ทิพย์สุดา ปทุมานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทิพย์สุดา ปทุมานนท์

เกิดพ.ศ. 2496 (71)
 ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติของ ปอมท. ประจำปี 2549
ผลงานสำคัญ
  • อาคารจามจุรี 5
  • อาคารวิทยกิตติ์
  • อาคารวิศวกรรม 5
  • อาคารวิทยนิเวศน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ (เกิด พ.ศ. 2496 - ) สถาปนิกชาวไทย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นอาจารย์รุ่นบุกเบิกคนสำคัญคนหนึ่งในสายวิชาชีพสถาปัตยกรรม เขาเป็นผู้แต่งหนังสือด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์หลายเล่ม โดยหนังสือแต่ละเล่มนั้นเป็นเอกลักษณ์ด้วยการเขียนมือล้วน ทั้งตัวหนังสือและภาพวาด ที่ไม่ใช้เครื่องพิมพ์ช่วย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ได้รับเลือกเป็น "อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติของ ปอมท. ประจำปี 2549" ในสาขามนุษยศาสตร์[1]

รศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ เข้าเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2514 รุ่นเดียวกับ อ.เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี, ดร.ดุษฎี ทายตะคุ, นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ และได้เรียนต่อปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ เมืองเออร์แบนา-แชมเปญจน์ และปริญญาเอกสาขาสถาปัตยกรรมที่ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอน-อาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่จบการศึกษาปริญญาโทก็ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.ทิพย์สุดาได้เขียนบทความและหนังสือมากมายเกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น กำเนิดสถาปัตยกรรม : กำเนิดนิรนาม กำเนิดในโลกของเด็ก กำเนิดภาษา, 2537, ปรากฏการณ์ศาสตร์ในสถาปัตยกรรม : 2536, กัมปนาทแห่งความสงัด

ผลงานการออกแบบนั้นได้ร่วมกับ รศ.เลอสม สถาปิตานนท์ ออกแบบอาคารจามจุรี 5, อาคารวิทยกิตติ์, อาคารวิศวกรรม 5 (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และได้ร่วมกับ รศ.เลอสม สถาปิตานนท์ และ รศ.อวยชัย วุฒิโฆสิต ออกแบบอาคารวิทยนิเวศน์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เว็บไซต์ ปอมท. ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๒๔, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑