พงศพัศ พงษ์เจริญ
พงศพัศ พงษ์เจริญ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 14 มกราคม พ.ศ. 2556[1] (2 ปี 105 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 24 เมษายน พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 (3 ปี 159 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2556) |
คู่สมรส | กรพัณณ์ พงษ์เจริญ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต (Ph.D.)[2] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) |
ยศ | พลตำรวจเอก[3]ม.ป.ช. ม.ว.ม. |
พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสารพระเครื่องพุทธคยา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสารอมตพระเครื่อง กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ, รองประธานคณะกรรมการบูรณาการประสานงานกรณีกู้ชีพฉุกเฉิน, อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[4]อดีตกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[5], อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และประธานคณะอนุกรรมการ กลั่นกรองการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ในเขตกรุงเทพมหานคร, อดีตที่ปรึกษาสัญญาบัตร 10 (สบ 10) ฝ่ายความมั่นคงและกิจการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, อดีตโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้แทนพรรคเพื่อไทย ในการลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 อดีตที่ปรึกษาการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[6] ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ หรือที่รู้จักในนาม พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ มีชื่อเดิมว่า ไพรัช (เปลี่ยนชื่อตรงกับวันที่ปรับโครงสร้าง จากกรมตำรวจ เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)[7] เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ที่ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรสุคนธ์ กับ พญ.เกื้อกูล พงษ์เจริญ มีพี่น้อง 8 คน จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 15 (ตท.15) โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 31 โดยสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นปี เมื่อศึกษาจบแล้วได้รับเงินทุนการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไปศึกษาต่อด้านอาชญาวิทยาจากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งจบปริญญาเอก ชีวิตครอบครัว สมรสกับกรพัณณ์ (เดิมชื่อ วิริยา) มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ จิตจุฑา (ญ) อินทัช (ช) และวนัชพรรณ (ญ)[7]
ราชการตำรวจ
[แก้]พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ รับราชการครั้งแรกด้วยการเป็นนายเวรติดตาม พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ ตั้งแต่ยังเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบ.ช.น.) จนกระทั่งได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการศูนย์คอมพิวเตอร์ตำรวจและผู้บังคับการกองสารนิเทศ กรมตำรวจ และในปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานยศเป็น พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) [8] ถือเป็นบุคคลแรกในรุ่น ที่ได้รับพระราชทานยศนายพล จากนั้นได้เลื่อนขึ้นรองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และได้รับเลื่อนยศเป็น พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) ในตำแหน่งผู้บัญชาการประจำตำรวจประสานงานนายกรัฐมนตรีและมหาดไทย
พล.ต.อ.พงศพัศ เป็นที่รู้จักดีของสังคม เนื่องจากเป็นโฆษกกรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งการทำหน้าที่นี้นับว่าโดดเด่นมาก จนเป็นที่กล่าวขานกันโดยทั่วไป จากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจและดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2550[9] แต่ในต้นปี พ.ศ. 2551 ได้มีคำสั่งจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ย้ายออกจากตำแหน่งโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยแต่งตั้ง พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ แทน โดยให้เหตุผลว่า พล.ต.ท.วัชรพล มีความเป็นนักวิชาการมากกว่า[10]
จนกระทั่งในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 หลังจากที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รับตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแล้ว ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.พงศพัศ กลับเข้ามาทำหน้าที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกครั้ง[11] ซึ่งในปลายปีเดียวกันนั้น สื่อมวลชนได้ตั้งฉายาให้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ ว่า "ดาราสีกากี" อันเนื่องจากมักปรากฏบทบาทผ่านทางสื่อต่าง ๆ แทบทุกวัน เสมือนดาราภาพยนตร์คนหนึ่ง[12]
ในกลางปี พ.ศ. 2553 พล.ต.อ.พงศพัศ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้เหตุผลว่าดำรงตำแหน่งนี้ยาวนานถึง 5 สมัยแล้ว โดยเป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 อีกทั้งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ.10) ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ เทียบเท่ารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และได้รับเลื่อนยศให้เป็นพลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) [13] พล.ต.อ.พงศพัศ ยังรับตำแหน่งเป็นโฆษกด้านตำรวจประจำศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 อีกด้วย[14]
กระทั่งวันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับยศนายพลตำรวจ วาระประจำปี 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 46 ตำแหน่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย. 2554 แต่งตั้ง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ที่ปรึกษา สบ 10 เป็น รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ [15] และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) อีกตำแหน่งหนึ่ง ทั้งได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) [16] และกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
จากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 84/2557 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 ลงชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อ 5 มีคำสั่งให้ พลตำรวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และให้กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การเมือง
[แก้]ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.พงศพัศ จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย โดยการทาบทามของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[17] แต่ในเวลาต่อมา พล.ต.อ.พงศพัศได้ปฏิเสธข่าวนี้[18] อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นยังคงมีกระแสข่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดย พล.ต.อ.พงศพัศ มีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ โดยกล่าวว่าอยู่ที่มติของคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และการตัดสินใจของตัวเขาเอง[19]
กระทั่งวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 นายภูมิธรรม เวชยชัย เปิดเผยว่าคณะกรรมการโซนกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ทั้ง 3 โซน มีมติเสนอชื่อ พล.ต.อ.พงศพัศ เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพียงชื่อเดียว[20] และในวันที่ 13 มกราคม พรรคเพื่อไทย มีมติเอกฉันท์ให้ พล.ต.อ.พงศพัศ ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย[21]
พล.ต.อ.พงศพัศ ประกาศนโยบายในการหาเสียงว่า จะทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างไร้รอยต่อ และจากการสำรวจความคิดเห็น (โพล) แทบทุกสำนัก เป็นผู้มีความนิยมในอันดับที่หนึ่ง แต่คะแนนที่ได้รับจากการเลือกตั้งคือ 1,077,899 เสียง เป็นอันดับที่ 2 แม้จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ทำลายสถิติของนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อปี พ.ศ. 2543
27 ตุลาคม 2558 พล.ต.อ.พงศพัศ ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]ส่วนนี้ของบทความอาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
คดีนักข่าวสาว
[แก้]เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เกวลิน กังวานธนวัต ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ให้การในฐานะพยานจำเลย ในคดีที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และพวกรวม 17 คน ทั้งหมดเป็นสื่อมวลชน และนักพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) เป็นจำเลยในคดีแพ่ง ข้อหาหมิ่นประมาท กรณีนำเสนอข่าวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีพฤติกรรมลวนลามนักข่าวสาว โดยเสนอข่าวว่า พล.ต.ท.พงศพัศ (ยศขณะนั้น) เข้าไปจับแขน และพาไปพบนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่ง พล.ต.อ.สันต์ เรียกค่าเสียหาย 2,500 ล้านบาท ตามคดีหมายเลขดำที่ 3968-3977/2547 ต่อมาศาลแพ่งพิจารณาเห็นว่า การเสนอข่าวของสื่อมวลชน เป็นไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จึงมีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว[22]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[23]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[24]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[25]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ↑ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ นั่งบอร์ด ธอส.ช่วยงานด้านพีอาร์
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-11. สืบค้นเมื่อ 2018-08-11.
- ↑ กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ
- ↑ โปรดเกล้าฯพงศพัศกลับตำแหน่งรองผบ.ตร..[ลิงก์เสีย]
- ↑ อดีตที่ปรึกษาการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ↑ 7.0 7.1 พงศพัศ พงษ์เจริญ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (ว่าที่พลตำรวจตรี ไพรัช พงษ์เจริญ เป็น พลตำรวจตรี)
- ↑ ผช.ผบ.ตร.ใหม่ พงศพัศ พงษ์เจริญ ลุกเก้าอี้"ครูใหญ่"เข้ากรม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ด่วน! เด้ง "พงศพัศ พงษ์เจริญ"
- ↑ ""ปทีป" ตั้ง"พงศพัศ" เป็นโฆษก สตช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ ดาราสีกากี
- ↑ พงศพัศลาออกโฆษกตร.[ลิงก์เสีย]จากโพสต์ทูเดย์
- ↑ รับตำแหน่งเป็นโฆษกด้านตำรวจประจำศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ในหลวง โปรดเกล้าฯ 46 นายพล มีผล 18 พ.ย.จากกระปุกดอตคอม
- ↑ "รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการบริษัท [[การบินไทย]] จำกัด (มหาชน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-06. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
- ↑ "พงศพัศ"ตอบรับลงผู้ว่าฯกทม. หลัง"แม้ว"กล่อม! จากแนวหน้า
- ↑ "พงศพัศ" ปฏิเสธ ไม่มีทาบทามลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพ ขอทำงานปราบยาเสพติดก่อน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ถึงคิว'พงศพัศ' กั๊กลงผู้ว่าฯกทม. อ้างอยู่ที่มติพรรค
- ↑ ปูเคลียร์จบ "หน่อย"หนุนพงศพัศ
- ↑ เพื่อไทยมีมติส่ง "พงศพัศ" ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มอบ "สุดารัตน์" ดูนโยบาย
- ↑ คำให้การในคดีหมายเลขดำที่ ๓๙๖๘-๓๙๗๗/๒๕๔๗ ที่วิกิซอร์ซ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๔, ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ส่วนตัว เก็บถาวร 2013-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เฟซบุคส่วนตัว
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ตำรวจชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอเมืองจันทบุรี
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา