ปลาตะโกก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาตะโกก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
สกุล: ปลาโจก
(Bleeker, 1850)
สปีชีส์: Cyclocheilichthys enoplos
ชื่อทวินาม
Cyclocheilichthys enoplos
(Bleeker, 1850)
ชื่อพ้อง
  • Barbus enoploides Tirant, 1885
  • Cyclocheilichthys amblyceps Fowler, 1937
  • Cyclocheilichthys dumerilii Sauvage, 1881

ปลาตะโกก เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ลักษณะ[แก้]

ปลาตะโกกมีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด มีหนวด 2 คู่อยู่ริมฝีปาก เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงิน ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอาหารไก้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น หอย, ปู มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร

ที่อยู่[แก้]

ปลาตะโกกพบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย

เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เนื้ออร่อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เช่น ต้มยำ และที่จังหวัดอุตรดิตถ์นิยมนำมาปรุงเป็นน้ำยาในขนมจีนน้ำยา โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "โจก" และในแถบแม่น้ำตาปีว่า "ถลน" หรือ "สลุน"[2]

ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมวิธีแห้ง สีของไข่มีสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยถือเป็นปลาประจำจังหวัดปราจีนบุรีและอุตรดิตถ์[2] และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยเฉพาะตัวที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Vidthayanon, C. (2012). "Cyclocheilichthys enoplos". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T180963A1682767. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T180963A1682767.en. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
  2. 2.0 2.1 หน้า 78, ชนิดที่ 2 ปลาตะโกก สัตว์น้ำประจำ จังหวัดอุตรดิตถ์. "Aqua Knowledge" โดย Title. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 38: สิงหาคม 2556
  3. "การเพาะและขยายพันธุ์ปลาตะโกก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]