำแหน่ง ได้รับการเลื่อนสถานะเป็นวุฒิสูงสุด ได้รับรางวัลและกิตติคุณประกาศในระดับประเทศและนานาชาติ ...

กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]

  • อดีต: นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรรมการรถไฟฟ้ามหานคร, กรรมการการเคหะแห่งชาติ, กรรมการจัดสรรที่ดิน, กรรมการส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย, กรรมการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม, กรรมการระเบียบพัสดุฯ, กรรมการควบคุมราคากลาง, กรรมการการท่าอากาศยานฯ,กรรมการกำกับนโยบายพลังงานแผนภาคบังคับ, ประธานเชียร์ และประธานบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, ที่ปรึกษากรรมการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลายสถาบัน ที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, เลขาธิการมูลนิธิเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นชนบทไทย (มูลนิธิในสหรัฐอเมริกา) และอื่นๆ ฯลฯ
  • ปัจจุบัน: กรรมการสภากาชาดไทย, ราชบัณฑิต ราชบัณฑิตยสภา, และอื่นๆ ฯลฯ

ผลงาน[แก้]

ผลงานออกแบบ[แก้]

สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ รพ.รามาธิบดี, อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา รพ.ศิริราช, หมู่บ้านเด็กกำพร้าโสสะ (บางปู,หนองคาย,เวียงจันทร์,เชียงราย), คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี, ศูนย์ศาสนศึกษา ม.มหิดล, ตึกอุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา, อาคารมหิตลาธิเบศร์ จุฬาฯ, สนง.ใหญ่ธนาลงกรณ์ (ที่ทำการกระทรวงวัฒนธรรม), U.M.office, Richmond Office (สุขุมวิท 26), Richmond Palace (สุขุมวิท 43), Taipan Hotel, Crystal Garden, Pilot Plant (Science Park), กระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่, อาคารใน รพ.จุฬาฯ และ ศิริราช, รพ.มหาราช, ฯลฯ

ผลงานบริหารโครงการ-การก่อสร้าง-ควบคุมงาน[แก้]

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, โรงพยาบาลพระมงกุฎ, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งที่ 2 ธ.ประเทศไทย, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเศก, สถานทูตไทยในประเทศพม่า, รัชดาแกรนด์เทียร์เตอร์, โรงแรมพลาซ่าแอททินี, โรงแรมอิมพิเรียลควีนส์พาร์ค, โรงแรมบ้านท้องทรายรีสอร์ท, โรงแรมสมุยเพนนินซูล่า, อาคารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, อุทยานวิจัยวิทยาศาสตร์ (Science Park), ศูนย์วิจัยโยธี, ศูนย์วิจัยไมโครอิเล็คโทรนิค, โครงการกลุ่มบริษัท Noble 20 โครงการ, กรมทางหลวงชนบท, อาคารบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี, อาคารมหิตลาธิเบศร์ จุฬาฯ, ยิมเนเซียม จุฬาฯ ฯลฯ รวมพื้นที่อาคารทั้งหมดประมาณ 3,000,000 ตรม.

ผลงานวิชาการ[แก้]

อาจารย์และผู้บรรยายพิเศษ ให้กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, สมาคมสถาปนิกสยามฯ, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, ฯลฯ

ผลงานเขียน[แก้]

  • บัญญัติ ๒๐ ประการ "เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม"
  • บัญญัติ ๒๑ ประการ "ซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม"
  • ๑ ร้อยพันเรื่องราว จากอีเมลของยอดเยี่ยม
  • ๒ ร้อยพันนิทาน จากอีเมลของยอดเยี่ยม
  • ๓ ร้อยพันบริหาร จากอีเมลของยอดเยี่ยม
  • ๔ ร้อยพันเดินทาง จากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ๕ ร้อยพันความงดงาม จากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ๖ ร้อยพันความรู้คิด จากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ๗ ร้อยพันเชิงชีวิต จากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ๘ ร้อยพันมุมดลใจจากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ๙ ร้อยพันจงรักภักดี ๙ จากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ๑๐ ร้อยพันความคิดถึงพ่อ จากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ๑๑ ร้อยพันความรู้สึกคิด จากอีเมล์ของยอดเยี่ยม
  • ร้อยพันปัญหาในการก่อสร้าง (๗ เล่ม)
  • Value Added by Design (V.A.D.)
  • เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับการก่อสร้าง
  • คอมพิวเตอร์สำหรับสถาปนิกไทย
  • WTO & FTA กับวิชาชีพสถาปัตยกรรม
  • กฎหมายคลายเส้น (การ์ตูน)
  • ขี่ม้าชมดอกไม้กฎหมายการก่อสร้าง
  • บ้านในทศวรรษหน้า
  • ข้อคิดพื้นฐานเพื่อผ่านวิกฤติ โควิด ๑๙
  • ส่งเสด็จฯ พระผู้ทรงส่งมอบแรงดลใจให้ประชา
  • ธ ผู้ทรงเป็นเสาเข็มแห่งแผ่นดิน
  • หลักการทรงงานของพ่อ
  • คำสอนสมเด็จย่า
  • เมตตาธรรมแห่งคำสอนพระราชา
  • ฯลฯ

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต
  2. ""สวนชัชนาถ ผืนป่าแห่งชีวิตของบ้านเทพธรานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-18. สืบค้นเมื่อ 2007-12-29.