สัตว์มีแกนสันหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัตว์มีแกนสันหลัง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
ฟอร์จูเนียนสมัยโฮโลซีน, 535–0Ma
ตัวอย่างไฟลัมทั้งสี่ของสัตว์มีแกนสันหลังที่ลำดับต่ำกว่า ได้แก่ เสือโคร่งไซบีเรีย (สัตว์มีกระดูกสันหลัง) และ Polycarpa aurata (ทูนิเคต) จากเคลดโอลแฟกทรีส ที่เหลือได้แก่ Ooedigera peeli (เวทูลิโคเลีย) และ Branchiostoma lanceolatum (เซฟาโลคอร์ดาตา).
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
เคลด: ParaHoxozoa
เคลด: ไบลาทีเรีย
เคลด: เนโฟรซัว
ไฟลัมใหญ่: ดิวเทอโรสโทเมีย
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Haeckel, 1874[1][2]
กลุ่มย่อย

และดูที่บทความ

สัตว์มีแกนสันหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chordata) คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย

ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ

สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน

ประเภทของสัตว์มีแกนสันหลัง[แก้]

การแบ่งหมวดหมู่[แก้]

  • ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
Chordata
Cephalochordata

Amphioxus



Olfactores

Haikouella


Tunicata

Appendicularia (formerly Larvacea)



Thaliacea



Ascidiacea



Vertebrata/

Cyclostomata

Myxini (hagfish)



Hyperoartia/Petromyzontida (lampreys)






Conodonta



Pteraspidomorphi† (including Arandaspida†, Astraspida† and Heterostraci†)



Cephalaspidomorphi† (including Galeaspida†, Osteostraci† and Pituriaspida†)



Gnathostomata

Placodermi (including Antiarchi†, Petalichthyida†, Ptyctodontida† and Arthrodira†)


Crown


Acanthodii† (paraphyletic)



Chondrichthyes (cartilaginous fishes)



Osteichthyes

Actinopterygii (ray-finned fishes)



Sarcopterygii

Actinistia (coelacanths)




Dipnoi (lungfishes)



 Tetrapoda 

 Amphibia


 Amniota 

 Mammalia


 Sauropsida 


 Lepidosauromorpha (lizards, snakes, tuatara, and their extinct relatives)





 Archosauromorpha (crocodiles, birds, and their extinct relatives)


















อ้างอิง[แก้]

  1. Haeckel, E. (1874). Anthropogenie oder Entwicklungsgeschichte des Menschen. Leipzig: Engelmann.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Nielsen2012
  3. García-Bellido, Diego C; Paterson, John R (2014). "A new vetulicolian from Australia and its bearing on the chordate affinities of an enigmatic Cambrian group". BMC Evolutionary Biology. 14: 214. doi:10.1186/s12862-014-0214-z. PMC 4203957. PMID 25273382.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]