ปลารากกล้วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลารากกล้วย
A. dialuzona
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาหมู
สกุล: ปลารากกล้วย
van Hasselt, 1823
ชนิดต้นแบบ
Acantopsis dialuzona
van Hasselt, 1823
ชนิด

ดูข้อความ

ปลารากกล้วย หรือ ปลาซ่อนทราย เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsis ของวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae)[1][2]

ชนิด[แก้]

ปัจจุบันพบปลารากกล้วยทั้งหมด 7 ชนิด[3] ได้แก่

ถิ่นที่อยู่[แก้]

ปลารากกล้วยเป็นปลาที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงตอนใต้ของจีน

ลักษณะ[แก้]

ลักษณะรูปร่างของปลาในสกุลนี้จะมีลำตัวเรียวยาวแบนข้างเล็กน้อย ความยาวลำตัววัดจากปากถึงโคนหางเป็น 6.1–8.0 เท่าของความกว้างลำตัว และ 3.7–4.2 เท่าของความยาวหัว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาว ตามแนวสันหลังมีแถบสั้น ๆ สีน้ำตาลดำ พาดขวางประมาณ 10 แถบ ตามแนวเส้นข้างตัวมีแถบสีน้ำตาลขนาดเล็กพาดไปตามความยาวลำตัว ข้างละ 1 แถบ มีจุดสีน้ำตาลประมาณ 8–12 จุด ซึ่งแตกต่างออกไปตามแต่ละชนิด เรียงไปตามความยาวของเส้นข้างตัว หัวมีขนาดใหญ่เรียวแหลมและแบนข้าง ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน บริเวณหน้าตามีหนามแหลมเล็ก ๆ ปลายแยกเป็น 2 แฉกซ่อนอยู่ใต้ร่องผิวหนัง จะงอยปากค่อนข้างยาวแหลม และงุ้มต่ำ ริมฝีปากบนกว้างมีรอยหยัก ริมฝีปากล่างค่อนข้างหนา กว้างและหยักมากกว่าริมฝีปากบน มีหนวดสั้น ๆ 3 คู่ ครีบหลังและครีบหางมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนครีบอื่น ๆ ใสไม่มีสี ครีบต่าง ๆ ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3–4 อัน ก้านครีบแขนง 10 อัน ครีบก้นมีขนาดเล็กมาก มีก้านครีบ 3–5 อัน ครีบหางเว้าไม่ลึก ขนาดความยาวลำตัว ที่พบส่วนมากยาวประมาณ 8–10 เซนติเมตร

พฤติกรรม[แก้]

สภาพที่อยู่อาศัยของปลารากกล้วยจะเป็นน้ำไหลค่อนไปทางแรงแต่ไม่แรงมาก ใสสะอาด พื้นเป็นทรายไม่ละเอียดไม่หยาบสำหรับหาอาหารหน้าดินและมุดหลบภัยพฤติกรรมการหากินอยู่ตามหาดทรายและพื้นทราย เวลาตกใจจะว่ายหนีหรือไม่ก็มุดทรายอย่างรวดเร็ว แล้วก็โผล่ออกมา เวลากินอาหารจะดูดทรายขึ้นมาแล้วก็อมอยู่ในปากสักพักเพื่อแยกอาหารออกแล้วก็บ้วนกลับออกมาทางปากบ้างทางเหงือกบ้าง รอบ ๆ ปาก และใต้ปากจะมีหนวดที่สลับซับซ้อนมากเพื่อรับรูปความรู้สึก กินอาหารจำพวกไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงขนาดเล็ก หนอนที่มีชีวิต และแพลงก์ตอน[4]

ปลารากกล้วยมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในพื้นท้องน้ำที่มีกรวดทรายมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว สามารถมุดทรายได้ดีเมื่อตกใจหรือเมื่อจะซ่อนตัวจากสัตว์นักล่า จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาซ่อนทราย" และยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลากล้วย", "ปลาทราย",[1] "ปลาจอนทราย", "ปลาสุ่นทราย", "ปลาจอนแก้ว" ส่วนในภาษาอีสานมีชื่อเรียกว่า "ปลามัน" หรือ "ปลามูด" ในขณะที่ภาษากะเหรี่ยงจะเรียกปลาสกุลนี้ว่า "พัน" ในภาษาลาวเรียก "ฮีด" (ອິດ)

การใช้ประโยชน์[แก้]

ปลารากกล้วยเป็นปลาที่นิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด A. dialuzona ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด โดยสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารหลายอย่าง เช่น ทอดกับกระเทียมและใบมะกรูด เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ เนื่องจากเป็นปลาที่ช่วยในการพรวนทรายได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 993.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Boyd, D. A., Nithirojpakdee, P., Deein, G., Vidthayanon, C., Grudpan, C., Tangjitjaroen, W., Pfeiffer, J. M., Randall, Z. S., Srisombat, T. & Page, L. M. (2017). Revision of the horseface loaches (Cobitidae, Acantopsis), with descriptions of three new species from Southeast Asia. Zootaxa, 4341(2), 151-192.
  3. Fricke, R., Eschmeyer, W. N. & R. van der Laan (eds) 2018. CATALOG OF FISHES: GENERA, SPECIES, REFERENCES. (http://researcharchive.calacademy.org/research/ichthyology/catalog/fishcatmain.asp). Electronic version accessed 28 Sep 2018.
  4. หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2544) ISBN 974-475-655-5