ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุริโยทัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23: บรรทัด 23:


== พระราชประวัติ ==
== พระราชประวัติ ==
สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจาก[[ราชวงศ์พระร่วง]] ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีใน[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจาก[[ขุนวรวงศาธิราช]]ได้เพียง 7 เดือน เมื่อ [[พ.ศ. 2091]] [[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]และ[[พระเจ้าบุเรงนอง|มหาอุปราชาบุเรงนอง]]ยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้าน[[ด่านพระเจดีย์สามองค์]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]]และตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อ[[วันอาทิตย์]] ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2092]] เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า '''วัดสบสวรรค์''' หรือ'''วัดสวนหลวงสบสวรรค์''
สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจาก[[ราชวงศ์พระร่วง]] ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีใน[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจาก[[ขุนวรวงศาธิราช]]ได้เพียง 7 เดือน เมื่อ [[พ.ศ. 2091]] [[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]และ[[พระเจ้าบุเรงนอง|มหาอุปราชาบุเรงนอง]]ยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้าน[[ด่านพระเจดีย์สามองค์]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]]และตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อ[[วันอาทิตย์]] ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2092]] เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า '''วัดสบสวรรค์''' หรือ'''วัดสวนหลวงสบสวรรค์''อิอิ


== พระวีรกรรมในหลักฐานไทย ==
== พระวีรกรรมในหลักฐานไทย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:45, 26 สิงหาคม 2559

พระสุริโยทัย
พระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ประสูติพ.ศ. 2054
สวรรคต3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092
พระราชสวามีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระราชบุตรพระราเมศวร
พระมหินทร์
พระวิสุทธิกษัตรีย์
พระบรมดิลก
พระเทพกษัตรี
พระสุริโยทัย
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัยตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้ ไทยยกย่องว่าเป็นวีรสตรีจากวีรกรรมยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปรในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

พระราชประวัติ

สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์' หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์อิอิ

พระวีรกรรมในหลักฐานไทย

พระสุริโยทัย (กลาง) ไสช้างเข้าขวางช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร (ซ้าย) ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ (จิตรกรรมฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์)

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก[1] พระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด พระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้[2][3] พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์[1] พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน[4][5][6]

ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลย[7] และข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงกู เซชัส (Domingo Seixas)[8]

พระราชโอรสและพระราชธิดา

สมเด็จพระสุริโยทัย มีพระราชโอรส-พระราชธิดา 5 พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้

อนุสาวรีย์

หลังสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่สวนหลวง แล้วสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลพระราชทาน คือ วัดสวนหลวงสบสวรรค์ สถูปขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเก็บพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย ถูกเรียกว่า เจดีย์พระศรีสุริโยทัย[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้มีโครงการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ในบริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสุริโยทัยและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่มีพระชนมายุครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2535

วัฒนธรรมสมัยนิยม

ไฟล์:Suriyothai.jpg
หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี แสดงนำในบทสมเด็จพระสุริโยไท ในภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท (พ.ศ. 2544)

ได้มีการนำพระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยทัยมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2535 ทางช่อง 3 โดยมีกาญจนา จินดาวัฒน์ รับบทเป็นสมเด็จพระสุริโยทัย และภาพยนตร์จากการกำกับของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในปี พ.ศ. 2544 โดยมีหม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี รับบทเดียวกัน

ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง "สุริโยไท" ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2544 เนื้อหากล่าวถึงตั้งแต่การสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ซึ่งนำไปสู่สงครามและยุทธหัตถี และนำไปสู่การสวรรคตของสมเด็จพระสุริโยทัย ภาพยนตร์ใช้ต้นทุนสร้าง 550 ล้านบาท

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 วีรสตรีไทย: สมเด็จพระสุริโยทัย. สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ ฉบับที่ ๒๑. สืบค้น 28 สิงหาคม 2553
  2. Wood, William A. R. (1924). History of Siam. Thailand: Chalermit Press. ISBN 1931541108. p. 113.
  3. 3.0 3.1 Prince Damrong Rajanubhab, Disuankumaan (Originally in 1917, 2001 edition). Our Wars With The Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539-1767. Thailand: White Lotus Co. Ltd. ISBN 9747534584. p. 19 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Damrong 19" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. Wood, William A. R. (1924). History of Siam. Thailand: Chalermit Press. ISBN 1931541108. p. 112.
  5. Prince Damrong Rajanubhab, Disuankumaan (Originally in 1917, 2001 edition). Our Wars With The Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539-1767. Thailand: White Lotus Co. Ltd. ISBN 9747534584. p.11.
  6. Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Laurier Books Ltd. ISBN 8120613651. p. 159
  7. A Historical Divide Subhatra Bhumiprabhas. Retrieved 2010-03-04
  8. Suriyothai: The Sun and The Moon. Retrieved 2010-03-04 Archived พฤษภาคม 14, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.

บรรณานุกรม