พูดคุย:พงศพัศ พงษ์เจริญ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พงศพัศ พงษ์เจริญ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
พงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พงศพัศ พงษ์เจริญ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

คำให้การ[แก้]

คำให้การไม่ต้องใส่ครับ ถ้าจะใส่ต้องไปใส่ในวิกิซอร์ซไม่ใช่วิกิพีเดีย -- KungDekZa | กล่องรับความคิดเห็น | ผลงาน 22:51, 9 มกราคม 2556 (ICT)

พลตำรวจตรี[แก้]

ไพรัช พงษ์เจริญ ได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจตรี อยู่ก่อนแล้ว ก่อนที่เขาจะเปลี่ยนชื่อเป็น พงศ์พัศ ในอีกหนึ่งปีให้หลัง ไม่งั้นข้อมูลเหล่านี้ก็คงไม่มี ราชกิจจานุเบกษา [1] [2] ในประกาศมีแกคนเดียวไม่มีรายชื่อคนอื่นใด จะหาว่าสอดไส้โผไม่ได้ด้วย ข้อมูลที่ Nbaboyz เขียนมาว่า เปลี่ยนชื่อก่อนแล้วสอดไส้เพื่อให้ได้ยศพลตำรวจตรี ขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ปรากฏข้างต้น

ลิงก์ผู้จัดการที่ใส่มา ก็ไม่ได้อ้างถึงเนื้อหาที่เขียนเลยแม้แต่น้อย ดังนั้นสรุปได้เพียงอย่างเดียวว่า ย่อหน้าดังกล่าวเป็นการสมคบคิด/โจมตีโดยผู้เขียน Nbaboyz เท่านั้น --浓宝努 23:47, 9 มกราคม 2556 (ICT)

กรณีขโมยของ[แก้]

กรณีขโมยของ ผมเข้าไปดูไม่ได้ครับ มีเพียงหัวข้อเรื่องที่เห็น แบบนี้จะเป็นการขยายประโยคเป็นย่อหน้ารึเปล่าครับ?

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเรื่องนี้มีมูลนะ ผู้จัดการปี 41 คงจะไม่โจมตีล่วงหน้า 15 ปี และการพระราชทานยศก็ล่าช้าไปเป็นปี (แต่ที่แน่ๆ สอดไส้โผแต่งตั้งไม่มี) แต่รายละเอียดสิ่งที่เกิดขึ้นควรจะมีมากกว่านี้ แค่โปรยแบบนี้แล้วให้ไปคิดต่อเอง ดูจะไม่เป็นธรรม-- Tona22 | พูดคุย 06:28, 10 มกราคม 2556 (ICT)

แหล่งข้อมูลออฟไลน์สามารถใช้อ้างอิงได้เหมือนกัน แต่ว่าต้องมีคนไปแบกหน้าขออ่านเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง (ผมหวังว่าใครสักคนในนี้จะอาสา โดยเฉพาะคนที่ต้องการเก็บข้อมูลนี้ไว้) อนึ่งการอ้างอิงที่ถูกต้อง ควรใส่บรรณานุกรมไปที่หัวข้อข่าวเรื่องนี้โดยตรง หนังสือพิมพ์อะไร ฉบับใด วันที่ใด หน้าใด มิใช่ว่าเอาผลการค้นหาจากห้องสมุดมาลง มันเปรียบได้กับอ้างอิงไปที่กูเกิล ซึ่งมันไม่มีแก่นสารและทำอย่างลวก ๆ --浓宝努 21:58, 12 มกราคม 2556 (ICT)
แต่ถ้าไม่มีใครไปขออ่าน ก็คงต้องลบออกก่อนหละมั้งครับ ถึงยังไงก็เชื่อว่าเรื่องนี้ต้องถูกเปิด และต้องมีข้อชี้แจงเพิ่มเติมหลังจากนี้ไม่นาน เมื่อลงสู้สนามการเมือง (โดยเฉพาะกับเพื่อไทย) ทุกซอกทุกมุมต้องถูกคุ้ยหมดแน่ แต่ตอนนี้ขออนุญาตลบออก จนกว่าจะมีแหล่งอ้างอิงที่ดีกว่านี้-- Tona22 | พูดคุย 13:11, 13 มกราคม 2556 (ICT)

อ้างอิง จาก กกต[แก้]

ข่าวล่าสุดเรื่องนี้ เข้าสู่เรื่องนี้เข้าสู่ กกต. แล้วครับ สิ่งที่ผมใส่ ผมได้ลงไว้อย่างชัดเจนว่าคือ ข้อพิพาท คือ เรื่องที่กำลังอยู่ในการตรวจสอบ หลัง ตรวงสอบแล้ว จะถูกหรือจะผิด มันก็คือข้อพิพาท หาก ผิดจริง ก็ใส่เพิ่มเติม ว่า ภายหลังถูกตรวจสอบว่ามีความผิดจริง หาก หลังตรวจสอบเขาเป็นฝ่ายถูกต้อง ก็เพิ่มเติมเอาว่าหลังการตรวจวสอบ ว่า เป็น เท็จ ส่วน ผจก ปี 41 นั้น เคยลงข่าวเรื่องนี้ไว้แล้ว ตาม link เดิมที่ผมใส่ไว้ให้ ลองไปหานะครับ ผู้จัดการรายวัน 21 ส.ค.41 หน้า 13. หัวข้อ ตั้ง กก.สอบ'ไพรัช พงษ์เจริญ'ขโมยของห้างที่สหรัฐฯ มีมูล ส่วนเรื่องหลังจากนี้ คงต้องรอการตรวจสอบจาก กกต. นะครับ

กกต.พร้อมสอบพงศพัศเคยโดนคดีขโมยวิทยุเปลี่ยนชื่อขอพระราชทานยศ

http://www.tnews.co.th/html/news/49430/กกตพร้อมสอบพงศพัศเคยโดนคดีขโมยวิทยุเปลี่ยนชื่อขอพระราชทานยศ.html#.UPUSXeRth2k

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Nbaboyz (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ข่าวที่ว่า เพิ่งจะมาเขียนเอาวันนี้เอง (15 มกราคม) แต่ข้อมูลเรื่องพลตำรวจตรีที่คุณเขียนโผล่มาตั้งแต่ (5 มกราคม) [3] (เนื้อหาข่าวค่อนข้างเหมือนกับที่คุณ Nbaboyz เขียน) แหล่งข่าวน่าจะลอกจากวิกิพีเดียหลังจากที่คุณ Nbaboyz ไปเขียนไว้มากกว่า คุณเขียนบทความ ข่าวอ้างที่คุณเขียน แล้วคุณก็อ้างข่าวนั้นอีกที ก็เท่ากับอ้างอิงตัวเอง ความน่าเชื่อถือไม่บังเกิดครับ และแหล่งข่าวนั้นเป็นผู้ตั้งประเด็นถาม กกต. เพียงเท่านั้น ยังไม่มีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าวด้วยซ้ำไป --浓宝努 16:30, 15 มกราคม 2556 (ICT)
ปล. คุณต้องแยกประเด็นให้ออก เรื่องขโมยวิทยุ กับเรื่องพระราชทานยศ เป็นสองประเด็นไม่เกี่ยวกัน เรื่องขโมยวิทยุ ยังไม่มีใครในที่นี้เป็นตัวแทนพิสูจน์ (WP:V) ส่วนเรื่องพระราชทานยศ เราพิสูจน์แล้ว หลักฐานคือราชกิจจานุเบกษาอยู่ด้านบน ได้ยศปี 40 ไม่มีการสอดไส้โผ (โผแปลว่ารายชื่อ) และเขาเปลี่ยนชื่อตอนปี 41 เมื่อกรมตำรวจเปลี่ยนชื่อ --浓宝努 16:42, 15 มกราคม 2556 (ICT)
 ความเห็น ไม่มีหลักฐานว่า tnews อ้างเนื้อหาวิกิพีเดีย พูดอย่างนี้ก็คงไม่ค่อยถูกนัก แต่ tnews ก็เป็นสื่อที่ไม่เป็นกลางอย่างชัดเจน ถ้าไม่มีแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมที่น่าเชื่อถือมากกว่านี้ก็คงเอามาเป็นอ้างอิงไม่ได้
ส่วนเรื่องพระราชทานยศก็ตามที่คุณ octahedron80 บอกเลย มีหลักฐานชัดเจนแล้ว --Nullzero (พูดคุย) 17:13, 15 มกราคม 2556 (ICT)
วันนี้คุณพงศพัศก็ไปชี้แจงต่อ กกต.กทม แล้วนะครับ (ทั้งๆที่ยังไม่มีใครยืนนั่นแหละ) ใจความสรุปก็คือตอนปี 41 โดนสอบจริง สอบเสร็จตอนปี 43 ได้ข้อสรุปว่า "บริสุทธิ์" ส่วนกรณียศ ก็เป็นอย่างที่เราได้ลงหลักฐานกันไว้ในนี้จริงๆ คืออันนี้ข่าวเท็จล้วนๆ
ผมเห็นว่าสองเรื่องนี้ควรจะใส่ไว้ในบทความแล้วครับ มีความเห็นจาก 2 ด้านแล้ว ปัญหาก็คือต้องหาแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือของ"ข้อกล่าวหา" คือเมเนเจอร์ปี 41 ว่าเค้าลงรายละเอียดไว้อย่างไร ปัญหาคือไม่มีใครไปตามอ่าน-- Tona22 | พูดคุย 18:04, 16 มกราคม 2556 (ICT)


อ่านข่าววันนี้แล้วเหมือนกันครับ เอาตามที่ผมใส่นะครับ ผมใส่ว่า เป็นข้อพิพาท หรือ ใครจะใช้ว่าเป็นข้อ กล่าวหา ก็ได้ ผมคิดว่าควรใส่ไว้ทั้งหมด และ ให้ใครเขียนเพิ่มเติม ในเรื่อง ก็แก้ข้อกล่าวหา หรือ ท้ายบท ก็ได้ว่า ภายหลัง พงศพัศก็ไปชี้แจงต่อ กกต.กทม แล้วและ ตอนปี 41 โดนสอบจริง สอบเสร็จตอนปี 43 ได้ข้อสรุปว่า "บริสุทธิ์" ส่วนกรณียศ เรื่องยศ ก็ให้ใส่ link ของคุณ 浓宝努 เข้าไป นะครับ

กรณีนักข่าวสาว[แก้]

ในหัวเรื่องนั้น ไม่มีชื่อ "พงศพัศ" อยู่เลยครับ โดยเนื้อความก็คือคุณพงศพัศเป็นคนมาเรียกนักข่าวสาวไปหา ผบ.ตร. ถ้าจะใส่ลงบทความ ก็เขียนเฉพาะตรงนี้มั้ย และเขียนให้ชัดเจนว่าทำอะไรเพื่ออะไร ตอนนี้มันกลายเป็น สันต์ VS เกวลิน มาอยู่ในบทความพงศพัศ

ปล. ถ้าย้ายเรื่องกล่าวหาขโมยของไปรวมกับกรณีนักข่าวเป็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ หรือ ข้อโจมตี หรืออะไรประมาณนี้ดีมั้ยครับ-- Tona22 | พูดคุย 06:33, 10 มกราคม 2556 (ICT)

ในเมื่อหัวข้อ "คดีนักข่าวสาว" ไม่เกี่ยวข้องกับพงศพัศเลย ผมว่าต้องลบออกจากบทความไปเลยครับ เพราะถ้าเอาไปรวมเป็นข้อวิจารณ์จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ -- KungDekZa | กล่องรับความคิดเห็น | ผลงาน 21:21, 10 มกราคม 2556 (ICT)
กรณีนักข่าวสาว ไม่ควรลบออกครับ เพราะมีแหล่งอ้างอิง ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ว่า พล.ต.ท. พงศพัศ พงษ์เจริญ (ยศขณะนั้น) จับแขนนักข่าวและพาพบไปนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เมื่อนักข่าวเสนอข่าวนี้ จึงถูกฟ้องหมิ่นประมาท 2,500 ล้านบาท โดยคำให้การของนักข่าวสาว พูดถึง พล.ต.ท. พงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นตัวหลักของคดีความ ผู้อ่านวิกิพีเดีย จึงควรได้รู้ข้อมูลอย่างรอบด้าน เนื่องจากมีคำให้การในชั้นศาลปรากฏชัดเจน Peng ncc (พูดคุย) 21:14, 12 มกราคม 2556 (ICT)
ให้มาประกอบการอภิปราย คำให้การในคดีหมายเลขดำที่ ๓๙๖๘-๓๙๗๗/๒๕๔๗ เป็นคดีเกี่ยวกับนักข่าวสาว ส่วนจะตัดสินใจกันเช่นไรก็แล้วแต่ ผมเพียงนำเสนอประกอบเท่านั้นครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:48, 14 มกราคม 2556 (ICT)